รู้จัก "โรคเฮอร์แปงไจน่า" โรคระบาดในเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!!

รู้จัก "โรคเฮอร์แปงไจน่า" โรคระบาดในเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!!

โรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กน้อย ที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวัง นอกจาก "โรคมือ เท้า ปาก" ที่กำลังแพร่ระบาดแล้ว ยังมี "โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)" ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในเด็กอายุน้อยกว่า 3-10 ปี

KEY

POINTS

  • โรคเฮอร์แปงไจน่า เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็น กลุ่มของเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือจะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น
  • โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เองเนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มียารักษาเฉพาะ   การรักษาจะเป็นไปตามอาการ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล หรือ ให้ไอบูโปรเฟน ในกรณีเด็กมีไข้สูง 5 องศาขึ้นไป เด็กจิบ ดื่มน้ำเย็นบ่อยๆ หรือดื่มนมเย็นที่มีรสไม่หวานมาก เป็นต้น
  • เมื่อเด็กเป็นโรคดังกล่าว ควรแยกผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่ไม่สบาย หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ชุมชนแออัด รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยน้ำและสบู่

โรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กน้อย ที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวัง นอกจาก "โรคมือ เท้า ปาก" ที่กำลังแพร่ระบาดแล้ว ยังมี "โรคเฮอร์แปงไจน่า (Herpangina)" ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในเด็กอายุน้อยกว่า 3-10 ปี โรคนี้จะติดต่อกันได้ในสถานที่ที่มีเด็กๆ อยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก 

โดยโรคนี้สังเกตได้จากการเกิดแผลขนาดเล็กในลำคอ มีไข้ อ่อนเพลีย ทำให้เด็กๆ เบื่ออาหาร ไม่ยอมกินข้าว อาจมีการอาเจียนด้วย เด็กเล็กจะซึม งอแง สำหรับเด็กโตมักพบอาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดคอ  แต่โรคนี้ไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน โดยพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และฤดูร้อน

Herpangina เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส Enterovirus โดยเกิดในระบบทางเดินอาหารเป็นสำคัญ ไวรัสในกลุ่มนี้มีหลายขนิด หลายสายพันธุ์ การป่วยเป็นโรคนี้แล้วครั้งหนึ่งก็จะทำให้มีภูมิคุ้มกันและไม่เป็นโรคจากไวรัสสายพันธุ์เดิมนี้ได้อีก แต่ก็มีโอกาสเป็นซ้ำจากการติดไวรัสสายพันธุ์อื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เช็ก 'โรคหน้าฝน' ที่พ่อแม่ต้องระวัง ป้องกันลูกน้อยก่อนป่วย

ความเครียด เกิดจากลำไส้ ส่งผลต่อโรคกระเพาะอาหารจริงหรือ?

โรคเฮอร์แปงไจน่าติดต่อได้

"เฮอร์แปงไจน่า" เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็น กลุ่มของเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus) แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือจะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองฝอยจากการจาม ลักษณะอาการจะมีไข้สูงประมาณ 38.5-40 องศาเซลเซียส และมีแผลในช่องปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในโพรงคอหอยด้านหลัง ต่อมน้ำเหลืองคอบวม มีน้ำลายยืดและอาเจียนในเด็กทารก รวมถึงปวดท้อง และเบื่ออาหาร

การติดต่อเกิดขึ้นได้จากการสัมผัส หรือรับประทานสิ่งที่ปนเปื้อนกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ที่ติดเชื้อ ผู้ที่ติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจน่ามักพบได้ในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 10 ปี ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้เพียงพอ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียน หรือสถานเลี้ยงเด็ก เพราะเด็กมักเล่นของเล่นร่วมกัน หยิบจับสิ่งของร่วมกัน ดังนั้น โรคนี้จึงมักระบาดได้ง่าย เพราะมีโอกาสติดต่อได้ง่าย โดยเชื้อนี้จะอยู่ได้นานในอากาศที่เย็นและชื้น จึงมักระบาดมากในฤดูฝนโดยเฉพาะเดือน พ.ค.-ส.ค. แต่ก็สามารถพบได้ตลอดทั้งปี

รู้จัก \"โรคเฮอร์แปงไจน่า\" โรคระบาดในเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!!

