ยลโฉม 'ซูเปอร์บลูมูน' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

ยลโฉม 'ซูเปอร์บลูมูน' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

ไม่ผิดหวัง! ชาวเชียงใหม่แห่ชม 'ซูเปอร์บลูมูน' (Super Blue Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี คืน 30 ส.ค.66 มองเห็นชัดๆด้วยตาเปล่า

ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่แห่ชมปรากฏการณ์ 'ซูเปอร์บลูมูน' (Super Blue Moon) ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน โดยตั้งแต่ช่วงเย็นถึงค่ำมีเมฆมาก ฟ้าเปิดเป็นบางช่วงจึงทำให้มองเห็นดวงจันทร์ที่โผล่ทะลุเมฆมาเป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะมองเห็นด้วยตาเปล่า สดร.ยังนำกล้องโทรทรรศน์หลากหลายขนาดมาติดตั้งให้ประชาชนได้ส่องดูดวงจันทร์กันอย่างชัดเจนถึงพื้นผิว สร้างความตื่นตาตื่นใจโดยเฉพาะเด็กๆที่ผู้ปกครองพามาดูจำนวนมาก 

 

ยลโฉม \'ซูเปอร์บลูมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

 

 

สำหรับ 'ซูเปอร์บลูมูน' เริ่มสังเกตได้เมื่อเวลาประมาณ 20:15 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 357,185 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงไกลโลกที่สุด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลาประมาณ 01:40 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,813 กิโลเมตร แสดงให้เห็นขนาดปรากฏที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน 

 

ยลโฉม \'ซูเปอร์บลูมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

 

โดยคืนวันที่ 30 สิงหาคมถึงเช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่ที่สุดในรอบปี เรียกว่า 'ซูเปอร์ฟูลมูน' (Super Full Moon) และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ 'บลูมูน' จึงเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า 'ซูเปอร์บลูมูน' (Super Blue Moon) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เมื่อเปรียบเทียบขนาดปรากฏของดวงจันทร์ขณะใกล้โลกที่สุดกับดวงจันทร์เต็มดวงขณะไกลโลกที่สุดแล้ว อาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าถึง 14% และสว่างเพิ่มขึ้นถึง 30% เป็นผลจากการที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากขึ้น ขนาดปรากฏใหญ่ขึ้น จึงมองเห็นสว่างยิ่งขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ในช่วงหัวค่ำของคืนดังกล่าวยังมี 'ดาวเสาร์' ปรากฏสว่างข้างดวงจันทร์อีกด้วย 

 

ยลโฉม \'ซูเปอร์บลูมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

 

 

สำหรับ 'บลูมูน' (Blue Moon) ไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน แต่หมายถึงวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึงสองครั้งใน 1 เดือน คือช่วงต้นเดือนและปลายเดือน บลูมูนครั้งนี้นับเป็นบลูมูนในรอบ 3 ปี ครั้งล่าสุดที่เกิดบลูมูนคือวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ซึ่งในครั้งนั้นนอกจากจะตรงกับวันฮาโลวีนแล้ว ยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) พอดีอีกด้วย 

 

ยลโฉม \'ซูเปอร์บลูมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

 

และปรากฏการณ์ 'ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี' ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ส่วนปรากฏการณ์บลูมูนครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2569 

 

ยลโฉม \'ซูเปอร์บลูมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

 

ยลโฉม \'ซูเปอร์บลูมูน\' ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในคืน 30 ส.ค.

 

โดย ธนกร วงศ์นาง จ.เชียงใหม่