คุณเสี่ยง ‘หัวใจอ่อนแอ’ หรือไม่? สัญญาณเตือนโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ
‘โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ’ เป็นภัยใกล้ตัว ที่หลายคนอาจจะมองข้าม ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ต้องรู้เท่าทัน ดูแลตัวเองให้ปลอดภัยและปลอดโรค เช็กสัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดโรค ในงาน ‘Health & Wealth Expo 2023’วันที่ 9-12 พ.ย.นี้
Keypoint:
- ทุก 1 ชั่วโมง มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือด 2 คน ข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.2% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด
- 'โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ' แม้จะมีสัญญาณเตือน แต่หากไม่มีการตรวจร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมความดันโลหิตคอเลสเตอรอล และเบาหวาน ลดความเครียด ตรวจเช็กร่างกาย
สำหรับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทยประมาณปีละ 37,000 ราย เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทย จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าที่อื่น ประมาณ 4-6 เท่า
'เนชั่น กรุ๊ป' จัดงาน มหกรรมการแสดงสินค้า และความรู้เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมั่นคั่ง ‘Health & Wealth Expo 2023’ ภายใต้แนวคิด The Journey of life วันที่ 9 – 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 11.00 – 20.00 น. ณ Hall 5 – 6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
รศ.นพ.สุวัจชัย พรรัตนรังสี อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวบรรยาย 'การดูแลหัวใจในยุคดิจิทัล’ ว่า หัวใจ เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ และระบบไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งทั้งหมดสามารถผิดปกติได้ โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เมื่ออายุมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินมัน อาจทำให้หัวใจตีบได้ และผู้ป่วยมากกว่า 70% มักจะมีอาการ แต่ในกลุ่มที่รอยตับไม่มา แต่อาจเกิดการแตกเฉียบพลัน เกิดการแน่นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
‘เทรนด์สุขภาพ 2024’ Health & Wealth ป้องกันสุขภาพก่อนเกิดโรค
Investment Outlook การลงทุน 2024 l Health & Wealth Expo 2023
สาเหตุโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ
ทั้งนี้ หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนสูงก็จะไหลกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยสัญญาณไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน (Sinus Node) กระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้าในหัวใจ เริ่มจากห้องบนขวาไปห้องบนซ้ายและลงหัวใจห้องล่าง เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะเกิดการหดสั้นลง ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ
โดยโรคที่ส่งผลต่อโรคหัวใจ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ภาวะบกพร่องของหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อที่หัวใจ และโรคของผนังหุ้มหัวใจ
ดังนั้น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
สัญญาณเตือนเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
รศ.นพ.สุวัจชัย กล่าวต่อว่าโดยปกติแล้ว เมื่อเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือกหัวใจ มักจะมีอาการเตือน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ป่วยที่โชคดี เพราะมีผู้ป่วยประมาณ 20% ไม่มีอาการเตือน และเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล ดังนั้น สัญญาณเตือนเกิดโรคหลอดเลือกหัวใจมีดังนี้
- แน่นหน้าอก แน่นกลางอก ถ้าเป็นช่วงแรกอาการมักสัมพันธ์กับการออกแรง เช่น ออกแรงแล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แต่อาการเหล่านี้ อาจจะร้าวทะลุหลัง ไปแขน ไปกราม หรือลงลิ้นปี ซึ่งเมื่อลงลิ้นปี เหมือนจุกเสียดแน่น หลายคนมักจะมองว่าเป็นโรคกระเพาะ แต่จริงๆ อาจจะเป็นโรคหัวใจ
- อาการสัมพันธ์กับการออกแรง
- ความเครียด แล้วมีอาการ
- เจ็บแน่นหน้าอก มักมีอาการแน่น อึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก อาจมีอาการปวดร้าวไปกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย มักเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังและหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการเมื่ออยู่เฉย
- เหนื่อยง่ายหายใจถี่
- นอนราบไม่ได้
- บวม
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- หน้ามืดหมดสติ
โรคหลอดเลือดหัวใจ มีอุบัติการณ์ค่อนข้างมาก และเป็นโรคที่มีคนเสียชีวิจจำนวนมาก โดยพบผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด 450,000 รายต่อปี อัตราการตาย 2 แสนรายกว่าปี และทุกๆ 100,000 รายจะเสียชีวิต 30 ซึ่งต้องเสียค่าใช่จ่ายจำนวนทั้งหมด 7 แสนล้านบาทต่อปี
ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
โรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้น ๆ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจจากภาวะการเสื่อมของหลอดเลือด มีสาเหตุไม่ชัดเจนแต่พบว่าสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง อย่าง
- อายุ เพศ
- ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว
- พันธุกรรม
- เพศชายเป็นมากกว่าเพศหญิง
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้
- สูบบุหรี่ - สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดของคุณมีสภาวะหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
- การกินอาหารแบบผิด ๆ - อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
- ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
- ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง - ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงโดยเฉพาะชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-cholesterol) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคเบาหวาน - โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
- โรคอ้วน - น้ำหนักส่วนเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
- การขาดการออกกำลังกาย - มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
- ความเครียด - ปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิตใจ อาจส่งผลไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น
- สุขภาพฟันที่ไม่ดี - พบรายงานแพทย์ถึงโรคฟันและเหงือกอักเสบสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น
เมื่อเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจต้องรักษาอย่างไร?
