“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“อย่ามองผู้สูงอายุ หรือคนแก่ในบ้านเป็นภาระ เพราะจริงๆ แล้วพวกเขามีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ที่ผ่านการลองผิดลองถูก และพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ลูกหลาน”

KEY

POINTS

  • "การลงยาราชาวดี” เป็นการนำลายไทยออกมาเป็นเครื่องประดับต่างๆ ผ่านการออกแบบร่วมสมัย  และการลงยาร้อนสีวิธีการผลิตแบบดั่งเดิม ทำให้ยาสีไม่หลุดลอก คงทน สวยงาม 
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้ การมาเป็นครูสอนคนรุ่นใหม่ถือเป็นการให้อย่างหนึ่ง และผู้สูงอายุหลายๆ คนก็มีความรู้ มีภูมิปัญญาติดตัวเต็มไปหมด แต่พวกเขาไม่มีพื้นที่ให้ได้แสดงออก
  • ผู้สูงอายุมีศักยภาพ มีองค์ความรู้สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ ยิ่งในงานหัตถศิลป์ที่ต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และวิธีการผลิตแบบดั่งเดิม อย่ามองว่าไร้ค่า อย่าปิดกั้นผู้สูงอายุ

 

“อย่ามองผู้สูงอายุ หรือคนแก่ในบ้านเป็นภาระ เพราะจริงๆ แล้วพวกเขามีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ที่ผ่านการลองผิดลองถูก และพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ลูกหลาน”

เสียงสะท้อนจาก ครูตุ๋ม พนิดา สมบูรณ์ อายุ 68 ปี ครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และเจ้าของร้านพนิดา งานหัตถศิลป์เครื่องประดับลงยาราชาวดี จากรุ่นสู่รุ่นมานานกว่า 80 ปี

วัยสูงอายุ”เรียกได้ว่าเป็นวัยที่ผ่านการใช้ชีวิตมาอย่างยาวนาน ย่อมมีความเข้าใจธรรมชาติของชีวิต มีความเป็นผู้ใหญ่ สุขุมและมีเหตุผล แต่หลายครั้งที่ผู้สูงอายุ กลับถูกมองว่าเป็นภาระของคนในครอบครัว ของสังคม เป็นบุคคลไร้ค่า ทำอะไรก็ไม่ได้ ต้องคอยขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว มีผู้สูงอายุหลายคนมีศักยภาพ มีองค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่พร้อมถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้

“ครูตุ๋ม พนิดา” ตัวอย่างผู้สูงอายุที่ไม่ได้แก่กะโหลกกะลา หรือแก่แล้วเป็นภาระของคนในครอบครัว เพราะครูตุ๋ม ได้นำองค์ความรู้ด้านงานหัตถศิลป์เครื่องประดับลงยาราชาวดีมาถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ ประชาชนทั่วไปกว่า 100 คน ทั้งที่การลงยาราชาวดี ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนในครอบครัวเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วันสุดท้ายยื่นคำขอรับเงิน 3000 บาท ครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุ ได้เงินยังไง

“โรงเรียนผู้สูงอายุแห่งมธ.” แก่แต่เจ๋ง เปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง

ส่งต่อลงยาราชาวดีสู่คนรุ่นใหม่

ครูตุ๋ม พนิดา เล่าว่าครูต้องการสร้างเครื่องประดับลงยาราชาวดีให้กลับมาเป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่ๆ มากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าขณะนี้การลงยาราชาวดี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และเจริญรุ่งเรืองในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเป็นงานหัตถศิลป์สำหรับชนชั้นสูง แต่เมื่อเข้าสู่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเรียนรู้การลงยาราชาวดี ถือเป็นงานหัถตศิลป์ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน กำลังจะค่อยๆ เลือนหายไป เนื่องจากคนที่มีความรู้ด้านนี้ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานของตนเองเท่านั้น และลูกหลานเองก็มีส่วนหนึ่งที่สนใจทำเป็นอาชีพ อย่าง พ่อแม่ครูมีลูก 5 คน แต่มีครูและน้องชายเท่านั้นที่สานต่อในเรื่องนี้

