"MEP 2024" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์ รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย

"MEP 2024" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์  รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย

“ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness&Medical Hub) เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของรัฐบาลชุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งมั่นจะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุขและการแพทย์ของไทย ให้เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก

KEY

POINTS

  • มุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการและบูรณาการ แกนที่ทำให้เกิดความยั่งยืนฃ ผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพนานาชาติ
  • Wellness & Healthcare  เป็นเสาหลักของความมั่นคง ความยั่งยืน และความก้าวหน้าของประเทศ ทุกคนควรจะคิดนอกกรอบ ควรทำให้เร็ว พึ่งพาตนเอง
  • พัฒนาผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมก้าวเข้าสู่เวทีโลก ด้วยหลัก Big 4 Innovation Module “I For DHSS”

จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพสร้างเม็ดเงินได้มากกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งการที่ไทยจะไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากการสนับสนุนงบประมาณให้พร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี บุคลากรทางการแพทย์ และมาตรฐานการบริการในราคาที่เหมาะสมแล้ว การต่อยอดองค์กรให้แก่กลุ่มผู้บริหาร ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมการแพทย์ มีความสำคัญอย่างมาก

ยิ่งปัจจุบันแนวโน้มการดูแลสุขภาพทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมป้องกันมากกว่าการรักษา เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี จะต้องเริ่มจากการแสวงหาสถานที่รับบริการหรือพำนักอาศัยที่สามารถตอบโจทย์ในการดูแลสุขภาพได้อย่างองค์รวม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ปี2573ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโต2เท่า โอกาสทางธุรกิจของ“ประชาชนไทย”

'นั่งนาน' เกิน 8 ชม.ต่อวัน เสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคหัวใจ

ดันอุตสาหกรรมแพทย์สู่นานาชาติ

วานนี้ (7 พฤษภาคม 2567) ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์  คอนเวนชั่น  กรุงเทพฯ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมมูลนิธิกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดหลักสูตรอบรม Medical Hub Executive Program 2024 (MEP) รุ่น 1 เสริมศักยภาพผู้บริหาร และผู้ประกอบการที่มีความสนใจในการแข่งขันด้านธุรกิจสุขภาพ ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพไทยสู่เวทีโลก

ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล  สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน กล่าวเปิดการอบรมหลักสูตรMEP 2024  พร้อมบรรยายพิเศษ “นโยบายสุขภาพ กับ อนาคตประเทศไทย” ว่าโลกต้องการนวัตกรรม ซึ่งประเทศไทยถ้าไม่เปลี่ยนแปลงเราคงอยู่ไม่ได้ คงล้าหลัง และถ้าไม่รวมพลังกันก็จะสู้คนอื่นไม่ได้ ดังนั้น การมุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการและการบูรณาการเป็นตัวแกนที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของประเทศ ผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพนานาชาติ

\"MEP 2024\" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์  รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย

ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การพลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้าเศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน เป้าหมาย หลัก 5 ประการ คือ 1.ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพราะนวัตกรรมเป็นหัวใจการพัฒนาประเทศ 2.การพัฒนาคนสำหรับโลกยุใหม่ ให้ดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับสูง 3.มุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม

4.เปลี่ยนการผลิตและการบริโภคปสู่ความยั่งยืน ลดก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 20% และ 5.สร้างความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยง ทั้งโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความก้าวหน้าดิจิทัล และประสิทธิภาพของรัฐ ต้องเปลี่ยนแปลง

เพิ่มกำลังคน เพิ่มบริการสุขภาพ

“คนสำคัญที่สุด และต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต โดยเพิ่มกำลังคนคุณภาพ และการบริการสุขภาพ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ท่องเที่ยว ความเชี่ยวชาญของบุคลากร ราคาที่เข้าถึงได้ และความเป็นไทยที่ได้ใจคนทั่วโลก ซึ่งจากข้อมูล พบว่า ตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทั่วโลกเติบโตปีละ 20% ขณะที่Global Wellness Institute คาดว่า ปี 2568 มีมูลค่าธุรกิจ Wellness ทั่วโลกสูงถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ” ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล   กล่าว

ขณะเดียวกัน  อุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย ถือเป็นหนึ่งใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่มีศักยภาพในการเสริมความแข็งแกร่งทางสังคมและเศรษฐกิจ  นอกจากนั้น มีการคาดการณ์ว่า Medical Tourism ของไทยปี 2566 อยู่ที่ 3.1 แสนล้านบาท และอาจแตะระดับ 7.6 แสนล้านบาทในปี 2570

