"รพ.บำรุงราษฎร์" เปิดกลยุทธ์ Transformation ปี 2567

"รพ.บำรุงราษฎร์" เปิดกลยุทธ์ Transformation ปี 2567

รพ.บำรุงราษฎร์ ประกาศ 2567 Year of Transformation บุคลากร-คุณภาพและความปลอดภัย- ระบบ Digital Healthcare วางกลยุทธ์มุ่งมั่นพัฒนา 5 เสาหลัก เติบโตอย่างยั่งยืน

ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ปี 2566 โรงพยาบาลบำรุง ได้รักษาผู้ป่วยให้กลับบ้านอย่างปลอดภัยกว่า 1 ล้านคน ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยไทยและ expat เป็นจำนวนกว่า 660,000 ครั้ง และ ผู้ป่วยต่างชาติ เป็นจำนวน 351,000 ครั้ง จากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก โดย 97% ของผู้ที่มารับการบริบาลทั้งหมดกลับมาหาเรา แสดงถึงความเชื่อมั่นในการรักษา ด้วยมาตรฐาน ความปลอดภัยสูงสุด

Transformation พัฒนา 5 เสาหลัก

ความท้าทายในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของระบบการดูแลรักษาที่กำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการแพทย์ โมเดลการดูแลสุขภาพ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงสุขภาพดิจิทัล การแพทย์ทางไกล และปัญญาประดิษฐ์ ที่ต้องนำมาปรับเปลี่ยนใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งไม่ใช่แค่เพื่อรักษาความเป็นเบอร์หนึ่งเท่านั้น แต่เพื่อใช้โอกาสการเปลี่ยนแปลง และ disruption ที่จะมาถึง สร้างประโยชน์กับผู้ป่วยและพนักงาน

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จึงได้วางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจปี 2567 ให้เป็น Year of Transformation โดยมุ่งมั่นพัฒนา 5 เสาหลัก ได้แก่

1. Clinical Transformation

 2.Safety and Quality Transformation

 3. Operation Process Transformation

4. Service Excellence Transformation

 5. People Transformation

\"รพ.บำรุงราษฎร์\" เปิดกลยุทธ์ Transformation ปี 2567

8 ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์

รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ประธานปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ในการทำให้เกิด Clinical transformation นอกจากการรักษาแบบครบวงจรในแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลแล้ว ยังจัดให้มีศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โดยรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีประโยชน์กับผู้ป่วยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันให้การบริบาล โดยในปีนี้มีศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Centers of Excellence) 8 ศูนย์ ได้แก่

  • สถาบันโรคหัวใจ
  •  สถาบันกระดูกสันหลัง
  •  ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน
  •  ศูนย์โรคระบบประสาท
  • ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ
  • ศูนย์จักษุ
  • ศูนย์เต้านม
  • และศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

นำระบบธรรมาภิบาลทางการแพทย์มาใช้ในโรงพยาบาล คือทำให้เกิดธรรมาภิบาลกับผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดด้วยนวัตกรรมและความรู้ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน และให้เกิดธรรมาภิบาลกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้ได้รับความสะดวกสบายในการมาปฏิบัติงาน

และสร้างระบบการถ่ายทอดความรู้ในองค์กรปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กร เรื่องการดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัย และอยู่ในขอบเขตของจริยธรรมและมาตรฐานทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เพื่อให้เป็นองค์กรทางการแพทย์ที่น่าเชื่อถือที่สุด สำหรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างประเทศ

 

นพ.รุจาพงศ์ สุขบท รองประธานอาวุโสปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวเสริมว่า การมีส่วนร่วมกับผู้ป่วยโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง patient centric ในทุกสิ่งที่ทำ ควบคู่ไปกับการนำ Innovation มาใช้เสริมประสิทธิภาพในการรักษาและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในองค์กร (sustainable growth) ผ่านการบ่มเพาะวัฒนธรรมองค์กรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญ และการ empower พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ให้ได้ใช้ความรู้ความชำนาญการในแต่ละสาขาอาชีพได้อย่างเต็มศักยภาพ และทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย

People Transformation 

ภญ. อาทิรัตน์ กล่าวถึงเรื่องของ People Transformationว่า ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 4,000 คน มีแพทย์อีกกว่า 1,300 คน ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร คือ iAIC (Inclusion, Agility, Innovation, Caring) ซึ่งเป็น DNA ของคนบำรุงราษฎร์ เน้นเรื่องการปลูกฝัง Agile mindset เป็นพื้นฐานที่สำคัญในเรื่อง Transformation ทำให้พนักงานเปิดใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง และ เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ฝ่าวิกฤตต่าง ๆ มาได้

