6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

'โรคหัวใจ' เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ทั้งในเพศชายและหญิง  โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้มีภาวะหัวใจวายทุกๆ  40 วินาที และทุกนาทีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 คน สำหรับประเทศไทยพบแนวโน้มผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Keypoint:

  • โรคหัวใจสามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุยังน้อยไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต อย่าง การสูบบุหรี่ หรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และพันธุกรรม ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ 
  • 6 โรคหัวใจ และอาการที่ทุกคนควรรู้ รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งแต่ละโรคมีอาการและสาเหตุแตกต่างกันออกไป การตรวจรักษาย่อมเป็นไปตามโรค
  • เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว  อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาบวม และมีอาการวูบ หรือหน้ามืด สัญญาณเหล่านี้แล้วแสดงให้เห็นว่าเราอาจเป็นโรคหัวใจ ควรรีบพบแพทย์

 

'โรคหัวใจ' เกิดจากปัจจัย ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เพศ อายุ กรรมพันธุ์   และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย  แม้โรคหัวใจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต แต่ก็สามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ

  • เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ใจสั่น วูบบ่อย
  • อายุที่มากขึ้น อวัยวะต่างๆ ย่อมเสื่อมไปตามสภาพ 
  • เบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ 2-4 เท่า 
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตที่มากกว่า 140/90 มม./ปรอท จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น  ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติ
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ภาวะอ้วน ในผู้หญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI)  มากกว่า 21  จะมีผลต่อสุขภาพหัวใจ และหาก BMI มากกว่า 30 แสดงว่าคุณเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 

รู้หรือไม่? อาการที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นสัญญาณเตือนและปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ

6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ทำไม? 'โรคหัวใจ' ยิ่งอายุน้อย-วัยทำงานยิ่งเสี่ยง เช็กสัญญาณเตือนที่ควรรู้

'ภาวะหัวใจล้มเหลว' ภัยสุขภาพ ที่ไม่ควรมองข้าม

รู้ทัน "โรคหัวใจ" ไม่ให้เสี่ยง เนื่องในวันหัวใจโลก 2022

 

เช็กโรคหัวใจ อาการแบบไหนที่เสี่ยง?

ข้อมูลจากโรงพยาบาลวิมุตอธิบายว่า โรคหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ซึ่งแต่ละโรคมีสาเหตุเกิดจากอะไร ลักษณะอาการเฉพาะและความผิดปกติที่สังเกตได้เป็นอย่างไร รวมถึงจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจได้อย่างไร?

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ โรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ แบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคลิ้นหัวใจ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น

ปัจจุบัน อัตราการเสียชีวิตโรคหัวใจและหลอดเลือด มีสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน

6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

 

ประเภทของโรคหัวใจ เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ? สาเหตุของโรคหัวใจแต่ละชนิดแตกต่างกัน

1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากผนังหลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ หรือหนาตัวขึ้นจากการอุดตันของไขมันและเนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้หลอดเลือดตีบ การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลงและหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ผู้ที่มีอายุมาก สูบบุหรี่จัด มีภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไม่ออกกำลังกาย มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้สูง 

- อาการหลอดเลือดหัวใจตีบ 

  • เหนื่อยง่าย
  • จุก แน่น เจ็บแน่นหน้าอก โดยมักเป็นขณะออกแรง
  • เสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก
  • เหงื่อออก ใจสั่น เป็นลม อาจเป็นแบบฉับพลันและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายได้ 

2. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในบางตำแหน่งในหัวใจ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ โดยสาเหตุมีทั้งจากความเสื่อมสภาพของร่างกายในผู้สูงอายุ ที่ทำให้หัวใจเต้นช้าลง กรรมพันธุ์ โรคบางชนิด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง เบาหวาน และต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหวัด ยาขยายหลอดลม ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ 

- อาการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

  • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้ง/นาที
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มึนงง ใจหวิว วูบ
  • ความดันโลหิตต่ำและอาจเป็นลมหมดสติ
  • ขณะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะมีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง/นาที
  • หากเป็นเพียงเล็กน้อยจะเหนื่อยง่ายและหัวใจเต้นเร็วเท่านั้น
  • หากมีอาการวูบ เป็นลม หมดสติ มีอาการใจสั่นอย่างรุนแรงหรือเหนื่อยมากควรพบแพทย์โดยเร็ว 

 

3. โรคลิ้นหัวใจตีบและรั่ว

สาเหตุลิ้นหัวใจตีบและรั่ว เป็นได้ตั้งแต่ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด จากโรคลิ้นหัวใจอักเสบรูห์มาติค ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ หรือหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว

- อาการลิ้นหัวใจตีบและรั่ว 

  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอกเวลาออกแรง คล้ายกับ ผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • ขาบวมทั้ง 2 ข้าง
  • นอนราบไม่ได้ ต้องนอนศีรษะสูง
  • ท้องอืดบวม
  • มีวูบหน้ามืด จากลิ้นหัวใจตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

 

4. โรคหัวใจล้มเหลว

สาเหตุหัวใจล้มเหลว มีทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โดยสาเหตุเฉียบพลัน มักเกิดจาก เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน มีหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบรุนแรง ส่วนกรณีแบบเรื้อรังนั้น เป็นได้จากเส้นเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ที่ไม่ได้รับการรักษา การได้รับยาหรือสารเสพย์ติดบางชนิด เช่น ดื่มสุราต่อเนื่องในปริมาณมาก หรือ ยาเคมีบำบัดบางชนิด เป็นต้น

- อาการหัวใจล้มเหลว 

  • เหนื่อยง่ายตอนออกแรง
  • ขาบวม
  • นอนราบไม่ได้
  • มีตื่นมาหอบเหนื่อยตอนกลางคืน
  • อาจตรวจพบหัวใจโตและน้ำท่วมปอดร่วมด้วย

 

5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สาเหตุหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุมาจากทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ด้วยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) โดยสูติแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารก ซึ่งความผิดปกตินี้เกิดจากการเจริญเติบโตของหัวใจขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดจากการมีรูรั่ว ที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว เป็นต้น 

- อาการหัวใจพิการแต่กำเนิด 

อาการหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กเล็ก ที่สำคัญ คือ

  • เหงื่อออกมากบริเวณศีรษะโดยอากาศไม่ร้อน
  • ดูดนมนานกว่าปกติ
  • ตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต
  • น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น

อาการหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กโตมัก มีอาการเหมือนผู้ใหญ่ เช่น

  • หายใจหอบ
  • เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย
  • ต้องนอนศีรษะสูง
  • เขียวบริเวณเยื่อบุบริเวณริมฝีปาก ลิ้น เยื่อบุตา หรือใต้เล็บ
  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก จะเป็นลม

6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

วิธีตรวจสอบตัวเองว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่?

วิธีที่จะรู้ได้อย่างแน่นอนว่าตัวเราเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ ซึ่งจะวินิจฉัยโรคด้วยการตรวจที่มีหลายวิธี ดังต่อไปนี้

  • ซักประวัติ 

อาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่น่าสงสัย รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 

  • ตรวจทุกระบบของร่างกาย รวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด

โดยการคลำชีพจร และจังหวะการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงหัวใจ วัดความดันโลหิต 

  • ตรวจด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) 

การตรวจเอ็กซ์เรย์ทรวงอกจะทำให้เห็นเงาขนาดของหัวใจอย่างคร่าวๆ และเนื้อปอดเพื่อดูว่ามีลักษณะของน้ำท่วมปอด ที่เป็นเหตุจากหัวใจหรือไม่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะเป็นการดูอัตราการเต้นหัวใจ และลักษณะคลื่นสัญญานไฟฟ้าที่ออกจากหัวใจ ว่ามีความผิดปกติ ของสัญญานไฟฟ้าหัวใจหรือไม่

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) 

เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกายและหัวใจ โดยการให้ผู้ป่วยเดินเร็วหรือวิ่งบนสายพาน เพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น โดยระหว่างการตรวจแพทย์จะทำการสังเกตอาการเหนื่อย แน่นหน้าอก ของผู้ป่วย และสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยขณะออกกำลังกาย ซึ่งสามารถพบความผิดปกติในกรณีผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดได้   

  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography)

เป็นการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ การบีบตัวและการคลายตัวของหัวใจ ความดันในห้องหัวใจ และตรวจดูการทำงานของลิ้นหัวใจ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ 

  • ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CTA coronary)

เป็นการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์เส้นเลือดหัวใจ โดยการฉีดสารทึบรังสีผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบตันจากการมีไขมันไปเกาะหลอดเลือดแดง รวมถึงปริมาณหินปูนหรือแคลเซียมในเส้นเลือดหัวใจ เพื่อใช้ในการทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะยาวอีกด้วย   

  • การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก หรือ Cardiac MRI

เป็นการตรวจหัวใจและหลอดเลือดวิธีใหม่อีกวิธีหนึ่ง โดยใช้เทคโนโลยี MRI จะทำให้เห็นโครงสร้างหัวใจได้ชัดเจน เห็นลักษณะการทำงาน และสามารถวัดปริมาณเลือดที่วิ่งไหลผ่านหัวใจห้องต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการตรวจโดยฉีดสารกระตุ้นเพื่อทำการทดสอบและตรวจดูเส้นเลือดหัวใจตีบ และมีการฉีดสารชนิดพิเศษเพิ่มเติม เพื่อดูรอยแผลเป็นในห้องหัวใจได้  

6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

  • ตรวจฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ หรือ ที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ

แพทย์จะใช้สายสวนขนาดเล็ก ใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงจากบริเวณข้อมือ ขาหนีบ หรือ ข้อพับแขนไปจนถึงจุดที่เป็นรูเปิดของหลอดเลือดโคโรนารีย์ ที่ไปเลี้ยงหัวใจทั้งห้องซ้ายและขวาแล้วจะใช้สารทึบรังสีเอกซเรย์ ฉีดเข้าทางสายสวนนั้น ไปที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อตรวจดูว่ามีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดหรือไม่ รุนแรงมากน้อยขนาดไหน และที่ตำแหน่งใดบ้าง โดยหากพบว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบมาก แพทย์สามารถทำการใส่บอลลูนและขดลวด เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจตีบได้เลยในหัตถการเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางเหมือนมีอะไรมาทับ ร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่ เจ็บแน่นหน้าอกที่สัมพันธ์กับการออกแรง หรือออกกำลังกาย  ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว  อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายขาบวม และมีอาการวูบ หรือหน้ามืด

พฤติกรรมการใช้ชีวิต  อย่างการสูบบุหรี่  ซึ่งผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ชายที่สูบบุหรี่   และความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัว ในผู้หญิงที่สูบบุหรี่ 3-5 มวน/วัน  และในผู้ชายที่สูบบุหรี่ 6-9 มวน/วัน  การสูบบุหรี่เพิ่มอัตราการตายจากโรคหัวใจถึง 300 %

การรับประทานอาหารไขมันสูง ในอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น   เนื้อวัวติดมัน เนื้อแกะ เนื้อหมู (รวมถึงเบคอนและแฮม) เนื้อไก่ที่มีหนัง ไขมันวัว (tallow) น้ำมันหมู ครีม เนย ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็มส่วน หรือพร่องมันเนย   เป็นสาเหตุของโรคหัวใจประมาณ 31 %  ในประชากรโลก สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งบอกว่าเราอาจจะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ควรจะรีบพบพแพทย์

 

อ้างอิง: ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลวิมุต , โรงพยาบาลสมิติเวช