ค่าฝุ่น PM2.5 วันนี้ (25 ต.ค.66) กรุงเทพฯ พบเกินมาตรฐานกระทบสุขภาพ 13 พื้นที่
สภาพอากาศ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2566 เช้านี้พื้นที่ กทม. มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 13 พื้นที่
สภาพอากาศ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2566 เช้านี้พื้นที่ กทม. มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน 13 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 15.5-54.7 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 32.2 มคก./ลบ.ม.
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพฯ รายงานว่า เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา ตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ได้ในช่วง 15.5 - 51.7 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 13 พื้นที่ ดังนี้
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 51.7 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 46.6 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 43.5 มคก./ลบ.ม.
4.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
7.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
8.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
9.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
11.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
12.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.
13.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพ (ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ)
สำหรับบุคคลทั่วไป ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. - 2 พ.ย.2566 การระบายอากาศไม่ดี ยกเว้นวันที่ 1 พ.ย.2566 การระบายอ่อน อาจส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร