เครื่องสำอาง 'ออร์แกนิก' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

เครื่องสำอาง 'ออร์แกนิก' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

เครื่องสำอางออร์แกนิก ถือเป็นเครื่องสำอางที่กำลังได้รับความนิยมและมาแรง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่หน่วยงานและผู้ประกอบการเพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

KEY

POINTS

  • เครื่องสำอางออร์แกนิก ถือเป็นเครื่องสำอางที่กำลังได้รับความนิยมและมาแรง เนื่องด้วยข้อดีของการใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ
  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการสนับสนุนองค์ความรู้ รวมถึง ออกตราสัญลักษณ์ Safety Product, Smart Product และ Sustainable Product ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
  • โอลิสา (OLISA) เป็น 1 ในแบรนด์ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 พัฒนาสบู่เหลวธรรมชาติผลิตจากน้ำมันรำข้าวสกัดเย็น จากแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ จ.มหาสารคาม ที่ได้รับรองมาตรฐาน Organic Thailand ระดับ Premium

เครื่องสำอางออร์แกนิก ถือเป็นเครื่องสำอางที่กำลังได้รับความนิยมและมาแรง เนื่องด้วยข้อดีของการใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ อีกทั้ง หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานรับผลิตเครื่องสำอางออร์แกนิกที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานด้วยแล้วก็จะเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้ได้มากขึ้นว่าจะได้รับความปลอดภัยและได้เครื่องสำอางที่มีคุณภาพใช้แล้วได้ผลจริง  

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ไปถ่ายทอดให้กับหน่วยงานและผู้ประกอบการผ่านระบบเครือข่ายทั่วประเทศทำให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร เครื่องสำอาง และสมุนไพรมีการพัฒนายกระดับคุณภาพและความปลอดภัยผ่านเกณฑ์มาตรฐานและการพัฒนาคุณภาพและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP/SMEs

 

“พิเชฐ บัญญัติ” รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าการพัฒนาคุณภาพและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP/SMEs โดยขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกตราสัญลักษณ์ Safety Product, Smart Product และ Sustainable Product ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP/SMEs

ปัจจุบันสามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านอาหาร และเครื่องดื่ม และเครื่องสำอางสมุนไพรให้มีคุณภาพปลอดภัย(Safety Product) จำนวน 202 ผลิตภัณฑ์ และมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์ Smart Product จำนวน 63 ผลิตภัณฑ์ และในปี 2567 จะขยายเพิ่มไปในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรด้วย

 

โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์ Safety Produc tและ Smart Product ติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับการรับรองSustainable Product และจะมีการสุ่มตรวจตามเกณฑ์เมื่อครบกำหนดระยะเวลา เพื่อต่อใบอนุญาติซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ และต้องการได้รับตราสัญลักษณ์ Safety Product, Smart Product และ Sustainable Product สามารถปรึกษากับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทั้ง 15 แห่งทั่วประเทศ

 

“ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ผ่านการรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น และยังทำให้เพิ่ม Value เพิิ่มรายได้และช่องทางจำหน่ายได้มากขึ้นอีกด้วย บางผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มราคาจำหน่ายได้มากกว่าเดิมถึง 3 เท่าหลังจากผ่านการประเมินและได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์”

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

 

น้ำมันรำข้าว 5 ชนิด สู่ครีมบำรุงผิว

กว่า 4 ปีโอลิสา (OLISA) ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันรำข้าว ภายใต้การบริหารของ “ยุวดี อมรเวชยกุล”ผู้ผลิตแบรนด์ Olisa ฮักสาโฮมเมด ที่ต่อยอดการผลิตเพื่อใช้มาเป็นธุรกิจได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาสบู่เหลวธรรมชาติผลิตจากน้ำมันรำข้าวสกัดเย็น จากแหล่งปลูกข้าวอินทรีย์ จังหวัดมหาสารคาม ที่ได้รับรองมาตรฐาน Organic Thailand ระดับ Premium อุดมไปด้วยสารโอลิซานอลมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระปราศจากสารกันเสีย และสารก่อมะเร็ง ได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

 

ล่าสุด เป็น 1 ใน 30 แบรนด์ ที่ได้รับการคัดสรรการพัฒนาสินค้าโอทอป OTOP Alchemizing The Vision ในโครงการ Global OTOP 2024: The Unveiled Wisdom จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA โดยผ่านกระบวนการคัดสรร ตามเกณฑ์ CBDS ประกอบด้วยCustomer Center : มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย Design Methods : ออกแบบความสวยงาม Brand Strategy : มีการสื่อสารแบรนด์ชัด Sales Channel : มีช่องทางการขายที่ดี และที่สำคัญ เป็นสินค้าโอทอประดับ 3 ดาวขึ้นไป  

 

ซึ่งผู้ประกอบการนี้ผ่านการคัดสรรจะได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการพัฒนาต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ เเละ การสื่อสารภาพลักษณ์ ตลอดทั้งโครงการ โดยแบรนด์โอลิสา ( fb: hug sa homemade ) ทั้งบอดี้โลชั่น และสบู่เหลวอาบน้ำจากน้ำมันรำข้าว  5 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ105 ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวทับทิมชุมแพ และข้าวหอมใบเตย พันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดมหาสารคาม 

 

อุดมด้วยวิตามินอี โอเมก้า 3,6,9 และสารโอลิซานอล ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระและชะลอริ้วรอย เป็นผลผลิตจากนาข้าวอินทรีย์กว่า 800 ไร่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวปลอดสารพิษบ้านหนองหิน 141 ม.4 ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม  เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรที่ทำนาได้มากขึ้นแทนที่จะขายข้าวเพียงอย่างเดียว

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

 

4 เกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์

“ยุวดี” เล่าว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสมุนไพรให้มีคุณภาพและปลอดภัย จะต้องผ่านการตรวจวิเคราะห์และพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  4 ด้านหลักๆคือ 1)จุลินทรีย์ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์2) โลหะหนักปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ 3)เอกลักษณ์สารสำคัญชี้บ่งสมุนไพร และ4)ประสิทธิภาพสารกันเสีย (challenge test)โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน ข้อ 1 และ 2 จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ Safety product ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน ข้อ 1, 2, 3 และ 4 จะได้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ Smart product

 

สำหรับผลิตภัณฑ์โอลิลา ผ่านการประเมินเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ Smart Product  เพราะผลิตภัณฑ์สูตรน้ำมันรำข้าวสกัดจากข้าว 5 สายพันธุ์ ได้น้ำมันรำข้าว ที่มีส่วนผสมของสารโอริซานอลที่ช่วยป้องกันแสงยูวี ทาให้ผิวหนังชุ่มชื้น ต้านการอักเสบของผิว และยังมีวิตามิน E โอเมก้า 6 และ 9 และไม่มีสารกันเสียSLS , SLES  แอลกอฮอล์  และสารก่อมะเร็ง

 

“เทรนด์การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และชะลอวัยมาแรง ตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพออร์แกนิคยังเติบโตได้อีกมาก ผู้บริโภคหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น เป็นโอกาสของทั้งเกษตรกรที่เป็นต้นน้ำหันมาทำเกษตรแบบออร์แกนิคให้ตอบโจทย์ตลาด กลางน้ำ ผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธรรมชาติก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตจะเติบโตได้มากกว่านี้ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น เป็นการต่อยอดการเกษตรอย่างยั่งยืน ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพดีขึ้น”  เจ้าของแบรนด์โอลิสา กล่าว

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

 

ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ปี 2567 ระหว่างวันที่ 5 - 6 เมษายน 2567 ณ ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานและมอบประกาศนียบัตร ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์ Sustainable Smart Product จำนวน 10 ราย  ผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์ Smart product จำนวน 60 ราย และผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์ Safety product จำนวน 31 ราย

 

นอกจากนี้ยังมี เสวนา “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความมั่งคั่ง ด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน” และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่ได้รับตราสัญลักษณ์รับรอง DMSc. Product และ คลีนิคให้คำปรึกษา ด้านการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการ คลีนิคให้คำปรึกษาด้านการขอขึ้นทะเบียน ขอฉลากเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน และจำหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐานจากกรมวิิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ 

 

ความงาม จากภายในสู่ภายนอก

ตลาดเครื่องสำอางไทย นอกจากจะมีการพัฒนาและบุกตลาดต่างประเทศแล้ว ยังมีการเติบโตต่อเนื่อง มูลค่าตลาดในปี 2022 พบว่ามูลค่า 231,355 ล้านบาท เติบโต 9.22% ปี 2023 มูลค่า 258,275 ล้านบาท เติบโต 11.6% โดยสัดส่วนสินค้าตลาดพรีเมียม อยู่ที่ 50,277.6 ล้านบาทเติบโต 13% ขณะที่ สินค้าทั่วไปมูลค่า 175,880.8 ล้านบาท เติบโต 11.55%

 

“เกศมณี เลิศกิจจา” นายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมความงามไทย เรียกว่าได้รับความไว้วางใจโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า 40% บนชั้นวางสินค้าจะเป็นสินค้าจากไทย ขณะที่ ประเทศจีน สินค้าไทยที่ติดอันดับต้นๆ คือ แบรนด์มิสทีน สิ่งที่เขายอมรับเพราะเรามีการพัฒนา มาตรฐานที่ดี และสินค้าที่ผลิตในไทยเหมาะกับภูมิอากาศ

 

ทั้งนี้ เมื่อดูสัดส่วนการนำเข้า อยู่ที่ 31,380 ล้านบาท เติบโตลดลง 14% คิดได้สองแง่ คือ คนไทยเริ่มเชื่อมั่นสินค้าไทย และ การนำเข้าที่ไม่เสียภาษี เพราะข้อตกลงของโลก สินค้าที่นำเข้ามาไม่ถึง 1,500 บาทไม่ต้องเสียภาษี ขณะที่ การส่งออก 86,030 ล้านบาท เติบโตขึ้น 4% โดยภาพรวม 40% เป็นการส่งออก ใช้ในไทย 60% สินค้า 3 อันดับที่เป็นพระเอก คือ Skin Care สัดส่วน 41.78% ถัดมา คือ Hair Care 15.20% และ Oral Care 11.41%

 

“เทรนด์เครื่องสำอางในปี 2024 สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ความงามต้องเกิดจากภายในสู่ภายนอก เช่น มีการทดสอบผิวตอนกลางคืนว่าหลับได้ดีหรือไม่ การสื่อสารระหว่างสารที่ทำปฏิกิริยาภายในของผิวไปสู่สมอง มีการเพิ่มแร่ธาตุ วิตามิน และจุลินทรีย์ ผิวดีสุขภาพดี สังเกตว่า เวลาอารมณ์ไม่ดี ผิวก็หมองไปด้วย เป็นเทรนด์ที่เข้ามาในเครื่องสำอาง สอดคล้องกับตลาดอาหารเสริม และสมุนไพร ต้องไปด้วยกัน และอีกเทรนด์

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง

 

กระบวนการออร์แกนิค

1. ผู้ค้าส่งปฏิบัติตามวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ หลีกเลี่ยงสารเคมีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง และ GMOs

2.ใช้เมล็ดพันธุ์ออร์แกนิกและไม่ใช่จีเอ็มโอในการปลูกพืชของตน ห้ามใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม

3. การจัดการศัตรูพืชและโรควิธีการควบคุมศัตรูพืชตามธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์

4. จัดหาอาหารออร์แกนิกให้กับสัตว์ และรับประกันการเข้าถึงพื้นที่กลางแจ้งหลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนการเจริญเติบโต

5. มาตรฐานการแปรรูปโรงงานแปรรูปออร์แกนิกป้องกันการปนเปื้อนข้ามกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ออร์แกนิก

6. การรับรองเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบ เพื่อยืนยันว่าการปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

7. ติดฉลากผลิตภัณฑ์ต้องมีตรา USDA Organic หรือเครื่องหมายรับรองที่เทียบเท่า

8.ผู้ค้าส่งเก็บรักษาบันทึกโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ ปัจจัยการผลิต และกระบวนการในการผลิต

 

มาตรฐานสากลทั่วไป ได้แก่–USDA Organicในสหรัฐอเมริกา National Organic Program (NOP) ของ USDA จะดูแลมาตรฐานและการรับรองออร์แกนิก

  • EU Organicกฎระเบียบออร์แกนิคของสหภาพยุโรปรับรองมาตรฐานที่สอดคล้องกันในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
  • JAS Organicมาตรฐานการเกษตรของญี่ปุ่น (JAS) กำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น
  • IFOAM Organic

 

ที่มา :สมาพันธ์ขบวนการเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) กำหนดหลักการเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกและให้คำแนะนำสำหรับหน่วยรับรอง

 

เครื่องสำอาง \'ออร์แกนิก\' มาแรง ใช้สารน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง