สาวๆ เช็กด่วน! พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกัน "โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ"

สาวๆ เช็กด่วน! พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกัน "โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ"

อีกหนึ่งปัญหากวนใจสาวๆ คือ “ต่อมบาร์โธลินอักเสบ” ซึ่งต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst)  เป็นส่วนประกอบหนึ่งของอวัยวะเพศหญิง ต่อมบาร์โธลินจะอยู่บริเวณปากช่องคลอด มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นขณะปฏิบัติกิจกรรมรัก

KEY

POINTS

  • ต่อมบาร์โธลินเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่บริเวณด้านข้างของช่องคลอด ทำหน้าที่ผลิตของเหลวที่ช่วยหล่อลื่นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ หากต่อมบาร์โธลินเกิดการอุดตันหรือติดเชื้อ จะทำให้เกิดถุงน้ำหรือฝี (บาร์โธลินซีสต์) อาจทำให้เกิดการอักเสบและปวดอย่างรุนแรง
  • เมื่อมีก้อนหรือถุงน้ำเกิดที่บริเวณปากช่องคลอด ย่อมไม่ใช่สิ่งปกติ อยากให้ไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องว่าไม่เป็นโรคที่ร้ายแรง 
  • การดูแลรักษาความสะอาดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดต่อมบาร์โธลินอักเสบ และป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา

อีกหนึ่งปัญหากวนใจสาวๆ คือ “ต่อมบาร์โธลินอักเสบ” ซึ่งต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Cyst)  เป็นส่วนประกอบหนึ่งของอวัยวะเพศหญิง ต่อมบาร์โธลินจะอยู่บริเวณปากช่องคลอด มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นขณะปฏิบัติกิจกรรมรัก เมื่อเกิดความผิดปกติจนทำให้ ต่อมบาร์โธลินอักเสบ เกิดบวมโตและมีลักษณะคล้ายถุงน้ำ บ้างเรียกว่า ฝีที่ปากช่องคลอด การอักเสบบริเวณนี้ทำให้เกิดความเจ็บปวด ระคายเคือง เป็นอย่างมาก

โดย สาเหตุที่ทำให้ ต่อมบาร์โธลินอักเสบ นั้น ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจาก

  • ความสกปรกจากคราบเหงื่อ ตกขาว เมือกใส ฯลฯ ไปอุดตันบริเวณรูเปิดของ ต่อมบาร์โธลิน
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย หลังการอุดตันบริเวณรูเปิดของ ต่อมบาร์โธลิน เช่น สแตฟิโลคอคคัส หรือแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ (Gonorrhea) หรือหนองในเทียม (Chlamydia)
  • สวมใส่เสื้อผ้า ชุดชั้นในที่รัดแน่น กดปิดรูเปิดของ ต่อมบาร์โธลิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

รู้ให้ลึก "ปวดหัวตำแหน่งไหน" บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?

จริงหรือไม่! ทาน "ยาบำรุงเลือด" แล้วทำให้อ้วน

อาการ "ต่อมบาร์โธลินอักเสบ"

พญ.เบญจวรรณ ลิมป์วนัสพงศ์ แพทย์ชำนาญพิเศษ สูติศาสตร์นรีเวชวิทยาการผ่าตัดและวินิจฉัยผ่านกล้องทางนรีเวช อธิบายว่าต่อมบาร์โธลินอักเสบอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในคุณผู้หญิง แน่นอนว่าหากเป็นโรคนี้เมื่อไหร่ มักจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังนั้นเรามาเช็กพฤติกรรมเสี่ยงและเรียนรู้วิธีป้องกันให้ห่างไกลจากโรคต่อมบาร์โธลินอักเสบกัน

ต่อมบาร์โธลินเป็นต่อมขนาดเล็กที่อยู่บริเวณด้านข้างของช่องคลอด ทำหน้าที่ผลิตของเหลวที่ช่วยหล่อลื่นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ หากต่อมบาร์โธลินเกิดการอุดตันหรือติดเชื้อ จะทำให้เกิดถุงน้ำหรือฝี (บาร์โธลินซีสต์) ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและปวดอย่างรุนแรง

