ชุมชน "เพลง Jazz" ยังแข็งแกร่งเสมอ ถอดบทสรุปงาน "TIJC" ที่ดีเกินคาด

ชุมชน "เพลง Jazz" ยังแข็งแกร่งเสมอ ถอดบทสรุปงาน "TIJC" ที่ดีเกินคาด

เป็นอีกปีที่ "ดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล" เดินหน้าจัดงาน "Jazz" ใหญ่แห่งปี และเสียงตอบรับ "TIJC" ครั้งนี้ก็ดีเกินคาด แม้จะจัดในรูปแบบ Hybrid ครั้งแรกในรอบ 14 ปี

งานเทศกาลดนตรีแจ๊ส Thailand International Jazz Conference หรือ TIJC เป็นเทศกาลการรวมตัวของผู้คนในวงการแจ๊ส จำนวนกว่า 3,000 คน ทั้งนักดนตรี ไทยและต่างชาติ และผู้ที่สนใจในศาสตร์ของดนตรีแจ๊ส

ในแต่ละปี ต่างรอคอยที่จะมาร่วมแสดงดนตรีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ "TIJC" ต้องหยุดชะงัก และกลับมาจัดในปีนี้ แบบ New Normal ในรูปแบบผสมผสาน Hybrid ครั้งแรกในรอบ 14 ปี โดยยังคงได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์และนักดนตรีแจ๊สเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ถึงความเข้มแข็งของสังคมแจ๊สในเมืองไทย จากการขับเคลื่อนของเทศกาล TIJC

ชุมชน \"เพลง Jazz\" ยังแข็งแกร่งเสมอ ถอดบทสรุปงาน \"TIJC\" ที่ดีเกินคาด

ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้อำนวยการ TIJC กล่าวถึงรูปแบบการจัดงาน ที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมว่า ถึงแม้ว่า แนวทางจัดงาน TIJC ในปีนี้ ได้ปรับเปลี่ยนใหม่ แต่ด้วยการปรับตัวของบุคลากร และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นข้อดีของชีวิตวิถีใหม่ ที่ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ส่งผลให้การจัดงานในรูปแบบผสมผสาน Hybrid ประสบความสำเร็จ

ที่น่าสนใจคือการจัดงานแบบ Online ทำให้กิจกรรมของงาน เข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหม่ๆ ได้มากขึ้น เข้าชมได้สะดวก ชมได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ

ชุมชน \"เพลง Jazz\" ยังแข็งแกร่งเสมอ ถอดบทสรุปงาน \"TIJC\" ที่ดีเกินคาด

“งานในปีนี้ ได้รับความร่วมมือ จากอาจารย์ และนักดนตรีแจ๊สจากทุกสถาบัน ทั่วประเทศทั้งการบรรยายผ่าน Online การแสดงคอนเสิร์ต รวมทั้งผู้ปกครองและกลุ่มเยาวชน ที่มาเข้าค่ายร่วมกิจกรรม Youth Champ เราเชื่อว่า เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ความโหยหาบรรยากาศและต้องการสัมผัสกับประสบการณ์การแสดงดนตรีสด จะมีมากขึ้นตามกาลเวลา ถึงตอนนั้น TIJC ก็มีความพร้อมที่กลับมาจัดเต็มรูปแบบอีกครั้ง”

สำหรับ "TIJC" ครั้งที่ 13 นี้ทางผู้จัดยังตอกย้ำเป้าหมายการเป็นเทศกาลดนตรีแห่งการเรียนรู้ เพื่อความสุข ภายใต้สโลแกนของงาน “Learning Jazz, for The Learning Society - Happy Society” ซึ่งเลื่อนมาจัดในเดือนเมษายน เพื่อให้บรรจบกับการร่วมเฉลิมฉลองวัน International Jazz Day ที่องค์การยูเนสโกประกาศให้วันที่ 30 เมษายนของทุกปีเป็นวันสำคัญทาง "ดนตรีแจ๊ส" ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก จะร่วมกันบรรเลง ขับร้อง เต้นรำ และรับชมดนตรีแจ๊สไปพร้อมๆ กัน

