เช็ก 10 สัญญาณเตือน 'ไทรอยด์ผิดปกติ' ทำไมอ้วน ทำไมผอม

เช็ก 10 สัญญาณเตือน 'ไทรอยด์ผิดปกติ' ทำไมอ้วน ทำไมผอม

ต่อมไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่ออวัยวะทุกอย่างในร่างกาย หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ไทรอยด์อ้วน” และ “ไทรอยด์ผอม”

KEY

POINTS

  • ต่อมไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่ออวัยวะทุกอย่างในร่างกาย ทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้อย่างสมดุล
  • หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะผลิตฮอร์โมนมากเกินไป หรือ ต่ำเกินไป จะส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ เส้นผม
  • หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ไทรอยด์อ้วน ไทรอยด์ผอม โดยกลุ่มเสี่ยงนั้น คนไข้อาจเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้นหากคนในครอบครัวมีประวัติไทรอยด์ผิดปกติมาก่อน และผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย

ต่อมไทรอยด์ ต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่ออวัยวะทุกอย่างในร่างกาย ทำให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้อย่างสมดุล ควบคุมการเผาผลาญ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะผลิตฮอร์โมนมากเกินไป หรือ ต่ำเกินไป จะส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง ความแข็งแรงของผิวหนัง เล็บ เส้นผมได้ ซึ่งอาการของโรคไทรอยด์ในแต่ละคนมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบโดยขึ้นอยู่กับชนิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ไทรอยด์อ้วน” และ “ไทรอยด์ผอม”

 

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ข้อมูลจาก ผศ. นพ.สิระ กอไพศาล สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ไทรอยด์เป็นพิษ คนไข้จะมีค่าไทรอยด์สูง ร่างกายกระปรี้กระเปร่า กระตือรือร้น ขี้ร้อน เหงื่อแตกง่าย น้ำหนักลง ใจสั่น ใจเต้นเร็ว

2 ไทรอยด์ต่ำ หรือ ไทรอยด์ไม่ทำงาน คนไข้จะมีค่าไทรอยด์ต่ำ ขี้หนาว น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ไม่มีแรง

หากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของต่อมไทรอยด์ผิดปกติได้ คนไข้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจค่าไทรอยด์

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะเกิดอะไรขึ้น

หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เช่น ทำงานมากเกินไป อวัยวะต่าง ๆ จะทำงานมากผิดปกติ หากไทรอยด์ไปกระตุ้นหัวใจ ส่งผลให้ใจสั่น ใจเต้นเร็ว หรือหัวใจวายได้ หากไปกระตุ้นตับอาจทำให้ตับอักเสบ และถ้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อสลายได้

 

แต่หากมีไทรอยด์ต่ำ อวัยวะต่าง ๆ จะทำงานช้าลง ใจเต้นช้า ระบบการเผาผลาญน้อยลง ขี้หนาว น้ำหนักขึ้น จะเห็นได้ว่าไทรอยด์เป็นตัวสร้างสมดุลของการทำงานของอวัยวะทั้งหมด ร่างกายเราจึงควรมีค่าไทรอยด์ในเกณฑ์ปกติเพื่อให้อวัยวะทุกอย่างทำงานได้ตามปกติ

 

โรคต่อมไทรอยด์ผิดปกติ มีหลายอาการที่ดูคล้ายกับโรคอื่น ๆ และยังเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้บางครั้งในชีวิตประจำวันทั่วไป หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อที่แชร์ต่อ ๆ กันมาถึงสัญญาณเตือนของโรคนี้ แต่อาการแบบไหนบ้างที่บ่งบอกว่าอาจมีความเสี่ยงของต่อมไทรอยด์ผิดปกติเข้าจริง ๆ

 

การรักษาไทรอยด์ผิดปกติ

สำหรับคนไข้ไทรอยด์เป็นพิษ ใช้การรักษาด้วยการกินยาเพื่อให้ฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนคนไข้ไทรอยด์ต่ำ หมอจะให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อปรับค่าไทรอยด์ให้ปกติ

 

กลุ่มเสี่ยงไทรอยด์ผิดปกติ

คนไข้อาจเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้นหากคนในครอบครัวมีประวัติไทรอยด์ผิดปกติมาก่อน ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย

 

การรักษาไทรอยด์

  • คนไข้ไทรอยด์เป็นพิษ ใช้การรักษาด้วยการกินยาเพื่อให้ฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • คนไข้ไทรอยด์ต่ำ หมอจะให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อปรับค่าไทรอยด์ให้ปกติ

ไม่ว่าจะเป็นไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ต่ำ คนไข้ต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ และติดตามอาการจากหมออย่างต่อเนื่อง ส่วนมากหมอมักนัดตรวจทุก 2-3 เดือน เพื่อเช็กว่าค่าไทรอยด์อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ในคนไข้ไทรอยด์เป็นพิษ ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะหากมีอาการตาโปนอยู่แล้วจะทำให้อาการทางตาแย่ลงได้

 

ไทรอยด์ผิดปกติเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากคนไข้พบว่ามีอาการผิดปกติและสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจค่าไทรอยด์ และทำการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป

 

10 สัญญาณเตือน ไทยรอยด์

1) อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น

ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น หรืออ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉงในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ

2) ผมร่วง

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำสามารถเกิดผมร่วงได้

3) นอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับมาคุกคามบ่อย ๆ ทั้งที่ปกติเป็นคนที่นอนหลับง่ายและหลับได้สนิทโดยตลอด เนื่องจากหากไทรอยด์ผิดปกติอาจหลั่งฮอร์โมนมามากเกินไปจนกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและรบกวนการพักผ่อนได้

4) รู้สึกง่วงตลอดเวลา

เกิดได้ในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะเกิดอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่นร่วมด้วย

5) อ้วนขึ้นหรือผอมลงอย่างผิดปกติ

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติในลักษณะหลั่งฮอร์โมนออกมามากจะกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ขยันเกินไปในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญที่ต่ำลง

6) หิวบ่อยหรือไม่หิวกินไม่ค่อยลง

หากต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกหิวบ่อยขึ้น ทานมากขึ้น แต่น้ำหนักตัวลดลง หากไทรอยด์ทำงานน้อยลงอาจกินไม่ค่อยลง บวม อ้วนง่าย

7) ขับถ่ายไม่เป็นปกติ

เข้าห้องน้ำน้อยกว่าปกติหรือท้องผูกบ่อย ๆ แม้จะกินพวกผัก ผลไม้ เกิดจากร่างกายมีภาวะขาดไทรอยด์ได้ ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีการทำงานของลำไส้มากขึ้น ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ ส่วนในไทรอยด์ต่ำอาจพบอาการท้องผูก

8) รู้สึกหนาวตลอดเวลาหรือขี้ร้อนมากขึ้น

ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณเพียงพอ ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายก็จะลดน้อยลง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ ส่วนภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีอาการขี้หนาวมากขึ้น

9) ผิวแห้ง

ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงส่งผลต่อผิวแห้งมากขึ้นหรือเหงื่อลดน้อยลง

10) ใจสั่น

ภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจะเร่งกระบวนการการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมดจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว

 

อ้างอิง : RAMA Channel , รพ.กรุงเทพ