รศ.นพ.สุวัจชัย กล่าวอีกว่าการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ มีทั้งการรักษาทางยา การทำบอลลูนหัวใจ เหมาะสำหรับคนไข้ที่เส้นเลือดสภาพไม่พังมาก ซึ่งอาการแทรกซ้อนของการทำบอลลูน คือ ลวดแทงทะลุ ดังนั้น การทำต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากเส้นเลือดตีบมากต้องปรึกษาหมอผ่าตัด อาจต้องการผ่าตัดบายพาสหัวใจ
ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การผ่าตัดอันตรายน้อยลง คนที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน แข็งแรง อัตราเสี่ยงต่อชีวิต 1-2 % แต่หากกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบ้างแล้ว เส้นเลือดเล็กต่อลำบาก อัตราเสี่ยง 3-5% หากหัวใจไม่ดี มีประวัติหัวใจวาย อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มเป็น 30-40% นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางรายที่อาการหนักอาจไม่สามารถผ่าตัดได้ ต้องใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายหัวใจ ซึ่งในแต่ละปีมีการจำนวนเคสที่น้อยราว 20 กว่าคนต่อปี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือการฟื้นฟูหลังรักษา ภายใต้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักกายภาพ เช่น แอโรบิค 30 นาทีอย่างน้อย หรือ 5-10 นาที แบ่งเป็นเช้าเย็น บริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน รวมถึง ฝึกการหายใจทำให้การใช้ออกซิเจนมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย ลดการกลับมานอนโรงพยาบาล ลดการเสียชีวิต เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น ทั้งยังปลอดภัยหากผู้ป่วยได้รับการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์
วินิจฉัยโรคหัวใจที่รพ.เมดพาร์ค
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและสอบถามประวัติของคนไข้และครอบครัว นอกจากการสอบถามประวัติโดยละเอียด การตรวจร่างกายการตรวจเลือด และเอกซเรย์ทรวงอกแล้ว การทดสอบพิเศษทางหัวใจต่างๆจะช่วยในการวินิจฉัย เช่น
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG)คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจทดสอบที่รวดเร็วและไม่เจ็บปวด
- เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง หรือ Ambulatory ECG Monitoring หรือ Holter ECG เป็นอุปกรณ์ ECG แบบพกพาที่สามารถใส่เพื่อบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่องโดยปกติจะใช้เวลา 24 ถึง 72 ชั่วโมง การตรวจสอบ โดยใช้เพื่อตรวจจับปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่พบในระหว่างการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ Echocardiogram เป็นการทดสอบแบบใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อสร้างภาพและตรวจวัดโครงสร้างหัวใจโดยละเอียด ขนาดของหัวใจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจลิ้นหัวใจผนังกั้นและผนังหุ้มหัวใจ
- Stress Test เป็นการทดสอบการเพิ่มอัตราการเต้นและบีบตัวของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หรือยา และวัดการตอบสนองทั้งชีพจรความดันโลหิตความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและบางรายวัดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจโดยการตรวจ Echocardiogram (Stress Echocardiogram) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางครั้งประเมินหลอดเลือดและสมรรถภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่ผนังหัวใจ
- การสวนหัวใจ เป็นการใส่ท่อสั้น ๆ เข้าไปในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงบริเวณขาหรือแขน เพื่อตรวจวัดภายในห้องหัวใจโดยตรงหรือการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หรือผนังกั้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ หรือ CT SCAN เป็นการทดสอบแบบใช้เอ็กซเรย์เพื่อสร้างภาพโครงสร้างโดยละเอียด เพื่อวัดคะแนนหินปูนของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) และหากฉีดสารทึบรังสีด้วย จะได้ภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดปอด เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ผนังหัวใจ
ป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ
ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยสิ่งหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก เช่น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ
- แนะนำให้กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
- ลดความเครียด
- ฝึกสุขอนามัยที่ดี
- ตรวจเช็กร่างกาย
- ทำประกันสุขภาพ
- กินปลา ลดการกินเนื้อแดง
สนใจเทรนด์สุขภาพ 2024 อย่าลืม!! แวะมาร่วมงานมหกรรมการแสดงสินค้า และความรู้เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมั่งคั่ง ‘Health & Wealth Expo 2023’ ภายใต้แนวคิด The Journey of life วันที่ 9 – 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 11.00 – 20.00 น. ณ Hall 5 – 6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ตอบสนองการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงอายุ อย่างครบวงจร ด้วย 4 โซนหลักที่จะพาคุณเดินทางไปสู่ ช่วงเวลาต่างๆของวัย
- Living Fit วัยหนุ่มสาว มีพลังกาย พลังใจล้นเหลือ สนใจและเปิดรับสิ่งใหม่ พบกับ Gadget สุดล้ำอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ อุปกรณ์ออกกำลังกาย Beauty & Fashion
- Money Pro วัยสร้างเนื้อสร้างตัว สนใจการออมเงิน การลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงยด้วยวิธีต่างๆพบกับ สถาบันการเงิน การลงทุน บริษัทประกันชีวิต เป็นต้น
- Success Your life เมื่อชีวิตเริ่มมีความพร้อม มองหาความมั่นคงในชีวิต ต้องการสิ่งเติมเต็มให้กับตนเองและครอบครัว พบกับ บ้าน คอนโด ของตกแต่งบ้าน รถยนต์ไฟฟ้า EV Charger เป็นต้น
- Happy Healthy วัยแห่งความสงบ หันมาใส่ใจกับคุณภาพชีวิตมากขึ้น เลือกของที่ดีมีคุณภาพ พบกับ ศูนย์สุขภาพและความงาม โรงพยาบาลชั้นนำ Health Gadget ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม นอกจากนี้ ยังมีโซนอาหารอร่อยจากทุกภาคอีกด้วย