ไทยเป็นศูนย์กลางผ่าตัดแปลงเพศ สร้างรายได้เข้าประเทศหมื่นล้านบาทต่อปี

ไทยเป็นศูนย์กลางผ่าตัดแปลงเพศ  สร้างรายได้เข้าประเทศหมื่นล้านบาทต่อปี

1 ใน 7 นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพ สู่ Medical & Wellness Hub ของกระทรวงสาธารณสุข คือการดูแลบุคคลและความงาม (Personal Care and Beauty)

KEY

POINTS

  • ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ที่มารับบริการผ่าตัดแปลงเพศประมาณ 70 % เป็นคนต่างชาติ โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านบาท
  • การผ่าตัดแปลงเพศทุกขั้นตอนใช้เวลาร่วม 2 ปี และต้อง

1 ใน 7 นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพ สู่ Medical & Wellness Hub ของกระทรวงสาธารณสุข คือการดูแลบุคคลและความงาม (Personal Care and Beauty) โดยจะขับเคลื่อน 4 เรื่อง คือ เวชศาสตร์ความงาม, จิตเวชและพฤติกรรมบำบัด สำหรับชาวต่างชาติ, การอุ้มบุญและการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์และการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ ส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

เป็นที่รับรู้ว่าประเทศไทยมีชื่อเสียงทางด้านการผ่าตัดแปลงเพศมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาการพัฒนาทางการแพทย์และการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ได้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ผู้คนจากทั่วโลกมองหาเมื่อมีความต้องการในการแปลงเพศ ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์และการสนับสนุนจากรัฐบาลส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผ่าตัดแปลงเพศที่มีคุณภาพและปลอดภัยในระดับสากลได้

การเป็นศูนย์กลางผ่าตัดแปลงเพศของไทยไม่เพียงแต่เป็นการให้บริการทางการแพทย์ แต่ยังเป็นการส่งเสริมความหลากหลายทางเพศและการยอมรับในสังคม ที่นำไปสู่การพัฒนาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและการสนับสนุนจากรัฐบาลและองค์กรต่างๆ จะช่วยให้ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงเพศในอนาคต สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อัปเดต 'เทรนด์ความงาม' กับ 5 'ศัลยกรรม' ยอดนิยม

Top3 ศัลยกรรมความงาม รพ.ยันฮี เจาะกลุ่ม CLMV

คนต่างชาติมาผ่าตัดแปลงเพศที่ไทยประมาณ 70%

“นพ.สุกิจ วรธำรง”ศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง ประจำโรงพยาบาลยันฮีที่ปรึกษาสมาคมเพื่อการพัฒนาสุขภาพบุคคลข้ามเพศและเพศหลากหลาย (แห่งประเทศไทย)ที่มีประสบการณ์แปลงเพศจากหญิงเป็นชายทุกขั้นตอนมากกว่า 300 รายให้สัมภาษณ์“กรุงเทพธุรกิจ”ว่าประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการผ่าตัดแปลงเพศที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาเป็นเวลานาน 

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดแปลงเพศเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในอดีตผู้ที่มารับบริการผ่าตัดแปลงเพศในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติประมาณ 90 % เพราะการผ่าตัดที่ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่เข้าถึงได้ และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับหลายประเทศที่มีการผ่าตัดแปลงเพศ ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกมองหาบริการนี้ที่ประเทศไทย

แต่ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ที่มารับบริการผ่าตัดแปลงเพศประมาณ 70 % ของผู้ใช้บริการเป็นคนต่างชาติ จากการที่ประเทศไทยเปิดกว้างยอมรับความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการผ่าตัดแปลงเพศไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ยังเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนทางจิตใจและสังคมของผู้ที่ต้องการแปลงเพศด้วยความสำคัญของการให้การสนับสนุนทางจิตใจและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องหลังการผ่าตัด ซึ่งรวมถึงการให้ฮอร์โมนและการตรวจสุขภาพเป็นระยะๆเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

ไทยเป็นศูนย์กลางผ่าตัดแปลงเพศ  สร้างรายได้เข้าประเทศหมื่นล้านบาทต่อปี

“ประเมิน”ความต้องการผู้ป่วยก่อนผ่าตัด

การผ่าตัดแปลงเพศมีหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากการประเมินความต้องการของผู้ป่วยและการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงนั้นมักจะเริ่มจากการเสริมหน้าอกก่อน และเมื่อผู้ป่วยมีความพร้อมก็จะทำการผ่าตัดส่วนล่างตามมา ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลาหลายปีในการเตรียมตัวและดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์

“การผ่าตัดแปลงเพศรวมทุกๆขั้นตอนจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปีเป็นกระบวนการที่ต้องการความเข้าใจและการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ผู้ป่วย หรือสังคมโดยรวมเพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพในสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้นเฉลี่ยค่าใช้จ่ายประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านบาท”

การเป็นศูนย์กลางผ่าตัดแปลงเพศของไทย

นพ.สุกิจ กล่าวว่าโรงพยาบาลยันฮี (Yanhee Hospital) เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงในด้านการให้บริการผ่าตัดแปลงเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงเพศจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเริ่มต้นให้บริการผ่าตัดแปลงเพศตั้งแต่ปี 2540 และมีการพัฒนาทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิงและหญิงเป็นชาย ด้วยการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างต่อเนื่องทีมแพทย์สามารถให้บริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นพ.สุกิจ กล่าวว่าการให้บริการผ่าตัดแปลงเพศไม่เพียงแต่มีความสำคัญในด้านการแพทย์ แต่ยังสามารถสร้างเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยมีการประมาณการณ์ว่าการให้บริการนี้สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึงหลักหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการสะท้อนถึงการยอมรับและการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“โรงพยาบาลยันฮีให้บริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ทำให้มียอดการใช้บริการเพิ่มขึ้น มียอดผู้ใช้บริการต่างชาติเป็น 30 % ถ้าคำนวณค่าใช้จ่ายรายละ 1 ล้านบาท เมื่อรวมรายได้ของสถานพยาบาลแต่ละแห่งทีให้บริการในประเทศแล้วเชื่อว่าจะสร้างรายได้เข้าประเทศได้ถึงหลักหมื่นล้านบาทต่อปี ”

เน้นการผ่าตัด-รักษาแบบบูรณาการ

 “ทพญ.สุชาวดี สัมฤทธิวณิชชา” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและกรรมการบริหาร โรงพยาบาลยันฮี กล่าวว่าสำหรับปี 2568 โรงพยาบาลยันฮี ยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาแบบบูรณาการ มีการเชื่อมโยงการรักษาในทุกๆ ศูนย์ ซึ่งจะทำให้การรักษา เกิดการ Impact และมีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ศูนย์แปลงเพศที่มีความครบวงจร เริ่มตั้งแต่การเทคฮอร์โมน การให้คำปรึกษาโดยจิตแพทย์ การผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยใช้เทคนิคใหม่ๆ ที่ช่วยทำให้แลดูเป็นธรรมชาติ ใช้งานได้จริง

นอกจากนี้ยังมีศูนย์ลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคอ้วนพุ่งเป้าไปที่การรักษาตั้งแต่ต้นเหตุ เช่น การนอนกรนที่เกิดจากความอ้วนการรักษาโรคอ้วนที่มีค่า BMI เกินมาตรฐานร่วมกับการดูแลด้านโภชนาการโดยนักโภชนาการการรักษาโรคหัวใจที่เกิดความอ้วนการใช้ยาควบคุมฮอร์โมนซึ่งทุกศูนย์ล้วนแต่มีความเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เป็นการดูแลสุขภาพเป็นองค์รวม นำเทคโลโลยีมาช่วยในการจัดการสุขภาพ ตลอดจนการให้คำแนะนำเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตกับงาน (Work Life Balance)เพื่อช่วยลดความเครียด

