มะเร็งปากมดลูก 'HPV The Toilab'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย

มะเร็งปากมดลูก 'HPV The Toilab'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย

ปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเจอการติดเชื้อได้เร็วตั้งแต่ระยะก่อนเป็นโรค รักษาหายขาด เก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง ชวนทุกองค์กรภาครัฐ-เอกชนเข้าร่วม 'HPV The Toilab' ใช้ HPV DNA Self-sampling สร้างความยั่งยืนสุขภาพ ลดความสูญเสีย ช่วยประเทศหยุดอัตราเสียชีวิต

  ภายในงาน “MP GROUP GENOMIC HEALTH AND WELLNESS” จัดโดย บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด  เพื่อเปิดตัวนวัตกรรม เทคโนโลยี การตรวจจีโนมิกส์และยีนที่มีบทบาทและความสำคัญอย่างมากทางการแพทย์ โดยศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “MEDICAL INSIGHTS INTO HPV: FINDING HPV = STOP CERVICAL CANCERว่า  มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี(HPV)ที่ทำให้เกิดโรคมีอยู่ 14 สายพันธุ์ 

      เมื่อเชื้อเอชพีวีเข้าสู่ร่างกายจากการมีเพศสัมพันธ์ หากเส้นเลือดมีการฉีกขาดสามารถเข้าไปในเลือด และวิ่งไปที่เซลล์ข้างล่างจับที่ผิวปากมดลูก ไวรัสจะเข้ารวมกับนิวเครียสเซลล์และแบ่งตัว ทำให้เซลล์เพี้ยน ซึ่งคนที่ติดเชื้อเอชพี 80-90%  ไม่เป็นมะเร็ง  มีประมาณ 10 % กลายเป็นมะเร็ง หากระยะเข้าสู่เลือด ต่อมน้ำเหลือง กระจายทั่วร่างกายและเสียชีวิต

       “เมื่อมีการติดเชื้อไม่สามารถบอกได้ว่าคนไหนจะกลายเป็นมะเร็งหรือไม่เป็น โดยตั้งแต่เซลล์ปกติจนเป็นมะเร็งชนิดลุกลาม กระจายทั่วร่างกายใช้เวลา ประมาณ 10-15 ปี ก่อนนั้นไม่มีอาการให้ทราบ นี่คือความโหดร้าย  แต่หากระยะลุกลาม ถ้ามีเลือดออกเวลามีเพศสัมพัน์ ตกขาวกลิ่นเหม็นเน่าให้สงสัยเป็นหรือไม่  ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน การตรวจคัดกรองบ่อยๆ  ตรวจทุกปี ถ้าเป็นก็เจอเร็ว รักษาเร็ว หายขาด แต่เจอระยะสุดท้าย เสียชีวิต ” ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.วิทยากล่าว 
มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย

ตรวจเจอได้ตั้งแต่ติดเชื้อยังไม่เป็นโรค

    วิธีตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชพีวี ด้วย HPV DNA Self-sampling เป็นการตรวจสายพันธุกรรมของไวรัสเอชพีวี  ผู้หญิงสามารถเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากปากมดลูกได้ด้วยตนเอง  ไม่ต้องให้แพทย์ตรวจ ไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง จึงไม่ต้องอาย ไม่ต้องกลัวเจ็บ มีเวลาที่จะตรวจ  ทำได้ด้วยการแหย่เข้าไปในช่องคลอดให้ปลายที่เก็บติดผนังและหมุน ดึงออกใส่ในชุดตรวจแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
        “มีการทำวิจัยในคนไข้ 5,000กว่ารายแล้วพบว่า มีความเป็นส่วนตัว  และ 96 % อ่านผลได้ ราชวิทยาลัยสูติฯจึงมีนโยบาบเลิกตรวจคัดกรองด้วยแป็ปสเมียร์ แต่ให้ตรวจด้วยวิธี HPV DNA Self-sampling เพราะไวกว่า รู้ตั้งแต่การติดเชื้อแต่ยังไม่เป็นมะเร็ง  ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)สนับสนุนการตรวจให้กับผู้หญิงกลุ่มเป้าหมายทุกคน ฟรี  ขณะที่หากเป็นโรคบางรายเสียค่าใช้จ่ายรักษากว่า 1 ล้านบาท แต่ค่าตรจคัดกรองราว 50 บาท”ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.วิทยากล่าว 
มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย
มะเร็งอันดับ3หญิงไทยเสียชีวิต    

