‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

ปัจจุบันการลงทุนธุรกิจบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ครอบคลุม ครบวงจรตลาดผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นบริการบ้านพักคนชรา หลากหลายรูปแบบทั้งรายเดือน

KEY

POINTS

  • ระบบสุขภาพเป็น Professional based หรือการดูแลสุขภาพเน้นการรักษา แต่นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักชรัณสุขศาสตร์ ส่วนสำคัญให้เกิด Community based
  • คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ม.รังสิต เน้นผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค เป็น Health coach หรือ life coach ดูแลสุขภาพครบทุกมิติ
  • ผู้สูงอายุมักถูกวางในมุมผู้อ่อนแอ ต้องได้รับการดูแล การสังเคราะห์ ทั้งที่ผู้สูงอายุมีพลัง ดูแลตัวเองได้ และหากได้รับการดูแลจะกลับมาเป็นทรัพยากรในการพัฒนาประเทศได้

ปัจจุบันการลงทุนธุรกิจบริการสุขภาพและการแพทย์ที่ครอบคลุม ครบวงจรตลาดผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นบริการบ้านพักคนชรา หลากหลายรูปแบบทั้งรายเดือน หรือให้บริการผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่บ้านเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งสถานบริการด้านฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเฉพาะทาง จัดเป็นกลุ่มธุรกิจที่มาพร้อมกับสังคมสูงวัยที่กำลังเติบโต 

อาทิ ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่ให้บริการด้านกายภาพบำบัด และฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ แตก หลังการรักษาในโรงพยาบาล จะให้บริการสถานที่พักฟื้นผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหลอดเลือดสมอง มีพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลคอยให้การดูแล การพักฟื้นหลังรักษาช่วง Golden Period for Stroke คือ ระยะเวลา 3-6 เดือนแรกหลังเกิดโรคซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หากได้รับการรักษาในช่วงเวลานี้ จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติและช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด

นักกายภาพบำบัด” จึงเป็นอาชีพที่จำเป็นอย่างมากในสังคมสูงวัย ซึ่งประเทศไทยมีนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ ประมาณ 16,000 คน มีสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอน 17 แห่งทั่วประเทศ ผลิตได้ปีละ 1,000 คน สัดส่วนนักกายภาพบำบัด 1 คน ต่อประชาชนจะอยู่ประมาณ 30,000-50,000 คน แล้วแต่พื้นที่ ขณะที่ เกณฑ์มาตรฐานทั่วไปอยู่ที่ 1 ต่อ 10,000 คน

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'ดีมาก-หลากหลาย-24 ชั่วโมง' สู่เป้าหมายชีวิต 'คุณภาพ'

"Future Design" หลักสูตรใหม่ ม.รังสิต ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ชีวิตออกแบบได้

Health coach บริการสุขภาพ

ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การดูแลรักษา ฟื้นฟูอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องส่งเสริมมิติการป้องกันโรค การดูแลสุขภาพก่อนเกิดโรคแบบ Social care คนในสังคมสามารถช่วยเหลือดูแลกันได้ แบบ Neighborhood care จึงจำเป็นต้องมีนักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักชรัณสุขศาสตร์ รองรับความต้องการกำลังคน และสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งการทำกายภาพบำบัด เป็นศาสตร์ในการฟื้นฟูสุขภาพที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยดูแลสุขภาพ เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย รวมถึงช่วยป้องกันโรคเทรนด์ใหม่ของการแพทย์

ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์ คณบดีคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ระบบสุขภาพปัจจุบันเป็น Professional based หรือการดูแลสุขภาพที่เน้นการรักษาแต่นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักชรัณสุขศาสตร์ จะมีส่วนสำคัญให้เกิด Community based (การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน) เพราะการพัฒนาด้านสุขภาพไม่ได้จำกัดเฉพาะในโรงพยาบาล แต่จะขยายขอบเขตที่ทำให้นักกายภาพบำบัดเป็นส่วนหนึ่งทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถดูแลตัวเองได้

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

ทั้ง 3 สาขาของคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา อย่าง สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายเเละสมรรถภาพทางการกีฬา และสาขาวิชาชรัณสุขศาสตร์ เน้นผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็น Health coach หรือ life coach ดูแลสุขภาพของผู้คนอย่างครบทุกมิติ ซึ่งนักกายภาพบำบัดในยุคนี้ต้องปรับตัว มีทักษะ Soft Skills ให้มากขึ้น มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

