'จมูกไม่ได้กลิ่น' สัญญาณเตือนโรคอะไรได้บ้าง?

'จมูกไม่ได้กลิ่น' สัญญาณเตือนโรคอะไรได้บ้าง?

จมูกไม่ได้กลิ่นส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านของสุนทรียภาพ ผู้ป่วยที่ประสบปัญหานี้จะขาดความสุขในการรับกลิ่น การสัมผัสกับรสชาติอาหาร ทั้งยังขาดการรับรู้ถึงอันตรายต่าง ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง อาทิ กลิ่นแก๊สรั่ว กลิ่นไฟไหม้ เป็นต้น

KEY

POINTS

  • การรับกลิ่น เป็นระบบประสาทรับความรู้สึกในร่างกายและเป็นส่วนหนึ่งใน ระบบรับความรู้สึกทางเคมี ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจอยู่ค่อนมากโดยเฉพาะในประเทศไทย
  • อาการจมูกไม่ได้กลิ่นที่สังเกตได้ง่าย คือ สูญเสียการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร หรืออาจรับกลิ่นเปลี่ยนไป 
  • วิธีการรักษาจมูกไม่ได้กลิ่น ทำได้ง่ายๆ จากการรับประทานอาหารประเภทโพรไบโอติก หมั่นดมกลิ่นเพื่อกระตุ้นระบบประสาท เช็กว่าตัวเองจมูกไม่ได้กลิ่นกี่วัน และหากไม่หายให้ไปพบแพทย์

จมูกไม่ได้กลิ่นส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านของสุนทรียภาพ ผู้ป่วยที่ประสบปัญหานี้จะขาดความสุขในการรับกลิ่น การสัมผัสกับรสชาติอาหาร ทั้งยังขาดการรับรู้ถึงอันตรายต่าง ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยง อาทิ กลิ่นแก๊สรั่ว กลิ่นไฟไหม้ เป็นต้น

จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ควรรู้ เพราะปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากปฏิบัติตนให้อยู่ในความเสี่ยง ที่ส่งผลต่อประสาทสัมผัสในการรับกลิ่น

การรับกลิ่น (Olfactory sensation) เป็นระบบประสาทรับความรู้สึกในร่างกายและเป็น ส่วนหนึ่งใน ระบบรับความ รู้สึกทางเคมี (Chemical receptor) ซึ่งยังขาด ความรู้ความเข้าใจอยู่ค่อนมากโดยเฉพาะในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการรับรู้ทางด้านอื่น ๆ เช่น การมองเห็นการได้ยิน เป็นต้น  

ระบบการรับกลิ่นมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐาน และช่วยสนับสนุนให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ อย่างปลอดภัยเนื่องจาก ความสามารถในการรับกลิ่นมีบทบาทสำคัญต่อการรับประทานอาหาร เช่น ทำให้มีความอยาก อาหารเพิ่มขึ้นหรือลดลง

นอกจากนั้นการรับกลิ่นยังมีบทบาทในการระแวดระวังภัย เช่น การแยกแยะอาหารบูด การรับกลิ่นควันไฟเวลาเกิดเพลิงไหม้รวมทั้งเป็นสัญญาณเตือนภัย เช่น กลิ่นสารเคมีเป็นพิษ และแก๊สรั่วไหล เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"Nasal Cryosurgery" รักษาโรคภูมิแพ้ด้วยความเย็น

'อาการโควิด' ที่ต้องรู้ ทำไม? 'จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส'

จมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia) สัญญาณเตือนโรค

จากการศึกษาความชุกของอาการจมูกไม่ได้กลิ่นในประชากรทั่วไป พบว่า มีผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถในการรับกลิ่นอย่างสิ้นเชิง(anosmia) มีประมาณร้อยละ 5 และผู้ป่วยที่มีความสามารถในการรับกลิ่นลดลง (hyposmia) มีประมาณร้อยละ 13-16 ปัจจุบันการศึกษาได้ขยายวงกว้างมากขึ้น ทำให้ทราบว่าปัญหาความผิดปกติของการรับกลิ่นเป็นสัญญาณเริ่มต้นและตัวบ่งชี้ของโรคภัยไข้เจ็บบางชนิด