\"MEP 2024\" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์  รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย

ความท้าทายระบบสุขภาพไทย

ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล   กล่าวต่อว่าแนวโน้มและความท้าทายต่อระบบสุขภาพไทยนั้นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดลดลง วัยแรงงานลดลง การปฎิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุค AI และ ความเป็นเมือง คนไม่อยากอยู่ต่างจังหวัดอยากมาใช้ชีวิตในเมือง ขณะที่แนวโน้มด้านสุขภาพ การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพิ่มขึ้นทั่วโลก การให้ความสำคัญกับสุขภาพเชิงป้องกัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์สูงขึ้นมาก ความต้องการบริการสุขภาพ มีแนวโน้มสูงขึ้น 

ส่วนความท้าทายที่ต้องเผชิญ คือ ทรัพยากรสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค่าสุขภาพที่สูงขึ้นและข้อจำกัดงบประมาณภาครัฐ ความท้าทายในการกระจายการบริการ บุคลากร และเครื่องมือทางทางการแพทย์ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดโรคอุบัติใหม่ ความขัดแย้งของโลก และความท้าทายเทคโนโลยี Disruption

ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าวด้วยว่าอนาคตระบบสุขภาพไทย ต้องเรียนรู้จากโควิด-19 พลิกโฉมระบบสุขภาพไทย พัฒนาอย่างก้าวกระโดด ปรับสู่ Valued-based (คุณภาพดีขึ้นในราคาที่ถูกลง) คนไทยสุขภาพดี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยใช้อสม.ในพื้นที่  ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมดูแลสุขภาพของตนเอง ขณะเดียวกันบริการสุขภาพมุ่งเน้น ส่งเสริม ป้องกัน บริการสุขภาพปฐมภูมิและใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล บุคลากรทางการแพทย์มีการกระจายที่ดี ปริมาณพอเพียง คุณภาพชีวิตที่ดี และนวัตกรรมทางการแพทย์ พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และมีความเป็นเลิศ

“Wellness & Healthcare  เป็นเสาหลักของความมั่นคง ความยั่งยืน และความก้าวหน้าของประเทศ ทุกคนควรจะคิดนอกกรอบ  คิดแล้วควรทำให้เร็ว  ซึ่งเร็วในที่นี้คือ การปรับตัวได้ และต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ ถ้าเราทำแล้วได้งาน เขาได้หน้า ไม่เป็นไร”ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล กล่าว

\"MEP 2024\" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์  รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย

ผู้ประกอบการต้องไม่หยุดนิ่ง

นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดี กรม สบส. กล่าวว่าอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพของไทย เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ขึ้นชื่อและเป็นจุดดึงดูดนักลงทุน นักท่องเที่ยวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่การจะดึงต้นทุนในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพออกมาใช้อย่างมีศักยภาพ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการภาคธุรกิจ จะต้องไม่หยุดนิ่งพัฒนา แสวงหาองค์ทางวิชาการที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านธุรกิจทางการแพทย์และสุขภาพให้สามารถตอบโจทย์ต่อแนวโน้มและความท้าทายของระบบสุขภาพไทย

 “หลักสูตร  Medical Hub Executive Program 2024 หรือ MEP มีระยะเวลาอบรมรวม 14 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม – 6 สิงหาคม 2567 โดยมีจุดเด่นในการออกแบบผ่านแกนกลางหลักสูตรที่มีเนื้อหาทันสมัย เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย และพร้อมก้าวเข้าสู่เวทีโลก ด้วยหลัก Big 4 Innovation Module “I For DHSS” อาทิ นโยบายด้านเศรษฐกิจสุขภาพ ซอฟต์เพาเวอร์ กฎมายในการประกอบธุรกิจสุขภาพ เทรนด์และนวัตกรรมในโลกอนาคตสุขภาพ เป็นต้น บูรณาการกลไก 4 ด้าน คือ Medical Service Hub , Wellness Hub , Academic Hub และ Product Hub ซึ่งหลังจากการอบรมจะมีการรวบรวมจัดทำเป็นข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนเรื่องธุรกิจสุขภาพต่อไป”อธิบดีกรม สบส. กล่าว

\"MEP 2024\" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์  รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย

\"MEP 2024\" อัพศักยภาพนักธุรกิจการแพทย์  รับมือความท้าทายระบบสุขภาพไทย