เคยเล่นกันไหม? "FINGERBOARD" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

เคยเล่นกันไหม? "FINGERBOARD" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

ย้อนเวลากลับมาเริ่มเป็นที่นิยมอีกครั้ง สำหรับ “Fingerboard” อดีตของเล่นของเด็กยุค 90s ที่ในวันนี้กำลังพัฒนาเป็น Sub Culture ของทั้งเด็กและผู้ใหญ่สายสเก็ตที่ใช้นิ้วไถทั้งไทยและทั่วโลก

ถ้าเป็น เด็กยุค 90s น่าจะคุ้นตากับ สเก็ตบอร์ด ที่ใช้นิ้วไถ หรือที่เรียกกันว่า Fingerboard กันมาบ้าง เพราะช่วงนั้นถือเป็นช่วงพีคของ “ของเล่น” ชิ้นนี้

ก็เป็นเช่นเดียวกับทุกอย่างที่เคยนิยมในประเทศไทย เพราะหลังจากนั้นกระแสของ “Fingerboard” ก็สร่างซาไปจนแทบไม่เหลือทั้งคนเล่นและสินค้า แล้วก็มีสิ่งอื่นมาแทนที่ นิยมแล้วก็เสื่อมความนิยมวนไปแบบนี้ตลอดมา

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

แต่จะว่า “Fingerboard” ตายไปจากประเทศไทยเลยก็คงไม่ได้ เพราะถึงแม้ความนิยมจะไม่สูงลิ่วอย่างในอดีต ทว่า ก็มียุคหนึ่งที่ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทของเล่นก็ยังนำเข้า ฟิงเกอร์บอร์ด มาทำตลาดในไทยอยู่บ้าง ซึ่งยังคงเป็นแบรนด์ชื่อดังและนับว่าเป็นตำนานของฟิงเกอร์บอร์ดเช่น Tech Deck

และการกลับมาในช่วงหลายปีหลัง “Fingerboard” ค่อยๆ พัฒนาจากของเล่นสู่ความจริงจัง และกำลังเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของคนที่รัก สเก็ตบอร์ดจิ๋ว

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

ตลาด Fingerboard ทั่วโลกไม่ธรรมดา

แน่นอนว่าต้นทางของ “Fingerboard” มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะมีฐานการผลิตที่จีนมาแต่ไหนแต่ไร แต่ “ฟิงเกอร์บอร์ด” ก็มีต้นกำเนิดจากฟากฝั่งอเมริกา ด้วยวัตถุประสงค์แรกเพียงแค่เป็นพวงกุญแจ โดยย่อขนาดสเก็ตบอร์ดปกติให้เล็กจิ๋ว แต่ด้วยความที่ทั้งรูปทรงและส่วนประกอบต่างๆ ยังคล้ายคลึง “สเก็ตบอร์ด” บวกกับบรรดานักสเก็ตรู้เทคนิคที่จะทำให้สเก็ตบอร์ดแผ่นจิ๋วนี้กระเด้งและหมุนจนเกิดเป็นท่าทางต่างๆ แบบเดียวกับสเก็ตบอร์ดได้ Fingerboard จึงกลายเป็นหนึ่งในไอเทมติดตัวนักสเก็ตบอร์ดหลายคนไปโดยปริยาย

แบรนด์ที่นิยมมากที่สุดคือ Tech Deck จุดเด่นของแบรนด์นี้คือตัวแผ่น (Deck) ผลิตจากพลาสติก ส่วนประกอบต่างๆ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ได้ ที่สำคัญคือมีลวดลายแบบเดียวกับสเก็ตบอร์ดแบรนด์ต่างๆ อย่างถูกลิขสิทธิ์ ในเรื่องความสวยงามนับว่าสิบเต็มสิบ

แต่ในแง่ประสิทธิภาพ "Tech Deck" แบบแผ่นพลาสติกยังถือว่าพอเล่นได้ แต่ยังห่างไกลกับ “Fingerboard” ยุคถัดๆ มาที่จะย่อทุกอย่างใน “สเก็ตบอร์ด” ให้เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

หนุ่ย - สาตรา โตกะหุต เจ้าของร้านและแบรนด์ฟิงเกอร์บอร์ด JunxBoyd หนึ่งในผู้รันวงการ “Fingerboard” ในไทยยุคนี้ เล่าว่าวงการ “ฟิงเกอร์บอร์ด” โลก เป็นวงการใหญ่มากและยังคงเติบโตต่อเนื่อง

“ชาวต่างชาติเขาให้ความสำคัญกับฟิงเกอร์บอร์ดพอๆ กับสเก็ตบอร์ดจริงเลยครับ สนามของฟิงเกอร์บอร์ดก็มีเยอะมากทั่วประเทศสำหรับต่างชาตินะครับ”

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

Fingerboard คืออะไร?

หลายคนมอง “Fingerboard” เป็นของเล่น แต่ “สเก็ตบอร์ด” ชิ้นเล็กๆ นี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย เพราะถ้าเป็น “ฟิงเกอร์บอร์ด” เกรดดีไปจนถึงดีมาก คุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ จะไม่ต่างกับสเก็ตบอร์ดจริงที่แค่ย่อส่วนลงมา

โดยที่มีส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้

1. แผ่น (Deck) มีทั้งทำจากพลาสติกในกลุ่มราคาไม่แพง และทำจากไม้เมเปิลนำมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ แบบเดียวกับสเก็ตบอร์ด บางรุ่นใช้วัสดุอื่นเสริมเข้าไปด้วย

2. ทรัค (Truck) คือแกนล้อที่ยึดติดกับแผ่นฟิงเกอร์บอร์ด ในยี่ห้อดีๆ จะเลี้ยวและให้ตัวได้แบบทรัคสเก็ตบอร์ด

3. ล้อ (Wheels) ล้อของฟิงเกอร์บอร์ดทั่วไปจะเป็นพลาสติกธรรมดา จึงแข็งและลื่น แต่ถ้าเป็นของคุณภาพดีมักจะผลิตจากยูรีเทน

4. ลูกปืน (Bearing) เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ล้อหมุนได้อย่างลื่นไหล ปกติจะติดมาพร้อมล้อ

5. ริปเทป (Riptape) เป็นแผ่นโฟมที่ติดไว้บนแผ่นฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของนิ้วเวลาเล่น ทำหน้าที่เหมือนกริปเทปของสเก็ตบอร์ด ในบางแบรนด์ใช้กระดาษทรายกริปเทปมาติดบนแผ่น ได้ความรู้สึกเหมือนสเก็ตบอร์ดกว่า แต่ก็ทำให้เจ็บนิ้วเมื่อเล่นนานๆ

6. น็อต (Hardware) น็อตตัวจิ๋วเหล่านี้นอกจากจะเสี่ยงต่อการหล่นหายแล้ว ยังมีราคาที่แพงพอสมควรด้วย เพราะด้วยขนาดและการผลิตที่ละเอียดมากๆ

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

ส่วนการเล่น สองนิ้วเปรียบเสมือนสองขา ข้อมือคือหัวไหล่ พื้นฐานมีอยู่สองท่า คือ ออลลี่ (Ollie) เป็นการป๊อปแผ่นขึ้นมาแล้วลากนิ้วให้แผ่นติดนิ้วขึ้นมาเหมือนการกระโดด กับอีกท่าคือคิกฟลิป (Kick Flip) ต่อยอดจากออลลี่ แต่มีการตวัดแผ่นให้ควงในแนวนอน ซึ่งสองท่านี้นำไปฝึกต่อยอดเป็นท่าต่างๆ ได้อีกมากมาย โดยยึดหลักเดียวกับสเก็ตบอร์ด

สำหรับราคาของ “Fingerboard” มีตั้งแต่หลักสิบที่ซื้อหาได้ตามแพลตฟอร์มชอปปิงต่างๆ ไปจนถึงหลักหลายพัน ขึ้นอยู่อยู่กับคุณภาพและค่าการตลาดในแบรนด์นั้นๆ

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

วงการสเก็ตบอร์ดนิ้วไถของไทยกำลังไปต่อ

“ตอนนี้มีแบรนด์ที่ผลิตแผ่นเองเพิ่มขึ้นเยอะมาก ปีนี้ที่เพิ่มขึ้นมาก็เกือบสิบแบรนด์” หนุ่ย เล่าถึงทิศทางการเติบโตของวงการ “Fingerboard” ในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่าของเล่นชนิดนี้กำลังกลับมา และไม่ได้มาเป็นแค่ของเล่นตามกระแส แต่เป็นหนึ่งใน Sub Culture

“ในประเทศไทย ฟิงเกอร์บอร์ดเหมือนเป็นคอมมูนิตี้หนึ่งของคนที่ชอบเล่นสเก็ตเอานิ้วไถ ทุกวันจะมีคนมารวมตัวกันเล่น ซึ่งแต่ก่อนจะไม่มี คนจะเล่นกันอยู่หน้าคอม ลงคลิปโชว์กันเฉยๆ แต่ตอนนี้ในบ้านเราได้เล่นกัน ได้เจอกัน ได้สังคมใหม่ๆ

ตอนนี้ผมว่าเติบโตจากเมื่อก่อนมา 80 เปอร์เซ็นต์ได้ จากกลุ่มที่เห็นในเฟซบุ๊กพันกว่าคน ตอนนี้ก็สี่พันกว่าคนแล้ว (กลุ่ม Fingerboard Underground) ที่ได้เห็นหน้าเห็นตากันก็มีการพัฒนาทุกคน ขยันฝึกฝน เพราะร้านผมจะจัดแข่งบ่อย รวมตัวกับหลายๆ ร้านมาแข่งที่นี่บ้าง ที่ชลบุรีบ้าง ในห้างบ้าง”

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

ขยายความถึงคุณภาพของ “Fingerboard” สัญชาติไทย จากวันที่ลองผิดลองถูกกันมาจนกลายเป็นแบรนด์ต่างๆ ที่ขายดีทั้งในไทยและเทศ แบรนด์ JunxBoyd คือตัวอย่างที่บอกเล่าการพัฒนาของแบรนด์ไทยได้อย่างดี

หนุ่ยเริ่มต้นทำ “ฟิงเกอร์บอร์ด” ในชื่อแบรนด์ “JunxBoyd” มาได้ประมาณปีกว่า โดยใช้ความรู้ความสนใจเรื่องสเก็ตบอร์ด, ศิลปะ และการนำขยะมารีไซเคิล ตามคอนเซปต์ Junk ที่แปลว่าขยะ โดยเน้นผลิตแผ่นและอุปกรณ์การเล่น อย่างแรมป์, บันไดจำลอง, ราวเหล็ก ฯลฯ ทั้งเล่นเอง ขาย และบริจาคให้เด็กๆ ได้เอาไปฝึกเล่นกัน

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

“จริงๆ ผมอยากทำสเก็ตบอร์ดจริงๆ แต่ไม่มีทุน เพราะมันต้องใช้อุปกรณ์เยอะแยะและซับซ้อนมากๆ พอดีผมเห็นรุ่นน้องเล่นฟิงเกอร์บอร์ด เราก็เคยสัมผัสมันตอนเด็ก เลยรู้สึกว่าอยากทำมันดูบ้าง เพราะชิ้นมันเล็กก็น่าลองหัดทำด้วยตัวเอง”

จากวัยเด็กที่เคยได้เล่นในฐานะของเล่น จนวันที่กลับมาจับและจริงจังจนกลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา จวบจนวันนี้ “Fingerboard” ในไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด หนุ่ยบอกว่าตอนนี้แม้แต่ต่างชาติก็รู้จัก “ฟิงเกอร์บอร์ด” ของไทยมากขึ้น

“จากที่คนไทยไปโพสต์ตามกลุ่มต่างๆ ในระดับเวิลด์ไวด์ ทำให้ต่างชาติรู้ว่าประเทศไทยก็ยังมีคนเล่น ล่าสุดทางเยอรมนีก็ติดต่อมาจะทำสนาม ทำอุปกรณ์ให้เด็กๆ ที่ไทยได้เล่นกัน อย่างแบรนด์ JunxBoyd ของผมในสายตาต่างชาติ มันแปลก ฝรั่งเอาแนวคิดไปปรับแต่งของเขาด้วย เพราะงานเรามีคอนเซปต์ เขาชื่นชมเรา อย่างโปรของ Blackriver แบรนด์อันดับหนึ่งของเยอรมนีและของโลก ยังสั่งแผ่นของผมไปเล่นเลย ซึ่งผมภูมิใจมาก”

ไม่เพียงแต่แบรนด์ของเขา แต่แบรนด์อื่นๆ ของคนไทยมีโอกาสได้ออกไปสู่ตลาดโลก รวมถึงจำนวนคนเล่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะมีขนาดเล็กกะทัดรัด เป็นของสะสมได้ และพกพาไปเล่นที่ไหนก็ได้

เคยเล่นกันไหม? \"FINGERBOARD\" สเก็ตบอร์ดใช้นิ้วไถที่ย้อนวัยมาจากยุค 90s

“สำหรับผมมันเหมือนอารยธรรม ที่เราส่งต่อกันไปเรื่อยๆ ว่ามันเล่นได้จริง เวลาเราออกไปเล่นสเก็ตบอร์ดไม่ได้ ฝนตกหรือสภาพอากาศไม่ดี เราก็เอาฟิงเกอร์บอร์ดเล่นแทนได้ เพราะความยากก็พอๆ กับสเก็ตบอร์ดจริงเลย แค่ไม่เจ็บ และไม่ต้องเล่นสเก็ตบอร์ดเป็นก็เล่นได้”