“ครูได้เรียนรู้การลงยาราชาวดีมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นอาชีพของครอบครัวทำมากันตั้งแต่รุ่นพ่อ ตอนนั้นพ่อไปเรียนมาจากโรงเรียนเพาะช่างและมาถ่ายทอดให้แก่ลูกๆ ก็ทำมาตลอดจนกระทั่งช่วงหนึ่งเริ่มเบื่อ เนื่องจากตอนที่ครูทำ ครูถูกบังคับให้ทำ และไม่รู้ว่าทำไมตัวเองต้องทำลายไทย ไม่มีความรู้ ไม่รู้ประวัติของการลงยาราชาวดี ครูก็ทำตามความรู้ที่พ่อถ่ายทอดมาให้ จึงหันไปค้าขายอย่างอื่น จนได้รู้จัก กศน.วังทองหลาง ได้มาเห็นงานเครื่องประดับลงยาราชาวดีที่บ้าน ได้เชิญไปเป็นวิทยากร ครูก็สนใจและได้กลับไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะนอกจากวิธีการทำที่สืบทอดมาอย่างยาวนานแล้ว ครูต้องมีความรู้ที่ถูกต้องไปสอนคนรุ่นใหม่ด้วย”ครูตุ๋ม พนิดา กล่าว

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

ไม่ได้หวังเงินทอง หวังความสุข

“การลงยาราชาวดี” เป็นการนำลายไทยออกมาเป็นเครื่องประดับต่างๆ ผ่านการออกแบบร่วมสมัย มีความสวยงามของลายไทยเป็นเอกลักษณ์ มีความพิถีพิถัน ใส่ใจในการผลิต และการลงยาร้อนสีวิธีการผลิตแบบดั่งเดิม ทำให้ยาสีไม่หลุดลอก คงทน สวยงาม สร้างรูปแบบใหม่ๆ แต่ใช้รูปแบบการผลิตเดิม และอัตลักษณ์ลายไทย มาสู่เครื่องประดับทันสมัย ทำให้เป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ ทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ

ครูตุ๋ม พนิดา เล่าต่อว่าหลังจากเป็นวิทยากร ครูก็ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และเริ่มมีผู้ใหญ่หลายๆ คนสนใจที่จะมาเรียนรู้การลงยาราชาวดี ครูก็เริ่มสอนทั้งที่ตอนนั้นก็มีหลายคนทักว่า เอามาสอนแบบนี้ไม่กลัวว่าคนอื่นจะมาแย้งลูกค้าไปหรือ แต่ครูก็ไม่ได้มองอย่างนั้น เพราะครูอยากให้ อยากสอนให้ทุกคนร่วมกันสืบสานในเรื่องนี้ต่อไป อีกทั้งจากการได้พบกับอาจารย์เปลื่อง เปลี่ยนสายสุข อาจารย์ได้แนะนำให้นำเรื่องของลายไทยมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำให้ลายไทยดูสมัยใหม่ มีความสวยงาม ทำให้ครูมีแรงบันดาลใจมากขึ้น

“การถ่ายทอดองค์ความรู้ การมาเป็นครูสอนคนรุ่นใหม่ถือเป็นการให้อย่างหนึ่ง และผู้สูงอายุหลายๆ คนก็มีความรู้ มีภูมิปัญญาติดตัวเต็มไปหมด แต่พวกเขาไม่มีพื้นที่ให้ได้แสดงออก หรือไม่มีใครถาม คนส่วนใหญ่พอเห็นผู้สูงอายุมักจะมองว่าไร้ประโยชน์ ไร้คุณค่า ทำอะไรไม่ได้แล้ว ต้องรอความช่วยเหลือ ทั้งที่ไม่ใช่ หลายคนอยากสอน อยากเล่าเรื่องราวของตนเองไปยังผู้อื่น อยากทำอะไรเพื่อผู้อื่นโดยไม่ได้หวังเงินทอง แต่หวังความสุขที่จะได้รับจากการเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อสังคม” ครูตุ๋ม พนิดา กล่าว

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

เปิดโอกาสสร้างเวทีให้แก่สูงวัย

เมื่อก่อนมีโครงการผู้สูงอายุ อย่างตลาดนัดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้สูงอายุมาถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ มากมาย แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้ไม่มีอีกแล้ว ขณะที่การอบรมต่างๆ อดีตจะมีการสอนอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุกว่า 50 อาชีพ ตอนนี้เหลือเพียง 4-5 อาชีพเท่านั้น