จากสถิติปีที่ผ่านมาพบว่าลูกค้าต่างชาติ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคในประเทศต่างๆ เริ่มคลี่คลาย มีการควบคุมสถานการณ์ความปลอดภัยได้ดีขึ้น ทำให้ต่างชาติเริ่มมองประเทศที่มีความปลอดภัยในด้านการแพทย์เพื่อเข้ามาผ่าตัดรักษามากขึ้นซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป

 Top 5 กลุ่มคนไข้จากประเทศที่มาแปลงเพศจากชายเป็นหญิง (MTF) ได้แก่  

1.เกาหลี

2.เวียดนาม

3.จีน

4.ญี่ปุ่น

5.กลุ่มประเทศโซนยุโรป

Top5 กลุ่มคนไข้จากประเทศที่มาแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย (FTM) ได้แก่

1.ญี่ปุ่น

2.จีน

3.เวียดนาม

4.พม่า

5.กัมพูชา

ปัจจุบันรพ.ยันฮี มีบุคลากร 1,300 คน แบ่งเป็นแพทย์ Fulltime 103 คน partime 132 คน ทันตแพย์ Fulltime 27 คน partime 49 คน และ จนท.ทุกระดับ 989 คนรายได้รวม ปี 2567 ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการแปลงเพศ (จากหญิงเป็นชาย และ จากชายเป็นหญิง)ประมาณ 30 ล้านบาท ปัจจุบันมีแพทย์ศัลยกรรมตกแต่งจำนวน 18 คนแพทย์ที่แปลงเพศจากหญิงเป็นชาย 2 คน-แพทย์ที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิง 1 คน และมีเจ้าหน้าที่ในศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งจำนวน 70 คน

“ยันฮีต้องการรักษาความเป็นผู้นำในด้านความสวยความงาม ด้วยการปรับกลยุทธ์การตลาดในทั้งประเทศและต่างประเทศ เพื่อรักษา Brand รวมทั้งการขยายฐานลูกค้าใหม่ รักษาฐานลูกค้าเก่านำระบบการสื่อสารตลาด ด้วยระบบ Omni Channel เป็นการรวมทุกช่องทางที่ลูกค้าติดต่อมาไว้ในที่เดียวพัฒนาContent เพื่อให้ Brand ความงามติดอยู่ใน Top of Mindพัฒนา Loyalty Systemและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง”

ความท้าทายผ่าตัดหญิงเป็นชาย

การผ่าตัดหญิงเป็นชายยังคงมีความท้าทายอยู่ โดยเฉพาะในด้านการยอมรับจากสังคมและการสนับสนุนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศการผ่าตัดเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน และต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมาก การผ่าตัดหญิงเป็นชายไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงการดูแลสุขภาพจิตและการสนับสนุนทางสังคมที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการแปลงเพศ

ขั้นตอนการผ่าตัดการผ่าตัดหญิงเป็นชายมีหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัด. ขั้นตอนหลัก ๆ ประกอบด้วยการตัดหน้าอก การตัดมดลูก และการสร้างอวัยวะเพศชาย ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและการดูแลอย่างใกล้ชิด

ความสำคัญของการให้ฮอร์โมนก่อนการผ่าตัด จะช่วยให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เหมาะสมและช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การดูแลหลังการผ่าตัดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยจะมีการติดตามผลการรักษาและการให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตหลังการผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง

“การผ่าตัดแปลงเพศทุกขั้นตอนใช้เวลาร่วม 2 ปี และต้องมีการดูแลต่อเนื่องไม่ใช่ผ่าตัดแล้วจบ ต้องมีการติดตามผลและพบแพทย์ รวมถึงเทคฮอร์โมนไปตลอดชีวิตจึงต้องมีการติดตามและดูแลไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขตามเพศสภาพที่ต้องการด้วย”