พบว่าความผิดปกติเรื่องกลิ่นและรสมักจะเกิดร่วมกับโรคหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคอ้วน และโรคขาดสารอาหาร เป็นต้น

แม้ความผิดปกติในการรับกลิ่นจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคจมูกและโรคทางระบบประสาทแต่ก็ยังขาดความสนใจทั้งจากแพทย์และผู้ป่วย เนื่องจากการประเมินความผิดปกติดังกล่าว ทำให้ยาก และเข้าใจว่าไม่มีทางรักษาให้หายได้ จึงทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาการรับกลิ่นไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ยิ่งกว่านั้นการสูญเสียสมรรถภาพในการรับกลิ่นยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย

\'จมูกไม่ได้กลิ่น\' สัญญาณเตือนโรคอะไรได้บ้าง?

อาการจมูกไม่ได้กลิ่นเป็นอย่างไร

  • อาการจมูกไม่ได้กลิ่นที่สังเกตได้ง่ายคือ สูญเสียการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร 
  • อาจรับกลิ่นเปลี่ยนไป บางรายอาจสูญเสียการรับกลิ่นไปทันที ส่งผลให้การรับรสชาติของกลิ่นเปลี่ยนไปด้วย ส่วนมากจมูกไม่ได้กลิ่นจะเกิดชั่วคราว อาการไม่รุนแรง บางกรณีหากไม่ได้กลิ่นที่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น กลิ่นก๊าซรั่ว กลิ่นควันไฟ เป็นต้น

จมูกไม่ได้กลิ่นเกิดจากสาเหตุใด

จมูกไม่ได้กลิ่นเกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนมากเป็นผลจากการอุดตันภายในจมูก บางรายอาจมีการส่งสัญญาณจากเส้นประสาทพ่วงเข้ามาด้วย ซึ่งมีสาเหตุพบได้บ่อย ดังนี้

1. ช่องจมูกถูกปิดกั้นหรืออุดตัน

ช่องจมูกอุดตันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติ บางส่วนเกิดจากคัดจมูกไม่ได้กลิ่น  บางรายเกิดจากอาการคัดจมูกทำงานสลับข้างกันตามธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เดิมมีอาการคัดจมูกอยู่แล้ว นอนตะแคงข้างช่องจมูกปิด ทำให้ช่องจมูกนั้นโล่งขึ้น ส่วนอีกข้างคัดจมูกแทน

2. เยื่อเมือกจมูกระคายเคือง

เยื่อเมือกจมูกระคายเคืองส่งผลให้เกิดน้ำมูกไหล จาม คันจมูก มีสาเหตุจากภูมิแพ้จมูกไม่ได้กลิ่น และไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ด้วยเช่นกัน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคประกอบด้วย พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ หากมีครอบครัวเป็นโรคเยื่อเมือกจมูกระคายเคือง มีโอกาสที่จะเป็นได้สูง หรือได้รับมลภาวะควัน เช่น PM2.5 หรือแม้แต่สิ่งกระตุ้นจากภายนอกก็เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน

3. ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบเกิดจาก การติดเชื้อหรืออักเสบของเยื่อบุจมุกหรือไซนัส พบได้ที่ผู้ป่วยมีอาการไม่เกิน 4 สัปดาห์ มีทั้งเกิดจากเชื้อไวรัสที่หายได้เอง รวมถึงเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่หายช้ากว่าประเภทแรก อาการที่เห็นชัดคือ คัดจมูกไม่ได้กลิ่น น้ำมูกไหลออกทางรูจมูกด้านหน้า ปวดบริเวณใบหน้า หากตรวจส่องกล้อง จะเห็นว่าโพรงจมูกอุดตัน เนื้อเยื่อบวมก็เป็นได้

4. การติดเชื้อไวรัส

จมูกไม่ได้กลิ่นที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส มักมีน้ำมูก ไอ รู้สึกระคายคอหรือเจ็บคอร่วมด้วย หากพัฒนาเป็นเชื้อไวรัสรุนแรง ก่อให้เกิดเป็นภาวะปอดอักเสบได้