ครูตุ๋ม พนิดา เล่าอีกว่าผู้สูงอายุมีหลายประเภท หลังจากเกษียณ หลายคนไม่รู้จะเอาความรู้ไปทำอะไร เพราะไม่มีเวทีให้พวกเขา จะหันไปพูดกับใครทุกคนก็มองว่าเป็นสิ่งโบราณใช้ในยุคสมัยนี้ไม่ได้แล้ว ทั้งที่ผู้สูงอายุมีประสบการณ์ชีวิต พวกเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมา มีคุณค่าในตัวเอง หลายๆ อย่างที่ผู้สูงอายุทำได้ แต่คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้ อยากให้ทุกคนอย่ามองผู้สูงอายุเป็นภาระ แต่ขอให้เปิดใจยอมรับ ผู้สูงอายุมีคุณค่าแต่ด้วยร่างกายที่เป็นไปตามวัย เขาอาจจะทำอะไรช้า แต่อย่าพึ่งตัดสินว่าเขาทำอะไรไม่ได้

“ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ในไทยมีทั้งผู้สูงอายุที่ต้องการเติมทักษะใหม่ๆ แต่ไม่ใช่ภาระของใคร ขณะที่ผู้สูงอายุอีกกลุ่ม เขามีศักยภาพ มีองค์ความรู้สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น ยิ่งในงานหัตถศิลป์ที่ต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และวิธีการผลิตแบบดั่งเดิม ผู้สูงอายุหลายท่านมีประสบการณ์เหล่านี้แต่ตอนนี้พวกเขาถูกข้อจำกัดจากสังคม ครูโชคดีที่ทางหน่วยงานภาครัฐ อย่าง กศน. กรมกิจการผู้สูงอายุ เชิญไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ ทำให้ครูเกิดความภาคภูมิใจ และมีอาชีพ มีรายได้ ดังนั้น อยากให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้แก่ผู้สูงอายุคนอื่นๆ ด้วย” ครูตุ๋ม พนิดา กล่าว

ปัจจุบัน “ครูตุ๋ม พนิดา” ได้รับคัดเลือกคลังปัญญาผู้สูงอายุดีเด่น กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2567 สาขาภูมิปัญญา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี มีความเชี่ยวชาญ การทำเครื่องประดับลงยาราชาวดี ยังคงเปิดสอนเครื่องประดับลงยาราชาวดี แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากการลงยาราชาวดี ไม่ใช่สามารถเรียนได้ทันที อดีตต้องใช้เวลาเรียนรู้เป็นเวลานาน แต่ตอนนี้ครูตุ๋ม ได้มีการปรับการเรียนการสอน เพียง 2 วันสามารถลงยาราชาวดี ประกอบอาชีพได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเป้าหมายหลักของครูตุ๋ม ที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าถึง เข้าใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดหัตถศิลป์การลงยาราชาวดี

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

รู้จัก “เครื่องลงยาราชาวดี”

เครื่องลงยาราชาวดี เป็นงานหัตถศิลป์ที่มีมานานตั้งแต่สมัยอยุธยาที่ใช้ในงานของเจ้านายชั้นสูง เมื่อสิ้นอยุธยารัชกาลที่ 1 จึงได้นำหัตถศิลป์แขนงนี้มายังกรุงรัตนโกสินทร์ และได้มีคำว่าลงยาราชวดี ในสมับนี้ แล้วเจริญรุ่งเรื่องในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาประชาชนทั่วไปจึงสามารถใช้งานลงยาราชาวดี ได้ถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบัน งานลงยาราชาวดีที่ใช้ความร้อนในการเผาสีทำให้สีลงยา คงทนความสวยงามได้ยาวนานมาก แต่วิธีทำค่อนข้างยากทำให้ผู้สืบสานได้น้อย สืบทอดแต่ด้วยใจรักและทักษะอันยาวนานกว่า 50 ปี ทำให้ “ครูตุ๋ม พนิดา” ค้นหาวิธีที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ให้ได้ง่ายขึ้น และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นตัวอย่างไว้ให้รุ่นหลังได้เรียนรู้

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า

“ครูตุ๋ม พนิดา” แก่ไม่เป็นภาระ  เปลี่ยนทัศนคติ อย่ามองสูงวัยไร้ค่า