'เก้าอี้ขมิบ' นวัตกรรม ช่วยแก้ 'ปัสสาวะเล็ด'
“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชาย-เพศหญิง สาเหตุหลักที่พบบ่อยคือเรื่องของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพไปตามวัยจากการคลอดบุตร พบในผู้หญิงอายุ 40 -45 ปีขึ้นไปที่คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ประมาณ 2 คน
ส่วนผู้ชายจะเกิดจากภาวะ “ต่อมลูกหมากโต” ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พบในอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และมักจะโตมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ประมาณ 80% ส่งผลให้ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่กดเบียดท่อปัสสาวะทำให้ผู้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
นายแพทย์พิเชฐ รุ่งศิริแสงรัตน์ ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์เพศชาย โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช เปิดเผยการรักษาอาการปัสสาวะเล็ด ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของแต่ละคน หากเป็นระยะเริ่มต้น แพทย์จะเริ่มต้นรักษาโดยการให้ยา หากอาการยังไม่ดีขึ้นหรือไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา ขั้นตอนต่อไปจะใช้นวัตกรรมเก้าอี้ที่ช่วยกระตุุ้นให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานได้ดีขึ้น ใช้ได้ทั้งชาย และหญิง อาการ“ปัสสาวะเล็ด”ก็จะดีขึ้น และหากไม่ดีขึ้น ก็จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดฃ
“เก้าอี้ขมิบ Emsella”
สำหรับนวัตกรรม“เก้าอี้ขมิบ Emsalla”เป็นนวัตรกรรมใหม่ทางการแพทย์ด้วยการใช้คลื่นพลังงานอิเล็กโทรแมกเนติกแบบเฉพาะเจาะจง (HI-FEM) เข้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อ และระบบประสาทบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยให้เกิดการขมิบก้น การนั่งเก้าอี้30 นาที จะเท่ากับการขมิบ หรือทำ Kegel 11,200 ครั้ง จะช่วยบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมปัสสาวะในผู้ชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
ปัจจุบันอุตสาหกรรมศัลยกรรมความงาม นับว่ามีการเติบโตและเป็นที่นิยมอย่างมาก คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 40,000 ล้านบาท ในปี 2023 โดยการศัลยกรรมที่ครองอันดับ 1 ยังคงเป็นการเสริมจมูก ในขณะที่ศัลยกรรมย้อนวัยเป็นหนึ่งในเทรนด์ของโลกที่กำลังมาแรง ไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ เนื่องจากเทคนิคและเทคโนโลยีที่พัฒนามากขึ้นทำให้คนเริ่มเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและผลการรักษา
ศัลยกรรมที่ได้รับความนิยม 5 อันดับ ในประเทศไทย ได้แก่
อันดับ 1 การเสริมจมูกทั้งการเสริมใหม่และแก้เปลี่ยนสไตล์ แต่ไม่แนะนำให้แก้หลายครั้งเพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
อันดับ 2 การทำตาไม่ว่าจะเป็นการทำตาสองชั้น เปิดหัวตา เปิดหางตา
อันดับ 3 ดูดไขมันส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณท้อง ขา และแขน
อันดับ 4 การส่องกล้องยกคิ้วซึ่งมาแรงในปีนี้
อันดับ 5 การทำหน้าอกจากเดิมจะเป็นเพียงการเสริม แต่ระยะหลังเริ่มมีการตัดแต่ง รวมถึงการตัดหนังหน้าท้อง และสุขภาพทางเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
"เทรนด์การดูแลสุขภาพทางเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ก็ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และคาดว่าจะเป็นตลาดที่มีทิศทางที่ดีในอนาคต ผู้ที่มาใช้บริการมีทั้งมารักษาโรค และศัลยกรรมเพื่อความสวยงามในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และจะเป็นเทรนด์การดูแลสุขภาพที่ได้รับความนิยมในอนาคต"
อาการ“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”
ปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้น จากการสำรวจพบว่า ประชากรทั่วโลกกว่า 200 ล้านคน มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่มักพบในผู้สูงอายุมากที่สุด อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อไอจาม หัวเราะ ยกของหนัก
ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่คลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติ 2 คน หรือในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ อัลไซเมอร์ หรือเกิดในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสมอง ส่วนผู้ชาย จะพบในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและมีภาวะต่อมลูกหมากโต และตื่นมาฉี่ขณะนอนหลับมากกว่าคืนละ 2 ครั้ง
อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุควรฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและหูรูดทุกวัน เพราะสามารถช่วยป้องกันและลดอาการปัสสาวะไม่อยู่หรือเล็ดราดได้ แต่หากมีอาการที่รุนแรงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับวิธีอื่น ๆ พบกับแนวทางแก้ไข" ปัญหาระบบปัสสาวะในผู้สูงวัย
ช่วง“เทรนด์สุขภาพ 2024” กับนพ.พิเชฐ รุ่งศิริแสงรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญปัสสาวะเล็ดในเพศชาย และพญ.ชลธิชา เชนชีวะชาติ ปัสสาวะเล็ดในเพศหญิง จากโรงพยาบาล Master Piece วันที่ 9 พย.เวลา 12.30 – 13.15 น.ในงานมหกรรมHealth & Wealth Expo 2023 ภายใต้แนวคิด The Journey of life จัดโดย เนชั่น กรุ๊ป ระหว่างวันที่ 9 – 12 พ.ย. 2566 เวลา 11.00 – 20.00 น. ที่ Hall 5 – 6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว จะปาฐกถาพิเศษ Road Map to Thailand Medical Hub ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ และเป็นประธานเปิดงานในวันแรกด้วย
ภายในงานจะมีการให้บริิการตรวจ Genetic Testing Laboratory หรือตรวจยีนผ่านพันธุกรรม จากบริษัท เอ็มพี กรุ๊ป ( ประเทศไทย) จำกัดในรูปแบบ Personalized Precision Medicine ที่เรียกว่า สแกนกรรมตรวจหายีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 เมื่อตรวจเจอสามารถวินิจฉัยได้ว่า 70-80 % สามารถพัฒนาเป็นมะเร็งได้หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การรักษาในอนาคตได้เร็วขึ้น