       สำหรับในประเทศไทย ผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกราว 7.45 คนต่อแสนประชากร  เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งเป็นอันดับ 3  ขณะที่ องค์การอนามัยโลก ตั้งเป้าทั่วโลก ปี 2030  เด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปีจะต้องได้รับวัคซีน 90 %   ผู้หญิงอายุ 35-45  ปีต้องได้รับการตรวจเอชพีวี 70 %  คนที่เป็นมะเร็งระยะแรกต้องหาย 90 %และผู้หญิงต้องเป็นมะเร็งน้อยกว่า 4 ต่อแสนประชากร
     ทั้งนี้ หากประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองด้วย HPV DNA Self-sampling จะทำให้ทราบสายพันธุ์ที่คนไทยติดเชื้อจำนวนมากด้วย สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมกับคนไทยและคนในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะ จะยิ่งช่วยให้อัตราการป่วยและการเสียชีวิตลดลงได้มากยิ่งขึ้น 

 องค์กร HPV The Toilab  
        นทพร บุญบุบผา ประธานกรรมการบริหารบริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า  หากสามารถกำจัดมะเร็งปากมดลูกได้ 1 ตัว จะสร้างความยั่งยืนด้านสุขภาพของประเทศได้อย่างมาก  เอ็มพี กรุ๊ป จึงอยากเชิญภาคีเครือข่ายสาธารณสุขทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน เข้าร่วม โครงการ ภารกิจพิชิตมะเร็งปากมดลูก ( HPV zero case ) ตรวจคัดกรองด้วยวิธี HPV DNA Test แบบระบุ14 สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง โดยการเก็บตัวอย่างด้วยตนเอง Self-Sampling Kit

      ด้วยการขับเคลื่อน “องค์กร HPV The Toilab “ รณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในองค์กร ให้กับผู้หญิงที่เป็นกำลังหลักขององค์กร  โดยการนำชุดตรวจ HPV DNA Self-sampling วางไว้ที่แผนกHR แล้วให้พนักงานมารับไปตรวจได้ด้วยตนเอง เข้าถึงง่าย แค่หยิบชุดตรวจแล้วเข้าห้องน้ำ เก็บตัวอย่างด้วยตนเอง  ส่งคืนแผนกHRเพื่อส่งต่อให้ห้องแล็ป สามารถตรวจได้ทั้ง 14 สายพันธุ์

      “ผลการตรวจจะบอกได้ว่าติดเชื้อเอชพีวีแล้วหรือไม่  สายพันธุ์ที่ติดและปริมาณความเข้มข้นของสายพันธุ์ที่ตรวจเจอ หากไม่เป็นมะเร็งจะได้ไม่ตื่นตระหนกแล้วค่อยตรวจคัดกรองอีกในปีต่อไปเพื่อดูว่าเซลล์ที่ติดเชื้อมีการพัฒนาไปอย่างไรหรือไม่  สามารถทราบความเสี่ยงนำสู่การป้องกันมะเร็ง หากเป็นแล้วก็จะเจอได้เร็ว นำสู่การรักษาได้เร็ว หายขาด”นทพรกล่าว
มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย
ลดความสูญเสียบุคลากร

      ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากโครงการนี้  ได้แก่ 1. พนักงานองค์กรได้เข้าถึงสิทธิ์ฟรี ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของภาครัฐ 2. องค์กรสามารถวางแผนการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อก่อโรค HPV 3. ลดการสูญเสียบุคลากรขององค์กรจากมะเร็งปากมดลูก และ4. ส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร ให้ปลอดมะเร็งปากมดลูก

        สำหรับเทคโนโลยีHPV DNA Self-sampling จะตรวจได้ 14 สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงก่อมะเร็ง รวมถึง ใช้ตรวจติดตามกรณีติดเชื้อHPV สายพันธุ์เดิมซ้ำ ร่างกายไม่สามารถขจัดเชื้อเองได้ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้น ,สามารถระบุความรุนแรงการติดเชื้อไวรัสในทุกสายพันธุ์  ,บ่งบอกปริมาณการติดเชื้อกรณีติดเชื้อร่วมหลายสายพันธุ์ ,รายงานผลได้รวดเร็วและรองรับการตรวจคัดกรองปริมาณมากด้วยระบบวิเคราะห์ผลตรวจ AI ถูกต้องแม่นยำ และนำสู่การคำนวณอัตราชุกของสายพันธุ์HPV ในประเทศไทย      

มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย
“จีโนมิกส์” ตรวจยีน-ป้องกันโรค

     ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี  กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “GENOMIC HEALTH AND WELLNESS”ว่า  เป้าหมายของการแพทย์มี  4 เรื่อง ได้แก่ 1.ลดความเสี่ยง(Reduction of risks) 2.ป้องกันโรค(Prevention of diseases)  3.รักษาโรค(Treatment of illness)