5.โรคทางสมองบางชนิด

เมื่ออายุมากขึ้น ประสาทการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นสายตา หู คอ ลิ้นหรือจมูก เริ่มมีการรับกลิ่นแบบถดถอย เช่น จมูกไม่ได้กลิ่น ทานอาหารเข้าปากแล้วรสชาติการรับรสเพี้ยนจากเดิม ผู้สูงอายุบางรายได้รับสารเคมีรักษาร่างกาย ก่อให้ปลายประสาทอักเสบหรือตายบางส่วนได้เช่นกัน

6. อุบัติเหตุบริเวณศรีษะที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ

บางรายได้รับอุบัติเหตุกระทบศรีษะ ส่งผลให้ปลายประสาทอักเสบ ร่างกายบาดเจ็บ เมื่อระบบประสาทบางส่วนได้รับผลจากอุบัติเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ประสาทการรับรู้กลิ่นน้อยลง เริ่มส่งสัญญาณจมูกไม่ได้กลิ่นพ่วงด้วย

โควิด-19 ทำให้จมูกไม่ได้กลิ่นหรือไม่

จากการศึกษาโรค Covid 19 ที่เปรียบเสมือนกับไข้หวัดใหญ่ประเภทหนึ่งพบว่า เชื้อไวรัสโคโรน่าแพร่กระจายเข้าสู่กลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่รับกลิ่นจากโพรงจมูก เมื่อจมูกไม่ได้กลิ่น covid ทำให้เซลล์ประสาทการรับรู้กลิ่นทำงานผิดเพี้ยนจากเดิมประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ป่วย ทว่าอาการดังกล่าว แพทย์ผู้วินิจฉัยสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้ป่วยจมูกไม่ได้กลิ่น โควิดมีมากน้อยเท่าใด การคัดแยกผู้ป่วยเป็นทางออกที่ลดการแพร่เชื้อได้ดี

ทุกวันนี้ยังมีผู้ป่วยโอไมครอน จมูกไม่ได้กลิ่นหรือจมูกไม่ได้กลิ่น แต่ลิ้นรับรสดีอยู่ไม่น้อย เนื่องจากสภาพอากาศ อยู่ใกล้ติดเชื้อได้ง่าย หากต้องการศึกษาเพิ่มว่าโควิดติดทางไหนบ้าง ส่วนใหญ่แล้วเชื้อแพร่ได้ 2 ช่องทางคือ ติดเชื้อผ่านสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็นจาม ไอรดกัน น้ำลาย สัมผัสน้ำมูก เสมหะ กับการสัมผัส เมื่อมือสัมผัสเชื้อแล้วมาป้ายตา จมูก ปาก ก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน บางรายอาจมีอาการผื่นแดงโควิดเข้ามาร่วมด้วย

อาการโควิด-19 พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทุกช่วงวัย  โดยที่เด็กติดโควิด คิดเป็นร้อยละ 13 จากผู้ป่วยทั้งหมด สาเหตุหลักอยู่ที่สัมผัสเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นทางการหายใจ น้ำลายหรือแม้แต่การสัมผัสร่วมกัน จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส รู้สึกอ่อนเพลีย หายใจเร็ว รวมถึงมีอาการท้องเสียร่วมด้วย

หากเป็นผู้สูงอายุติดโควิด ให้ระวังผลกระทบจากสมอง จมูกไม่ได้กลิ่น แน่นหน้าอกตลอดเวลา ซึมเศร้า เนื่องจากผู้สูงอายุเข้าภาวะถดถอย อาจเกิดภาวะสับสนหรือความทรงจำทับซ้อนขึ้น บางรายอาจหมดแรงหรือล้มหมอสติได้ทันที

ระหว่างผู้ป่วยทำการ home isolation อยู่นั้น ให้พยายามดมกลิ่นสบู่ น้ำหอม เพื่อให้ระบบประสาทส่วนรับกลิ่นได้ทำงานตลอดเวลา ไม่ควรดมแอลกอฮอล์ หรือของที่มีกลิ่นแรง เนื่องจากจะเข้าไปทำลายระบบประสาท การรับประทานอาหารควรทานประเภทจืดไปก่อน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวเข้ากับรสชาติที่ได้ทานเข้าไป

หากคุณอยู่ในช่วงการรักษาโควิด ทางเราจะให้ยาโควิดรวมไปถึงการให้ทานฟ้าทะลายโจรควบคู่กัน เพื่อให้การรักษาโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หากร่างกายฟื้นตัวเร็ว การรับประทานวิตามินหลังติดโควิด ก็เป็นอีกแนวทางที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้เร็ว

จมูกไม่ได้กลิ่นแบบไหนควรพบแพทย์

เมื่อคุณมีอาการโควิดรอบใหม่ที่ส่งผลให้ กักตัว 14 วัน หากต้องการรู้ว่าจมูกไม่ได้กลิ่นมีลักษณะใดที่ควรพบหมอ ให้ลองสังเกตตัวเองดังนี้

  • เป็นหวัดจมูกไม่ได้กลิ่น ช่องจมูกเกิดอุดตัน ทำให้หายใจไม่สะดวก
  • เป็นโรคไซนัสอักเสบ จากการติดเชื้อหรือเยื่อบุจมูกอักเสบ ทำให้อาการจมูกไม่ได้กลิ่น      
  • ได้รับอุบัติเหตุที่ส่งผลให้ประสาทกับการรับกลิ่นเปลี่ยนไป จากเดิมที่รู้สึกว่ารับกลิ่นผ่านการสัมผัสได้ดี ทว่าได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุทำให้การรับกลิ่นเปลี่ยนไป ควรรีบพบแพทย์เพราะอาจไม่ได้กลิ่นที่ทำให้อันตรายได้   

การวินิจฉัยอาการจมูกไม่ได้กลิ่น

การรักษาที่เกิดจากจมูกไม่ได้กลิ่น แพทย์จะพิจารณาจากอาการจริง เช่น เป็นหวัดไม่ได้กลิ่น ภูมิแพ้ หรือคัดจมูก สามารถหายเองได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ทว่าหากรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะวินิจฉัยการรักษาโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. การซักประวัติ

แพทย์จะสอบถามอาการที่เกิดขึ้น รวมถึงความผิดปกติในการรับกลิ่น จากนั้นจะพิจารณาการวินิจฉัยด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีการเป็นไปได้

2. การส่องกล้องในจมูก

ใช้สำหรับการค้นหาติ่งเนื้อหรือเชื้อโรคที่ทำให้ระบบการรับกลิ่นเปลี่ยนไป

3. การเอกซเรย์ (X-Ray)

ใช้สำหรับดูรายละเอียดต่าง ๆ ในบริเวณที่คาดว่าได้รับความเสียหายจากผลกระทบจมูกไม่ได้กลิ่น

4. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

ใช้วิธีการเดียวดับการเอกซเรย์ แต่ว่าการใช้ CT Scan จะดูรายละเอียดของสมองได้ชัดเจนเพื่อค้นหาการรักษาให้ถูกต้อง

5. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับการค้นหารร่างกายแบบละเอียดเพื่อการรักษาให้ชัดเจน

\'จมูกไม่ได้กลิ่น\' สัญญาณเตือนโรคอะไรได้บ้าง?

วิธีรักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น

เมื่อคุณรู้สึกว่าจมูกไม่ได้กลิ่น การรับกลิ่นเปลี่ยนไปจากเดิม ทางเรามีวิธีการรักษาจากต้นเหตุเพื่อให้ได้รับกลิ่นดังเดิม โดยที่จมูกไม่ได้กลิ่น รักษายังไงนั้น มีวิธีที่น่าสนใจดังนี้

  • การรับประทานอาหารประเภทโพรไบโอติก

การรับประทานอาหารประเภทโพรไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ดาร์กช็อคโกแล็ต หากมีโพรไบโอติกส์เพียงพอจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อในร่างกายได้ เช่น การติดเชื้อบริเวณปอด เพิ่มภูมิคุ้มกันในลำไส้และกระแสเลือด

