ResMed บุกตลาดคนไทยนอนไม่หลับ พบ22%เคยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ResMed บุกตลาดคนไทยนอนไม่หลับ  พบ22%เคยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

“ปัญหานอนไม่หลับ” กลายเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก โดยสาเหตุจากปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก อาทิ เสียงดังรบกวน สว่างเกินไป หรือคับแคบเกินไป ทำให้นอนหลับยาก 

KEY

POINTS

  • ข้อมูลสำคัญจาก 2024 ResMed Global Sleep Survey พบว่า 22% มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
  • นวัตกรรมการนอนหลับและการหายใจ เทคโนโลยี Connected Health และ Digital Health ระบบที่ช่วยให้แพทย์ ผู้ดูแลและผู้ป่วยสามารถเชื่อมต่อ พร้อมติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น มีความสัมพันธ์กับหลายโรคการรักษามีหลายวิธี โดยที่การใช้เครื่อง CPAP นอกจากทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น ยังทำให้โรคต่างๆดีขึ้นด้วย

ปัญหานอนไม่หลับ” กลายเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก โดยสาเหตุจากปัจจัยที่หลากหลาย ทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก อาทิ เสียงดังรบกวน สว่างเกินไป หรือคับแคบเกินไป ทำให้นอนหลับยาก 

ขณะที่ ปัจจัยภายในจากการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานในร่างกาย ทั้งความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว อาการไอ และปัญหาโรคอ้วน ทำให้มีปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ได้รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่เพียงพอ เกิดภาวะนอนไม่หลับ เป็นต้น

ล่าสุด Statista แพลตฟอร์มออนไลน์เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและเก็บสถิติชั้นนำคาดการณ์ มูลค่าตลาด “เศรษฐกิจการนอน” รวมทั่วโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตถึง 585,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโต 35% จากปี 2562 ซึ่งเป็นทิศทางสอดรับกับภาพรวมเทรนด์ตลาดสุขภาพประเทศไทย

วานนี้ (19 พย.) ResMed เปิดสำนักงานประจำประเทศไทย ตั้งเป้าหมายช่วยผู้คนกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกใช้ชีวิตเต็มศักยภาพภายในปี 2030 ผ่านเทคโนโลยีการนอนและการหายใจ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจปักธงบุกตลาดไทย เผยข้อมูลสำคัญจาก 2024 ResMed Global Sleep Survey พบว่า 22% มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) พร้อมสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขและพันธมิตรในประเทศไทย ยกระดับการเข้าถึงการรักษา ลดความเสี่ยงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสุขภาพการนอนและการหายใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

80%แพทย์มีปัญหาการนอน  เกินครึ่งหยุดหายใจขณะหลับ 15 ครั้ง/ชั่วโมง

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เร่งความ “แก่ก่อนวัย” ลึกถึงระดับเซลล์

ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคการนอนไม่หลับมากกว่า 28 ล้านคนทั่วโลก

“คาลอส มอนเทียล”  รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ResMed Asia Pte. Ltd. กล่าวว่านวัตกรรมสุขภาพการนอนและการหายใจช่วยให้ผู้คนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ได้มีการนอนหลับที่ดีขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย ครอบคลุมตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการจัดการภาวะ OSA และปัญหาสุขภาพการนอนอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้า พาร์ทเนอร์และลูกค้าในการทำตลาดประเทศไทยอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ นวัตกรรมการนอนหลับและการหายใจ เทคโนโลยี Connected Health และ Digital Health ระบบที่ช่วยให้แพทย์ ผู้ดูแลและผู้ป่วยสามารถเชื่อมต่อ พร้อมติดตามผลการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อมูลด้านการหายใจมากกว่า 19 พันล้านคนจากผู้ป่วยทั่วโลก ซึ่งเติบโตถึง 28% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และมีผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคการนอนไม่หลับมากกว่า 28 ล้านคนทั่วโลกที่อยู่ในระบบซอฟต์แวร์ AirView มีเพียง 0.02% เท่านั้นที่ได้เข้ารับการวินิจฉัย

สำหรับแนวโน้มการดูแลสุขภาพในรูปแบบไฮบริดและการติดตามผลทางไกลมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีบทบาทสำคัญในการดูแลตัวเองมากขึ้นปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรมากกว่า 657 ล้านคน และประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยศักยภาพการเติบโตทั้งในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบด้านสุขภาพ 