อาการต่อมบาร์โธลินอักเสบ

  • ปวดบริเวณช่องคลอดหรือขาหนีบ
  • มีก้อนหรือถุงน้ำใกล้ช่องคลอด
  • บริเวณที่เป็นอาจบวม แดง และร้อน
  • อาจมีไข้และอาการเจ็บปวดเมื่อเดินหรือนั่ง

สาวๆ เช็กด่วน! พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกัน \"โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ\"

โรคที่เกิดที่ต่อมบาร์โธลิน

1. ภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s gland cyst): เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากท่อของต่อมบาร์โธลิน อุดตัน ทำให้เมือกที่สร้างออกมาจากต่อมสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นก้อนถุงน้ำ ที่พบอยู่บริเวณปากช่องคลอด และมักพบเกิดทีละข้าง

2. ภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง (Bartholin’s gland abscess): เป็นภาวะที่พบได้บ่อยเช่นกันในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการติดเชื้อของถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และบวม ที่ปากช่องคลอด มักพบเป็นทีละข้าง

3. โรคเนื้องอกต่อมบาร์โธลิน (Bartholin gland tumor): เป็นเนื้องอกที่เกิดที่ต่อมนี้ พบไม่บ่อย มักพบในสตรีวัยหมดประจำเดือน ลักษณะจะเป็นก้อนค่อนข้างแข็ง ผิวไม่เรียบ การรักษาโรคเนื้องอกต่อมบาร์โธลิน จำเป็นต้องตัดต่อมบาร์โธลินออกทั้งหมด ทั้งนี้ อาจพบโรคมะเร็งของต่อมบาร์โธลินได้ แต่พบได้น้อยมากๆ โดยมะเร็งของต่อมบาร์โธลิน จะจัดรวมอยู่ใน โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง)

เมื่อมีอาการควรไปพบแพทย์เมื่อใด?

เมื่อมีก้อนหรือถุงน้ำเกิดที่บริเวณปากช่องคลอด ย่อมไม่ใช่สิ่งปกติแน่ จริงๆอยากให้ไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องว่าไม่เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่หากมั่นใจว่าเป็นถุงน้ำบาร์โธลินจากตามตำแหน่งที่เกิด และลักษณะเป็นก้อนถุงน้ำและมีขนาดเล็ก ไม่มีอาการเจ็บปวด สามารถลองนั่งแช่น้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-20 นาที 2-3 วัน หากก้อนยุบไป ก็ไม่มีปัญหา แต่หากก้อนไม่ยุบ แนะนำไปพบแพทย์/สูตินรีแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

สาวๆ เช็กด่วน! พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกัน \"โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ\"

การวินิจฉัยโรค ต่อมบาร์โธลิน

การวินิจฉัยต่อมบาร์โธลินอักเสบมักเริ่มจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจบริเวณอวัยวะเพศภายนอกเพื่อหาการบวม แดง หรือมีฝีที่เกิดขึ้น หากแพทย์สงสัยว่ามีการติดเชื้อ อาจทำการเจาะหนองจากฝีเพื่อนำไปตรวจเพาะเชื้อ ซึ่งช่วยระบุชนิดของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อและช่วยในการเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ในบางกรณี

โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) เพื่อแยกโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง โดยเฉพาะหากพบว่ามีการเกิดก้อนที่มีลักษณะผิดปกติ ทั้งนี้ ภาวะเรื้อรังนี้ยังสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น พังผืดและอาการปวดเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

พ.ญ.วิทัศศนา เขตต์กลาง แพทย์เฉพาะทางด้านสูติ-นรีเวช และศัลยกรรมตกแต่งทางนรีเวชขั้นสูง USA โรงพยาบาลแพทย์รังสิต กล่าวว่า หากพบว่าเกิดความผิดปกติบริเวณนี้ จนแน่ใจแล้วว่า เป็นต่อมบาร์โธลินอักเสบ หรือ ฝีที่ปากช่องคลอด แบบนี้ไม่ต้องกังวล สามารถรักษาให้หายได้เช่นเดียวกัน ด้วยวิธีที่ทำได้ด้วยตัวเอง การรักษาต่อบาร์โธลินอักเสบ เบื้องต้น สามารถนั่งแช่น้ำอุ่น วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการบวมโตให้ยุบลงได้