  • หมั่นดมกลิ่นเพื่อกระตุ้นระบบประสาท

จมูกไม่ได้กลิ่นวิธีรักษา ที่ได้รับความนิยมอีกประเภทก็คือ หมั่นดมกลิ่นเพื่อให้ระบบประสาทได้ทำการปรับตัว เช่น การดมกลิ่นจากน้ำหอม สบู่ที่มีกลิ่นหอมโดดเด่น ไม่ควรดมกลิ่นแอลกอฮอล์ แอมโมเนียหรือดมกลิ่นที่แรงไป เพราะจะเข้าไปทำลายระบบประสาทการรับกลิ่นนั่นเอง

  •  จมูกไม่ได้กลิ่นเป็นกี่วัน

เมื่อคุณจมูกไม่ได้กลิ่นจากสาเหตุต่าง ๆ ย่อมเกิดความรู้สึกหงุดหงิดเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ได้กลิ่นออกไป ทว่าการเป็นหวัดจมูกไม่ได้กลิ่น ใช้เวลาฟื้นฟูร่างกาย ระบบประสาทการรับกลิ่นเร็วกว่าผู้ป่วยโควิด-19 กว่าเท่าตัว อาจใช้เวลา 1-2 วันฟื้นฟูร่างกาย สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง

  • จมูกไม่ได้กลิ่นจากโควิด กี่วันหาย

หากเคยเป็นผู้ติดเชื้อโควิด แล้วมีอาการ Post Covid แฝงเข้ามาด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจสูญเสียการได้รับกลิ่นไป เนื่องจากเชื้อโควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย  โดยร่างกายจะฟื้นฟูการรับกลิ่นอย่างช้า ๆ ประมาณ1 เดือนขึ้นไป หากต้องการตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด กับแพทย์เพื่อค้นหาแนวทางการรักษาก็สามารถทำได้เช่นกัน

แนวทางป้องกันอาการจมูกไม่ได้กลิ่น

หากเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อยากค้นหาแนวทางการป้องกันจมูกไม่ได้กลิ่น เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง หรือได้รับเชื้อโรคจากพื้นที่ต่าง ๆ ทางเราได้จัดทำจมูกไม่ได้กลิ่น วิธีแก้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด ควรล้างมือด้วยวิธีการที่ถูกต้อง รวมไปถึงใช้เวลาล้างมือขั้นต่ำ 30 วินาทีต่อครั้ง เพื่อป้องกันแบคทีเรียจากการสัมผัสด้วยมือ
  • หลีกเลี่ยงการไปพื้นที่แออัด ป้องกันการหายใจในที่แคบ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกาย
  • ไม่ควรอยู่ร่วมกับคนติดโควิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น ให้แยกย้ายกักตัวเเพื่อความปลอดภัย

จากการศึกษาพบว่า อาการจมูกไม่ได้กลิ่น สาเหตุหลักมาจาก ภูมิแพ้จมูกไม่ได้กลิ่นหรือ แม้กระทั่งติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน จมูกไม่ได้กลิ่น ก็สามารถเกิดอาการนี้ได้เช่นกัน ทว่าอาการดังกล่าว มีวิธีการรักษาแตกต่างกันไป หากเป็นโรคทั่วไป จะใช้เวลาฟื้นฟูการรับกลิ่นสั้นกว่าผู้ป่วยโควิด-19 กว่าเท่าตัว สำหรับวิธีป้องกันโรคโควิดหลังติดโควิด ฉีดวัคซีนไว้ดีที่สุด

หากสนใจเข้ารับการตรวจรักษาอาการจมุกไม่ได้กลิ่น โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์พร้อมให้การบริการด้วยหัวใจ ทางเรามีศูนย์ หู คอ จมูกโดยเฉพาะ ยกระดับการรักษาให้มีคุณภาพ ตรงอาการของโรคได้ชัดยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีศูนย์วัคซีนที่รวบรวมวัคซีนโรคต่าง ๆ เช่น วัคซีนโควิดอย่างครอบคลุม 

อ้างอิง : ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ,โรงพยาบาลสมิติเวช