สุขภาพ
คนเป็นเบาหวาน กินนมยังไง ให้ไม่เสี่ยงกระดูกพรุน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะวิธีเลือกดื่มนม สำหรับคนเป็นเบาหวาน ป้องกันเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย และหลักการกินอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะวิธีเลือกดื่มนม สำหรับคนเป็นเบาหวาน ป้องกันเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย
โดย ผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้ง่าย การดื่มนมจึงสำคัญ แต่ต้องเลือกดื่มนมที่มีปริมาณคารโบโฮเดรตต่ำ ใน 1 วัน
- ผู้ป่วยเบาหวาน ดื่มนมได้วันละ 1 กล่อง เท่ากับ 240 ซีซี หรือ 1 ถ้วยตวง
คนเป็นเบาหวาน กินนมยังไง ให้ไม่เสี่ยงกระดูกพรุน
- นมไขมันเต็มส่วน ปริมาณ 1 ส่วน ให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี่ เช่น นมสดจืด โยเกิร์ต (ไม่ปรุงแต่งรส) 1 กล่อง
- นมพร่องมันเนย ปริมาณ 1 ส่วน ให้พลังงาน 120 กิโลแคลอรี่ เช่น นมสดจืดพร่องไขมัน โยเกิร์ตพร่องไขมัน (ไม่ปรุงแต่งรส) 1 กล่อง
- นมขาดมันเนย ปริมาณ 1 ส่วน ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี่ เช่น นมผงขาดมันเนย 4 ช้อนโต๊ะ
- นมถั่วเหลือง ปริมาณ 1 ส่วน ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ เลือกดื่มแบบ ไม่เติมน้ำตาล
หลีกเลี่ยง นมปรุงแต่งรสหวาน นมเปรี้ยว นมข้นหวาน เพราะนมเหล่านี้มีไขมันอิ่มตัวสูงและมีไขมันทรานส์สูง และมีการเติมน้ำตาลในปริมาณสูง ควรอ่านปริมาณน้ำตาลในฉลากข้างบรรจุภัณฑ์ก่อนดื่นดื่ม
หลักการกินอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน
- กินอาหารวันละ 3 มื้อ
- กินให้ตรงเวลา
- อย่ากินจุบกินจิบ
- ในแต่ละมื้อให้กินอาหารครบ 6 หมวด คือ แป้งหรือข้าว เนื้อสัตว์ ไขมัน ผัก ผลไม้ และนมจืด
- หลีกเลี่ยงขนม ของหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ รวมถึงผลไม้รสหวานจัด
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
อ้างอิง : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)