"Gen Z" ต่อไม่ติดกับการทำงาน และรู้สึกไร้ตัวตนในช่วงโควิด-19

"Gen Z" ต่อไม่ติดกับการทำงาน และรู้สึกไร้ตัวตนในช่วงโควิด-19

"Gen Z" กำลังมีปัญหาสุขภาพจิตมาขั้นในช่วงโควิด-19 ต่อไม่ติดกับการทำงาน และรู้สึกไร้ตัวตน อีกหนึ่งผู้บริหารและบริษัทต่างๆ ต้องให้ความสำคัญและปรับตัวสร้างแรงจูงใจให้ได้ ก่อนเสียแรงงานที่ทรงพลังของคนรุ่นใหม่ไป

ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่เร่งตัวขึ้นนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 แถมยังมีแนวโน้มแย่ลงโดยเฉพาะความสามารถในการเข้าสังคม และการทำงานที่องค์กรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ก่อนจะสูญเสียศักยภาพของคนรุ่นใหม่ไปจากองค์กร

ข้อมูลจาก Mental Health Million Project ของ Sapien Labs สำรวจคนหนุ่มสาว 48,000 คนที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปีใน 34 ประเทศ เผยให้เห็น “ปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มคนรุ่นใหม่” ที่น่าเป็นห่วง

รายงาน Rapid Report ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 ของ Sapien Labs เรื่อง “The Deteriorating Social Self in Younger Generations” แสดงให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาวประสบกับภาวะสุขภาพจิตที่ลดลงในช่วงปีที่ 2 ของการระบาดใหญ่ และความสามารถในการสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อื่นบกพร่องอย่างมากในกลุ่มคนรุ่นใหม่หลายประเทศทั่วโลก

หนึ่งในปัญหานั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการสูญเสีย "ตัวตนทางสังคม" ที่เกิดจากสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไปในหลากหลายมิติ ทั้งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น การปลดพนักงานจำนวนมาก โรคระบาดที่ไม่ยอมจบสิ้น และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามา ทำกลุ่มคนทำงานตอนต้นอย่าง Gen Z จำนวนมากได้มาถึงจุดแตกหักจากสังคม ที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตส่วนตัวมิตรภาพ ยังทำให้คนรุ่นใหม่มักจะถอยห่างจากสังคม กระทบความสัมพันธ์ส่วนตัว ไปจนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย

ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะโควิด-19 ทำให้การทำงานไม่ประติดประต่อ ยากที่จะควบคุมและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำในองค์กรต้องให้ความสำคัญ และพยายามในการเชื่อมต่อและสนับสนุนพนักงานรุ่นเยาว์ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ เพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่ จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรและสังคม

 1. สุขภาพจิตที่ดีต้องมาก่อน 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ของคนรุ่นใหม่ ส่วนหนึ่งมาจากการทำงาน ซึ่งคนเจน Z ส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับบาลานซ์ชีวิตและความสุขในการทำงานมากขึ้น

จากข้อมูลใน LinkedIn 66% ของ Gen Z บอกว่า “ต้องการวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มต้นด้วยสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี” ซึ่งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทำงาน ปัจจุบันสามารถนำมาเป็นแต้มต่อเพื่อเสนอให้กับผู้สมัครงาน เรียกได้ว่าเป็นเสนอค่าตอบแทนที่แข่งขันได้

เช่น นโยบายการลาพักร้อน เงินอุดหนุนและบริการดูแลเด็ก การสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ค่าตอบแทนเพิ่มเติม รวมไปถึงการจัดการกับความเหนื่อยล้าของพนักงาน เพิ่มนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่น เพื่อให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนและเติมพลังมากขึ้น เป็นต้น

ในทางตรงกันข้าม หากผู้นำไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของคนทำงาน คนรุ่นใหม่จะไม่อยากเข้าทำงาน โดยรายงานแนวโน้มอุตสาหกรรมสุขภาพของพนักงาน Wellable Labs ปี 2022 พบว่า 90% ของนายจ้างเริ่มเพิ่มการลงทุนในโครงการด้านสุขภาพจิต 76% เพิ่มการลงทุนในการจัดการความเครียดและโปรแกรมการฟื้นตัว และ 71% ลงทุนในโปรแกรมการฝึกสติและการทำสมาธิ เพื่อรองรับความต้องการส่วนนี้ด้วย

 2. สร้างคอมมูนิตี้ที่เปิดกว้างในการเรียนรู้ 

การที่องค์กรสร้างคอมมูนิตี้และวัฒนธรรมที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน มีสภาพแวดล้อมแบบมืออาชีพ เปิดโอกาสให้พนักงานใหม่ทำความรู้จักกันและถามคำถามในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและให้การสนับสนุนการทำงานของพนักงานหน้าใหม่  จะช่วยทำให้พนักงานไม่รู้สึกไร้ตัวตน แถมยังสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีไฟในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

ข้อมูลใหม่ที่น่าตกใจที่แสดงคือกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ที่อายุน้อยมีความเหงาเพิ่มขึ้น และรู้สึกว่ามี "ตัวตนในสังคม" น้อยลง ดังนั้นองค์กรจึงควรพิจารณาถึงประโยชน์ของคอมมิวนิตี้ในองค์กร มากกว่าแค่การปฐมนิเทศในวันแรกของการทำงาน ที่สามารถสร้างความประทับใจครั้งแรกให้กับพนักงาน Gen Z ที่ช่วยกระตุ้นให้มีไฟในการทำงานด้วย

 3. สนับสนุนคนรุ่นใหม่ 

คนรุ่นใหม่ชอบการพัฒนาตัวเอง สะท้อนจากรายงานความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานปี 2021 ของ Glint การมีโอกาสเรียนรู้และเติบโตเป็นปัจจัยอันดับหนึ่ง ที่ผู้คนคาดหวังและจะมองว่าองค์กรนั้นยอดเยี่ยม

องค์กรจึงควรมีเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ใหม่ และทำหน้าที่เป็นสปอนเซอร์คอยสนับสนุนให้ผู้มีความสามารถรุ่นต่อไป สามารถพัฒนาตัวเองในด้านวิชาชีพได้ โดยอีกวิธีหนึ่งในการสนับสนุนผู้มีความสามารถรุ่นเยาว์คือการฝึกสอนโดยเพื่อนร่วมงาน โดยอาศัย "กระบวนการที่เพื่อนร่วมงานสองคนช่วยกันสะท้อนถึงประสบการณ์ ให้การสนับสนุน สร้างทักษะ และจับคู่งานของพวกเขากับความรู้สึกของวัตถุประสงค์"

ดัชนีวัตถุประสงค์ด้านแรงงานในปี 2022 นั้น Imperative แพลตฟอร์มการฝึกสอนแบบเพื่อนฝูงพบว่าเกือบครึ่ง (46%) ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าพวกเขาพบว่าเป็นการยากที่จะหาเพื่อนที่ทำงาน และมากกว่าครึ่ง (57%) กล่าวว่าผู้จัดการของพวกเขาไม่ได้ช่วยเหลือให้การทำงานดีขึ้น

------------------------------

ที่มา: hbr.orgasaporg