ในเรื่องการสร้างองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีแผนงานการสืบทอดตำแหน่งงาน (succession planning) มีการวาง career path และ career development ที่ชัดเจน และพัฒนาผู้นำจากภายใน มุ่งเน้นด้านการพัฒนาฝึกฝนกลุ่มผู้นำรุ่นใหม่และตระเตรียมการเสริมสร้างผู้นำในอนาคต อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายทอดองค์ความรู้ จากผู้นำรุ่นปัจจุบันเพื่อรักษาจุดแข็ง ในขณะเดียวกันก็สามารถเติมเต็มและพัฒนาองค์กรให้เหมาะสมกับสภาวะในอนาคต

\"รพ.บำรุงราษฎร์\" เปิดกลยุทธ์ Transformation ปี 2567

และปัจจุบันบำรุงราษฎร์เป็น ‘สถาบันวิชาการทางการแพทย์ภาคเอกชน’ หรือ Academic Private Hospital อย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังสนับสนุนให้แพทย์และบุคลากรได้มีโอกาสทำงานวิจัย ตีพิมพ์ผลงานในวารสารทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และมีความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ เพื่อพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์และนวัตกรรมการรักษา ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

Safety and Quality Transformation

สำหรับ Safety and Quality Transformation คุณภาพและความปลอดภัย มีการถอดบทเรียน มี knowledge management นำปัญหามาวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง (risk management) ได้อย่างดี ซึ่งสามารถที่จะป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจขึ้นได้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเรื่องของ no-blame policy ทำให้พนักงานกล้าที่จะพูดคุยในปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในองค์กร อย่าง Hospital Information Management System (HIMS) การบริหารจัดการด้านระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ที่ช่วยควบคุม quality ลดข้อผิดพลาด และส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการ

นอกจากนี้ยังมีการให้องค์กรอิสระภายนอกเข้ามาตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (JCI) ซึ่งผ่านการต่ออายุการรับรอง re-accreditation ครั้งที่ 7 เมื่อปลายเดือน ธ.ค. 2566 และ การรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) ในระดับความเป็นเลิศมาตรฐานสากลในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เดินทางเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย เป็นต้น

 สุดท้ายนี้ จะไม่สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ของการเป็น The Most Trusted Healthcare and Wellness Destination ได้ หากปราศจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ซึ่งเป็นสถาบันเวชศาสตร์ชะลอวัยแบบบูรณาการ เป็นผู้บุกเบิกและวางรากฐานเวชศาสตร์เชิงป้องกันเป็นแห่งแรกในเอเชีย ซึ่งไวทัลไลฟ์มีแนวทางการดูแลสุขภาพเพื่อการมีอายุยืนยาว โดยใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยในด้าน Longevity Medicine ผสมผสานกับเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ ในการวิเคราะห์ อายุชีวภาพ (biological age) หรืออายุที่แท้จริงลึกถึงระดับเซลล์ของร่างกาย เพื่อช่วยวาง

\"รพ.บำรุงราษฎร์\" เปิดกลยุทธ์ Transformation ปี 2567

ระบบ Digital Healthcare

นพ.นิพัฒน์ กุหลาบขาว รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เรื่อง Operation Transformation มีการนำระบบ Digital Healthcare มาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เพื่อการให้บริบาลแก่ผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ถูกต้อง รวดเร็ว  

และมุ่งเน้นในการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร และไร้รอยต่อ  โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล  ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยรับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล  และรวมถึงหลังจากที่เสร็จสิ้นการรักษาไปแล้ว  เช่น ระบบจัดเก็บเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์แบบ EMR (Electronic Medical Record) สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและแผนการรักษาของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และเป็นระบบ

 มี Bumrungrad Application ที่ใช้ในการสื่อสารและให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย โดยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการ Transform Operation จะมุ่งเน้นในเรื่องของการเพิ่ม operation efficiency ซึ่ง focus อยู่ 4 ข้อหลัก ๆ โดยยึดหลักของ F A S T; Friendly use, Accuracy, Safety – patient, Timeliness   และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยี AI เข้ามาปรับใช้เพื่อยกระดับการบริบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความประทับใจ และส่งต่อเรื่องราวดี ๆ ไปยังบุคคลรอบตัว