ResMed บุกตลาดคนไทยนอนไม่หลับ  พบ22%เคยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

CPAPผู้ป่วยภาวะOSA คุณภาพชีวิตดีขึ้น

การเปิดสำนักงานในประเทศไทยช่วยความสามารถปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยและแพทย์ในประเทศช่วยเสริมความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพ สร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อชีวิตผู้ป่วย และยกระดับสังคมไทยในระยะยาว  ​โดย ResMed ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีดูแลสุขภาพการนอนหลับและการหายใจ อันได้แก่ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หน้ากากและอุปกรณ์เสริม ระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วยบนคลาวด์ และแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยติดตามความคืบหน้าในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาด้านการนอนหลับ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หน่วยโรคระบบหายใจและภาวะวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่าปัจจุบัน ศูนย์นิทราเวช ให้บริการผู้ป่วยที่มีภาวะ OSA โดยสามารถนัดหมายเพื่อประเมินอาการก่อน และจัดทำ-Sleep study หรือ polysomnography ซึ่งจะใช้ระยะเวลานัดหมายประมาณ 2-3 เดือน และประมาณ 4 เดือนจะได้พบแพทย์ ซึ่งที่ศูนย์ฯจะมีเครื่อง CPAP  ให้คนไข้เอาไปทดลองใช้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นสามารถสั่งซื้อในนามของศูนย์ฯได้และทำการรักษาต่อไป

สำหรับการรักษาด้วยเครื่อง CPAP ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะ OSA สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ปัจจุบันยังมีนวัตกรรมระบบติดตามทางไกลที่ช่วยให้แพทย์และผู้ดูแลสามารถติดตามการใช้งานของผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดและปรับปรุงแผนการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาว

“ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) มีความสัมพันธ์กับหลายโรคการรักษามีหลายวิธี โดยที่การใช้เครื่อง CPAP เป็นการรักษาหลักการใช้ CPAP นอกจากทำให้อาการผู้ป่วยดีขึ้น ยังสัมพันธ์กับการที่ทำให้โรคต่างๆดีขึ้นด้วยนวัตกรรมระบบติดตามทางไกล พบว่าทำให้การรักษามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพิ่มความสะดวก และทำให้ผู้ป่วยมีการใช้งานเครื่องที่เพิ่มขึ้น การใช้เครื่องดังกล่าว แพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สามารถให้คำปรึกษา ดูผลทางออนไลน์ได้ รวมทั้งเซ็ตระบบการติดตามผลได้แบบเรียลไทม์ ติดตามการรักษาได้ด้วย"

สำหรับผลการรักษา สามารถลดอาการง่วงนอนกลางวัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การเรียนรู้ ความจำ ลดโอกาสการเกิดโรคหัว ลดระดัับความดันโลหิต ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยในการควบคุมระดับน้ำ และลดอัตราการเสียชีวิตได้ด้วย

เพิ่มโอกาสการเกิดโรคต่างๆ

1.ความดันโลหิตสูง (hypertension)

ในกรณีเป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นแบบรุนแรง จะเพิ่มโอกาส การเกิดโรคความดันโลหิตสูงใน 4 ปี ได้ประมาณ 2.89 เท่า

2. โรคหัวใจขาดเลือด (coronary artery disease)

โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสการเกิดหัวใจขาดเลือดตอนกลางคืน จากการเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ

3. การเต้นของหัวใจผิดปกติ (arrhythmia)

ได้แก่ การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ (sinus arrhythmia) การที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติ (sinus bradycardia) การที่หัวใจหยุดเต้นผิดปกติ (sinus pauses, sinus arrest) การที่หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation)

4. โรคหัวใจวาย (congestive heartfailure)

พบว่าในคนไข้โรคหัวใจวายที่เป็นโรคนอนหยุดหายใจแบบอดกั้นด้วย จะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิต

5.เบาหวาน

6. เส้นเลือดสมองอุดตัน (cerebrovascular disease)

โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นแบบรุนแรงเพิ่มโอกาสเกิดโรคนี้ได้ถึง 4.33 เท่า

7. โรคซึมเศร้า (depression)

พบอุบัติการณ์ในคนไข้โรคนอนหยุดหายใจแบบอุดกั้นถึง 58%

8.กรดไหลย้อน

9. สมรรถภาพทางเพศเสื่อม