อาการของโรคที่พ่อแม่ต้องรู้

อาการของโรคแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน  ที่พบได้คือ

  • มีไข้แบบเฉียบพลัน ได้รับยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น และอาจมีไข้สูง 40 องศา
  • เด็กบางคนอาจมีอาการชักจากไข้สูง กลืนลำบาก ทำให้ปฏิเสธอาหาร เบื่ออาหาร น้ำลายไหล อาเจียน
  • อาจพบมีภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย
  • พบแผลในปาก เป็นแผลเล็กๆ หลายแผลบริเวณเพดานอ่อน ต่อมทอนซิล ผนังคอด้านหลัง ลักษณะของแผลที่พบจะเกิดใน 2 วันหลังการติดเชื้อ โดยแผลมีขนาด 2-4 มิลลิเมตร สีขาวหรือเทาอ่อนมีขอบแดง ซึ่งส่วนใหญ่แผลหายภายใน 7 วัน

แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะรอยแผลในปาก โดยเฮอแปงไจน่าจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากแผลจากโรคอื่นๆ ทั้งนี้แพทย์จะซักประวัติอาการป่วย เพิ่มเติมอย่างละเอียด

โรคเฮอร์แปงไจน่าอันตรายหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้วโรคเฮอร์แปงไจน่ามักจะมีอาการไม่รุนแรง ยกเว้นไข้สูง แต่ก็ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้จากโรคนี้ เช่น การอักเสบของก้านสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อย

โรคมือ เท้า ปาก VS เฮอร์แปงไจน่า แตกต่างกันอย่างไร ?

 “โรคมือ เท้า ปาก” และ “เฮอร์แปงไจน่า” จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่อาการแสดงแตกต่างกัน คือ โรค มือ เท้า ปาก จะมีไข้ มีผื่น ตุ่มน้ำใส หรือมีเม็ดแดงๆ ในปาก บนฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายอาจมีอาการ อาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง ร่างกายขาดน้ำ ปอดบวมน้ำ หอบเหนื่อย ซึม ชัก เกร็ง และอาจช็อกจนเสียชีวิตได้

ส่วน “โรคเฮอร์แปงไจน่า” จะไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า จะสังเกตอาการของโรคนี้ได้ค่อนข้างลำบากในช่วงแรก ต่อเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นจึงจะสามารถสังเกตอาการได้ บางรายอาจพบเพียงผื่น และแผลตื้น ๆ กระจายอยู่ในช่องปากเท่านั้น

รู้จัก \"โรคเฮอร์แปงไจน่า\" โรคระบาดในเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!!

แนวทางการรักษาโรค

โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เองเนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มียารักษาเฉพาะ  แต่โรคนี้มีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 7-10 วัน ด้วยการรักษาตามอาการ ดังนี้

  • ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล หรือ ให้ไอบูโปรเฟน ในกรณีเด็กมีไข้สูง 5 องศาขึ้นไป โดยต้องมีการเช็ดตัวร่วมด้วยเสมอจนกว่าไข้จะลดลง
  • ให้เด็ก จิบ ดื่มน้ำเย็นบ่อยๆ หรือดื่มนมเย็นที่มีรสไม่หวานมาก
  • กินน้ำแข็ง หรือไอศครีมที่มีรสชาติไม่เปรี้ยวและไม่หวานมาก
  • ให้อาหารจืด อ่อน ย่อยง่าย (ไม่ควรให้น้ำผลไม้หรืออาหารรสเปรี้ยวมาก)
  • ในกรณีที่เด็กไม่ยอมรับประทานอาหาร แพทย์อาจใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาชา
  • หากรับประทานอาหารได้น้อย และมีอาการขาดน้ำเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย และมีสีเหลืองเข้ม ควรรีบไปพบแพทย์

เมื่อติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจน่าต้องดูแล

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเด็กคนไหนมีอาการเจ็บในปากมาก ไม่ยอมรับประทาน หรือไม่ยอมกลืนอาหาร ควรหาของอ่อนๆ ให้เด็กรับประทาน หรือในบางครั้งให้รับประทานอาหารประเภทน้ำหรือนมเย็นๆ หรือไอศกรีมก็ได้ และรักษาตามอากา

โดยเป็นการให้ยาลดไข้ หรือยาชาทาแผลในปาก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง เพียงแต่ต้องเฝ้าระวังเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังที่ได้กล่าวไป ถ้าหากเด็กรับประทานอาหารไม่ได้ หายใจหอบ มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชัก ควรรีบมาพบแพทย์

รู้จัก \"โรคเฮอร์แปงไจน่า\" โรคระบาดในเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!!

วิธีการป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า

การป้องกันโรคทำได้ ดังนี้

  • แยกผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่ไม่สบาย
  • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ชุมชนแออัด
  • รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยน้ำและสบู่
  • หากลูกหลานไม่สบายควรให้หยุดเรียนเพื่อจะได้ลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

ส่วนผู้ที่ดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ ต้องล้างมือก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอ้อม ชุดชั้นในเด็ก หรือหลังการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระของเด็ก หมั่นทำความสะอาด พื้น โต๊ะ เก้าอี้ ของเล่น และวัสดุอื่นที่เด็กชอบหยิบจับ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ และหากเด็กป่วยเป็นโรคเฮอแปงไจน่า ต้องหยุดเรียน 1 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