ชุมชน \"เพลง Jazz\" ยังแข็งแกร่งเสมอ ถอดบทสรุปงาน \"TIJC\" ที่ดีเกินคาด

อาจารย์นพดล ถิรธราดล กล่าวในฐานะผู้จัดการโครงการ TIJC ว่า ตลอด 10 วัน ในงานอัดแน่นไปด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมวงการ Jazz ในบ้านเรา ตั้งแต่การให้ความรู้ในกลุ่มเยาวชนไปจนถึงความบันเทิงแบบที่คนรัก Jazz หลงใหล

“ปีนี้เราจัดกิจกรรมเต็มตลอดทั้ง 10 วัน เริ่มจากค่ายเยาวชนดนตรีแจ๊สครั้งที่ 2 คอนเสิร์ต Online จากทุกภูมิภาค เสวนาดนตรีแจ๊ส workshop จาก Guru ในวงการของประเทศ ส่วนไฮไลท์ปิดงาน คือการแสดงคอนเสิร์ต Jazz with orchestra ของวง Pomelo Town ร่วมกับวง Thailand Phil พร้อมแขกรับเชิญ Koh Mr.Saxman นำโดยวาทยกรหญิงดาวรุ่งของประเทศ ดร.ภมรพรรณ โกมลภมร มีเหตุให้ต้องเลื่อน เนื่องจากผู้ร่วมแสดงติดเชื้อโควิด จึงต้องเลื่อนไปจัดในวันเสาร์ที่ 11 เดือนมิถุนายนนี้  ทั้งนี้ คณะผู้จัดงาน ได้เตรียมรับกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไว้เป็นอย่างดี เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลื่อนการแสดงออกไป”

กิจกรรมที่กำลังบอกว่ารากฐานของเพลง Jazz ในประเทศไทยยังมีอนาคตสดใส คือการจัดค่าย TIJC YOUTH CAMP เพื่อสร้างเม็ดพันธุ์ นักดนตรีแจ๊สรุ่นใหม่ ครั้งนี้เยาวชนได้เข้าร่วม Workshop จากเหล่าคณาจารย์แจ๊ส อย่างเข้มข้นตลอด 4 วันเต็มครบถ้วนทุกด้าน ทั้งวิชา Jazz Improvisation, Jazz History, Jazz Theory, Instrumental Skill, Jazz Ensemble, Music Activity เยาวชนที่เข้าร่วมในปีนี้ได้สัมผัสประสบการณ์ และเรียนรู้การรวมวงและร่วมแสดงฝีมือบนเวทีอย่างมืออาชีพ ทำให้อาจารย์หลายคนรู้สึกทึ่งในฝีมือ ทั้งยังเกิดความสามัคคี ได้มิตรภาพ จากเพื่อนๆที่ร่วมเข้าค่าย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับการเดินเข้าสู่เส้นทางดนตรีแจ๊สของเหล่าเยาวชน ที่พร้อมจะก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน

ชุมชน \"เพลง Jazz\" ยังแข็งแกร่งเสมอ ถอดบทสรุปงาน \"TIJC\" ที่ดีเกินคาด

บทสรุปของงาน TIJC ปีนี้ ผู้จัดโครงการทิ้งท้ายว่า ถึงจะจัดแบบ Hybrid แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือแสงสว่างของวงการ Jazz ที่นับวันจะแข็งแกร่งขึ้นๆ

“ทุกคนที่ร่วมงาน ทั้ง Online และ Onsite พร้อมใจที่จะถ่ายทอดทั้งองค์ความรู้ และความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อทำให้ชุมชนแจ๊สแห่งนี้ขับเคลื่อนไปสู่ยุค New Normal และงาน TIJC ยังคงเป็นศูนย์รวมของคนในสังคมดนตรีแจ๊ส ที่เข้มแข็งมาโดยตลอด”