เติมทักษะผู้ประกอบการเพื่อสังคม

นอกจากทักษะ Soft Skills ทักษะความเป็นผู้นำแล้ว ต้องมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สิ่งที่นักศึกษาของคณะเรียนจะต้องเข้าใกล้ปัญหาของสังคม และดูว่าตัวเองสามารถเขาไปช่วยเหลือสังคมได้อย่างไรบ้าง นี่เป็นจุดเด่นของ เด็กม.รังสิต ต้องมีมุมมองประเด็นทางสังคม เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมได้

3 สาขาแตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การทำงานด้านบริการที่ทำกับมนุษย์ นักศึกษาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสมรรถภาพทางการกีฬา จะมีคาแรกเตอร์ คุณลักษณะ มีองค์ความรู้ตามทักษะ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่สภาวิชาชีพกำหนดแล้ว ต้องมีมุมมองทางสังคม และไม่นิ่งดูดายกับความเจ็บป่วยด้านสุขภาพของผู้คน หรือความถูกเอารัดเอาเปรียบในสังคม นักศึกษาต้องเป็นผู้ช่วยให้เกิดสังคมธรรมาธิปไตยได้

ขณะที่เด็กเมื่อจบออกไป ต้องสามารถสร้างอาชีพ และสร้างงานของตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งระบบหรืองานที่อยู่ในภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขาจะได้รับการพัฒนาให้มีความคิดเชิงธุรกิจและสังคมควบคู่กันไป ทำธุรกิจเป็นพื้นฐานเป็นที่พึ่งของสังคม

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

ดูแลผู้สูงวัยครอบคลุมทุกมิติ

การบริการเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมากในระบบสุขภาพ และเป็นจุดแข็งของการแพทย์ไทย นักวิทยาศาสตร์การกีฬา และนักชรัณสุข จบออกไปจะทำงานด้านการบริการ เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงจำเป็นต้องดูแลผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

“ผู้สูงอายุมักถูกวางในมุมผู้อ่อนแอ ต้องได้รับการดูแล การสังเคราะห์ ทั้งที่ผู้สูงอายุมีพลัง สามารถดูแลตัวเองได้ และหากได้รับการดูแลจะสามารถกลับมาเป็นทรัพยากรในการพัฒนาประเทศได้ อย่าง นักศึกษาสาขาชรัณสุขศาสตร์ จะดูแลครอบคลุมทุกมิติ ไม่ได้เป็นเพียง Caregiver ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ดูแลทั้งการเงิน สุขภาพ อาหารการกิน การแต่งกาย การแต่งหน้า กฎหมาย การทำบัญชี และธุรกิจบริการต่างๆ ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ”

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

ภาครัฐ ต้องหนุน Social care

ม.รังสิต ได้ออกแบบ Mile stone ของการพัฒนานักศึกษาตลอด 4 ปี สอดคล้องไปกับการเรียนของเด็กๆ ด้วย เช่น

  • ปีที่ 1 พัฒนาให้นักศึกษาได้รู้จักตนเอง รู้จักคนอื่น เพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และเห็นเป้าหมายชีวิตของตนเองได้
  • ปีที่ 2 ความสามารถการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี เป็นการสื่อสารด้วยหัวใจ มีทักษะการฟังที่ดี และเข้าใจไปถึงระดับความต้องการที่จะสื่อสารกลับไปกับผู้อื่น ไม่ใช่การสื่อสารแบบ Toxic
  • ปีที่ 3 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การเป็นผู้นำในการทำงาน พัฒนานักศึกษาให้ร่วมทำงานจิตอาสามากยิ่งขึ้น และพานักศึกษาไป approach กับประเด็นต่างๆ ในสังคม โจทย์ในการเรียนรู้
  • ปีที่ 4 ก่อนที่นักศึกษาจะจบการศึกษา พวกเขาจะได้ไปโลดแล่นในชีวิตจริง อยู่ในโลกของการทำงาน การฝึกงาน การทำงานร่วมกับชุมชน เรียนรู้ชีวิตผ่านโมเดลการเผชิญความตาย

การเรียนคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ต้องมีทักษะ Creative thinking& Design thinking และมีการใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นในการศึกษาชุมชน 1. แผนที่เดินดิน 2. ผังเครือญาติ 3. โครงสร้างองค์กรชุมชน 4. ระบบสุขภาพชุมชน 5. ปฏิทินชุมชน 6. ประวัติศาสตร์ชุมชน 7. ประวัติชีวิต เพื่อให้เห็นประสบการณ์ของผู้คน และจะเป็นโจทย์ที่นักศึกษาต้องเข้าใจ ร่วมแก้ปัญหา เพราะหากนักศึกษาคนไหนสนใจเรียนคณะกายภาพบำบัดฯ ต้องมีบุคลิกหรือความชอบงานบริการ ชอบทำงานกับคน และเข้าใจบริบทชุมชน

“การส่งเสริมการสร้างสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นการป้องกันโรค ต้องหาวิธีการไม่ให้คนเราเป็นโรค ขณะที่หน่วยงานภาครัฐต้องมาสนับสนุนเรื่องของ Social care ในภาคประชาสังคมมากขึ้น อย่าง หน่วยงานของภาครัฐ มีพื้นที่จำนวนมาก ภาครัฐควรเปิดพื้นที่ สถานที่ที่มีขนาดใหญ่ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ หรือพื้นที่ให้คนได้เข้าไปออกกำลังกาย ทำอย่างไรให้คนออกกำลังกายอย่างถูกวิธี มีฟิตเนสสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และมีพื้นที่เช็กอัปร่างกายร่วมด้วย”

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

กายภาพบำบัด ฟื้นฟู เสริมความแข็งแรงร่างกาย

ข้อมูล สภากายภาพบำบัด เมื่อปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีนักกายภาพบำบัด ที่มีใบประกอบวิชาชีพอยู่ประมาณ 12,000 คน ในจำนวนนี้ราว 3,200 คน ทำงานอยู่ในภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อีกราว 2,000 คน ทำงานในภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือคลินิกต่างๆ เป็นอาจารย์และอยู่ในหน่วยงานอื่นๆ อีกราว 900 คน ภาพรวมของประเทศนั้น สามารถผลิตนักกายภาพบำบัดได้มากกว่า 800-900 คนต่อปี

Chersery Home International Hospital อธิบายว่า กายภาพบำบัด หรือ Physical Therapy ศาสตร์การรักษาที่มุ่งเน้นฟื้นฟูร่างกายและเสริมสร้างความแข็งแรง โดยใช้เทคนิคต่างๆ จากนักกายภาพบำบัด เช่น การออกกำลังกาย การยืดกล้ามเนื้อ การนวด ประคบร้อน ประคบเย็น ธาราบำบัด และการกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บรรเทาอาการปวด และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

ประโยชน์ของการทำกายภาพบำบัด ได้แก่ รักษาอาการปวดโดยไม่ต้องใช้ยา, ปรับสมดุลของร่างกาย, รักษาได้ตรงจุด, ป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ คนไข้ที่ควรทำกายภาพบำบัด คือ ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ, มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดหลัง
ปวดคอ ปวดข้อ, ผ่าตัดหรือได้รับการผ่าตัด และเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

สถานบริการกายภาพบำบัด

สภากายภาพบำบัด รายงานว่า ปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานบริการกายภาพบำบัดทั้งหมด 38 แห่ง

รพ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี รพ.ค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่ รพ.ค่ายจิรประวัติ จ.นครสวรรค์ รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี รพ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี รพ.ชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ รพ.ตากสิน กรุงเทพมหานคร รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส รพ.บำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพมหานคร

รพ.พระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี รพ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี รพ.พิมาย จ.นครราชสีมารพ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก รพ.มหาราชนครราชสีมา จ.นครราชสีมา รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช รพ.เฉพาะประเภทผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮมขนาดเล็ก กรุงเทพมหานครรพ.ราชวิถี กรุงเทพมหานครรพ.ลำปาง จ.ลำปาง รพ.ลำพูน จ.ลำพูน

รพ.วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานครศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพฯ แผนกกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายกศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม ศูนย์กายภาพบำบัด (เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า) คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานครรพ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา รพ.สระบุรี จ.สระบุรี

รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลยรพ.สมุทรปราการ จ.สมุทรปราการรพ.สุโขทัย จ.สุโขทัยรพ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส รพ.สกลนคร จ.สกลนครรพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานีรพ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรีหน่วยกายภาพบำบัดและธาราบำบัด ศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จ.ปทุมธานีรพ.หนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภูรพ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รพ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ 

‘นักกายภาพบำบัด’ อาชีพที่โลกสูงวัยต้องการ