แต่หากมีอาการหนักขึ้นและพบว่าความบวมนั้นไม่ลดลงเลย ก็ควรเข้าพบ สูติ – นรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับคำแนะนำและการรักษาเพื่อไม่ให้เกิดการรุกรามและเป็นโรครุนแรงขึ้นนั่นเอง

เมื่อพบว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะ ต่อมบาร์โธลินอักเสบ นั้น ไม่ควรบีบหรือกรีดหนองด้วยตัวเองเพราะอันตรายมากๆ ทำให้ติดเชื้อและลุกลามได้ โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องเข้าการทำ ศัลยกรรมตกแต่งช่องคลอด นั้น ควรแจ้งสูตินรีแพทย์ถึงอาการที่เคยเกิดขึ้น หรือกำลังเกิดขึ้น เพื่อให้แพทย์ตรวจสอบว่า น้องสาวของคุณพร้อมที่จะทำการตกแต่งความงามหรือไม่ และควรดูแลรักษาอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ หรือเกิดขึ้นซ้ำได้อีก

สาวๆ เช็กด่วน! พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกัน \"โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ\"

แนวทางการรักษา

  • การใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อ
  • การเจาะถุงน้ำเพื่อระบายของเหลวออก
  • ในกรณีที่อาการรุนแรงมากอาจต้องมีการผ่าตัดหรือทำการใส่ท่อระบาย

ไม่ว่าจะเป็นฝีต่อมบาร์โธลิน หรือฝีธรรมดาบริเวณอวัยวะเพศหญิง ไม่ควรที่จะเจาะหนอง และรักษาด้วยตนเอง เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบลุกลามขึ้น ไม่สามารถทำให้ฝีหายขาดได้ การดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดต่อมบาร์โธลินอักเสบสามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น การรักษาความสะอาด เลี่ยงความอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ หมั่นสังเตความผิดปกติบริเวณปากช่องคลอด หากสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและรักษา

การป้องกันต่อมบาร์โธลินอักเสบ

  • รักษาความสะอาดอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ ทั้งก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
  • เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ทุก 3 – 4 ชั่วโมง ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ควรปล่อยให้อวัยวะเพศอับชื้นนาน
  • งดบีบหนองออกจากถุงน้ำที่ต่อมด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียได้
  • พบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติใด ๆ ที่อวัยวะเพศ เช่น บวม แดง ปวด มีหนอง หรือเป็นก้อน ไม่ควรปล่อยหรือรอให้ก้อนดังกล่าวแตกเอง หรือ กรีดหนองออกด้วยตนเองโดยเด็ดขาด

การดูแลรักษาความสะอาดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดต่อมบาร์โธลินอักเสบ และป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา

สาวๆ เช็กด่วน! พฤติกรรมเสี่ยง ป้องกัน \"โรคต่อมบาร์โธลินอักเสบ\"

ภาวะถุงน้ำต่อมบาร์โธลินหายขาดได้หรือไม่

การเกิดเป็นถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมักเป็นทีละข้าง และมีแนวโน้มทีจะเป็นซ้ำได้อีกบ่อยๆ หากมีการอุดตันท่อระบายเมือกอีก หลังการเปิดปากถุง อาการจะดีขึ้น แต่มักไม่ค่อยหายขาด

ส่วนระยะเวลาที่กลับเป็นซ้ำมักไม่แน่นอน หากการรักษาเพียงแค่ใช้เข็มดูดเมือกออกจะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำเร็ว, หากใช้วิธีเปิดปากถุงกว้างพอประมาณ การกลับมาอุดตันจะช้ากว่า

อย่างไรก็ตาม หากไม่รักษาโรค/ภาวะต่อมบาร์โธลินเป็นหนอง ก้อนหนองอาจแตกเองได้ หรือทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บปวด สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ)

ในกรณีที่ก้อนหนองไม่ใหญ่มาก ซื้อยาปฏิชีวนะรับประทานแต่ไม่ได้กรีดหนองออก เชื้อโรคสามารถถูกทำลายไปได้แต่หนองอาจกลายเป็นของเหลว แล้วค้างอยู่ในต่อมฯเหมือนเดิม จะคลำได้เป็นถุงน้ำดังเดิม

อ้างอิง: โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล , หาหมอ.com ,โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ,talktopeach