        และ4.พยากรณ์โรค(Prediction of outcome) ซึ่งในสมัยก่อนแพทย์จะเหมารวมว่ากลุ่มคนไข้โรคนี้  จะต้องให้ยาแบบนี้ ไม่เคยพูดถึงรหัสพันธุกรรมของคนไข้ เพราะคิดว่ายาดูแลได้เหมดแล้ว แต่วันนี้รู้แล้วว่ารหัสพันธุกรรมจะแบ่งคนไข้ย่อบลงไปอีก ไม่ใช่แค่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน หรือมะเร็งอย่างเดียว 

       โดยมีการคำนึงถึงเรื่องการแพทย์เฉพาะบุคคล(Personalized medicine) ซึ่งจะต้องมีเทคโนโลยีที่ตรวจได้เร็วและแม่นยำ สามารถรู้ลึกถึงรหัสพันธุกรรมคนไข้แต่ละคน สามารถบอกได้ว่าจะเป็นโรคนั้นโรคนี้หรือไม่  ควรรักษาด้วยวิธีใด และรักษาแล้วจะหายได้มากน้อยแค่ไหน  และการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine)

มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย
       ซึ่งครอบคุลมความหมายกว้างกว่าสุขภาพ แต่รวมเรื่องของเวลเนส(wellness)หรือสุขภาวะ ไม่เฉพาะของคนหนึ่งคน แต่หมายถึงองค์รวมทั้งเรื่องของจีโนมิกส์ สิ่งแวดล้อมและไลฟ์สไตล์  เหล่านี้มีผลต่อสุขภาพทั้งหมด เป็นแนวทางของการแพทย์ สุขภาพและเวลเนสของวันนี้และวันข้างหน้า   เพื่อมีสุขภาพดี อายุยืนอย่างมีความสุข

     อย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้  มีการใช้จีโนม เพื่อคาดการณ์ว่าใครจะเป็นโรคอะไร ถ้าเป็นแล้วใช้ความรู้ทางจีโนมหาวิธีรักษาที่ดีที่สุด เลือกยา ตรวจสอบการแพ้ยาและใช้ยาตามความเหมาะสมแต่ละบุคคล ไม่ใช่บอกว่าเป็นโรคนี้ 2 ล้านคนแล้วใช้วิธีการรักษาเดียวกันทั้งหมด เพราะเทคโยโลยีจีโนมในปัจจุบัน สามารถแยกคนไข้เป็นกลุ่มย่อยลึกลงได้ได้ และเลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุด และคาดการณ์ได้ว่าใครหายมากน้อยเท่าไหร่  
ตรวจยีนรู้ความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

        ตัวอย่างหนึ่งของการตรวจยีนที่ประเทศไทยนำมาให้บริการและเป็นสิทธิประโยชน์ฟรีสำหรับคนไทยทุกคน คือ ตรวจหายีนกลายพันธุ์ของBRCA1/BRCA2 จะเป็นการบ่งชี้โอกาสคนที่ผลเป็นบวกจะเกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ในอนาคต 

        นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูงส้าขามะเร็ง โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี กล่าวว่า  ในปี 2040 ผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น โดยมากที่สุดจะเป็นคนเอเชีย จากเจอ 5 % เป็น 8.79 % ซึ่งปัจจุบันมะเร็งเต้านมเจอสูงสุดในโลก แต่ปี 2070 มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะมากกว่ามะเร็งเต้านม

        สำหรับประเทศไทย มะเร็งที่จะพบเพิ่มขึ้น คือ มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ต่อมลูกหมาก และปอด โดยที่มะเร็งปากมดลูก มะเร็งกระเพาะอาหารจะลดลง  อีกทั้ง มะเร็งจะเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่อายุน้อยกว่า 70 ปี
       หนึ่งในสาเหตุการเกิดมะเร็ง คือ กลกไกการกลายพันธุ์  ซึ่งการตรวจยีนกลายพันธุ์ของBRCA1/BRCA2  สามารถตรวจได้ทั้งเพื่อการป้องกัน หากตรวจพบถือว่ามีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม  จะได้สามารถดำเนินการป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นโรคได้ เช่น ถ้าตรวจเจอในเต้านมข้างหนึ่ง มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมอีกข้าง 3.7 เท่า จึงควรตัดเต้านมอีกข้าง

มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย

          รวมถึง ตัดรังไข่ในเวลาที่เหมาะสม และตัดปีกมดลูกด้วย  และเพื่อการรักษา  มียารักษาที่เป็นยามุ่งเป้า ก็จะมุ่งไปที่ยีน BRCA ที่ผิดปกติ ดังนั้น ในคนป่วยมะเร็งเต้านมที่ตรวจเจอยีนนี้สามารถใช้ยามุ่งเป้าในการรักษาได้  อย่างไรก็ตาม กระบวนการก่อนตรวจต้องประเมิน 4 ถูก ได้แก่ ถูกคน  ถูกเหตุผล ถูกวิธี และ ถูกแปลผล
      “การตรวจยีนเป็นจุดยืนยันว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่ ถ้าทราบก่อนว่ามีความเสี่ยวงจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข้ ก็จะทำให้เราป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง อย่างเช่น คุณแอนเจเลนาโจลีที่ตัดเต้านมและรังไข่ออกไปแล้ว ทำให้ไม่ต้องกังวลการเป็นมะเร็ง 2 ชนิดนี้ เพราะตลอดชีวิตของเขาหากไม่ตัดออกจะมีความเสี่ยงเป็นได้ถึง 87 %”นพ.ภาสกรกล่าว

          ปัจจุบัน2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้สิทธิการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ฟรี ได้แก่  กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและกลุ่มญาติสายตรงบิดา มารดา พี่น้อง บุตร ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตรวจพบความผิดปกติของยีนนี้

บทบาทและความมุ่งมั่นของเอ็มพี กรุ๊ป

        นทพร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การตรวจยีนเกี่ยวข้องกับโรค เนื่องจากจะทำให้ทราบว่ายีนปกติ หรือเมื่อยีนเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะก่อให้เกิดโรค หรือ เหมือนจะเกิดโรค ซึ่งยีนที่ทำให้เกิดโรคมี2 ส่วน คือ กรรมพันธุ์รับจากพ่อแม่ และจากกระบวนการจำลองดีเอ็นเอผิดปกติก็จะเกิดความผิดปกติกับอวัยวะ

        วิธีการตรวจด้วยเทคโนโลยี Next Generation Sequencing(NGS)เป็นเทคนิคการหาลำดับสารพันธุกรรม เพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของยีนที่สนใจ สามารถตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนได้มากกว่า 1 ยีนต่อ 1 ครั้งการวิเคราะห์ เหมาะสำหรับพยากรณ์ความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยหาโรคมะเร็ง รวมถึงการเลือกยาในการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล

มะเร็งปากมดลูก \'HPV The Toilab\'  ตรวจรู้ก่อนเป็นโรค-ป้องกัน-รักษาหาย

          แบ่งสาขาการตรวจเป็น 1.มะเร็ง ตรวจหายีนกลายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุดที่เรียกว่า Personalized  Precision Medicine

2.wellness ตรวจหาความเสี่ยงของโรคจากพันธุกรรม เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน

3.หาชนิดและปริมาณของแบคทีเรียทั้งหมดในลำไส้ที่ส่งผลต่อสุขภาพและนำไปสู่การปรับสมดุลจุลินทรีย์ที่เรียกว่า probiotics

4.ตรวจหายีนดื้อยา ปริมาณยาที่ควรได้รับ เช่น ยากันชัก ยาเก๊าซ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของยีน HLA และ5.Lifespan เป็นการวางแผนการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมาะกับช่วงวัย เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น

         อาทิ โปรแกรมการตรวจยีน Health Risks Advance เป็นโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งแลพโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อบ่งชี้ระดับความเสี่ยงต่อโรคต่างๆครอบคลุมทั้งร่างกาย เช่นมะเร็งในเพศหญิงและชาย 14 ชนิด,โรคสโตรค พาร์กินสัน  อัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
     โปรแกรมการตรวจยีนส์ wellness genechecks จะช่วยให้สามารถวางแผนการใช้ชีวิตพร้อม Health solution เพื่อเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ช่วยลดโอกาสหรือป้องกันโรคร้าย หรือความเจ็บป่วยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้ มีชุดตรวจยีนแพ้ยาเก๊าซ์  แพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี แพ้ยากันชัก และมีบริการให้คำปรึกษาด้วย 
      ขณะที่ ฤทธิชัย ศรีวิจารย์ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็มพี  กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า  บริษัทดำเนินธุรกิจมา 23 ปีตั้งแต่ปี 2544 เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ นำเข้า จัดจำหน่าย  ผลิต และส่งออก ชุดตรวจวินิจฉัยที่ได้มาตรฐานระดับโลก ถือเป็นหนึ่งในเอสเคิร์บสำคัญที่พัฒนามาตลอด มีกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐ เอกชน  โรงพยาบาล  คลินิก ร้านขายยา  ร้านค้า และบุคคลทั่วไป

    บริษัทพร้อมต่อยอดพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในอนาคตด้วยนวัตกรรมการตรวจที่ทันสมัย รองรับการแพทย์สมัยใหม่ให้เข้าถึงบริการทั่วถึง ใส่ใจมาตรฐาน บริการฉับไว ให้ผลเร็วและแม่นยำ นำสู่คุณภาพชีวิตคนไทยที่ยั่งยืน