หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567 คำคมชีวิต มงคลชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567 คำคมชีวิต มงคลชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567 คำคมชีวิต มงคลชีวิต "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ในวันพระ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธมองโลกความจริง "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" เป็นเรื่องธรรมดา "เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป"

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" พามาเปิด"หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567" คำคมชีวิต มงคลชีวิต "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ในวันพระ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน

"วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา" ให้เราชาวพุทธมองโลกความจริง พึงเตือนตนเสมอว่ากายสังขารไม่เที่ยง "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น มีเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา "เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป"

 

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567 คำคมชีวิต มงคลชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

วันอัฏฐมีบูชา 2567 ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันพระ (ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการหรือเอกชน)

เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ ของพระพุทธเจ้า เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน 

 

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567

พุทธศาสนิกชน ควรตระหนักว่า ชีวิตคืออะไร เข้าใจว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นของไม่เที่ยง การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น จะได้ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น

หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ 

ไตรลักษณ์ คือ อนิจจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนให้ยึดถือ แม้แต่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาก็ไม่อาจหนีพ้นไปได้ พระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าก็ถูกเพลิงแผดเผา จนเหลือแต่อัฐิธาตุ

อนิจจตา

  • ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป เกิดดับ มีแล้ว ไม่มี เป็นของแปรปรวนเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อย อยู่ได้ชั่วขณะเป็นครั้งคราว เป็นอนิจจัง

ทุกขตา

  • ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไปเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไป บังคับให้คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นเพราะมีตัณหาอุปาทาน

อนันตตา

  • สภาวะความเป็นอนัตตา ความไม่มีตัวตน จากความเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นของใครจริง ไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับได้ตามปรารถนา เป็นไปตามเหตุปัจจัยโดยธรรมชาติ ขันธ์ 5 ทั้งหลายล้วนเป็นอนัตตา

หลักธรรมสุจริต 3 

สุจริต 3 หมายถึง ความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำประสบแต่ความสงบสุข สุจริตแสดงออกได้ 3 ทาง คือ

ทางกาย 

  • กายสุจริต หมายถึง ความประพฤติดีที่แสดงออกทางกาย ได้แก่ การเว้นจากการฆ่าสัตว์

ทางวาจา 

  • วจีสุจริต หมายถึง ความประพฤติที่เกิดทางวาจา ได้แก่ การเว้นจากการพูดโกหก การเว้นจากการพูดส่อเสียด

ทางใจ 

  • มโนสุจริต หมายถึง ความประพฤติดีทีเกิดทางใจ ได้แก่ การไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น และเห็นถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม

 

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567 คำคมชีวิต มงคลชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

 

คำคมชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

  • สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ควรสงบระงับไปแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข : มหาสุทัสสนชาดก 
  • ต่อเมื่อเราเปิดตาให้เห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าเท่านั้น จึงจะเกิดปัญญาในการใช้เวลาที่มีอยู่ร่วมกันอย่างแสนสั้นบนโลกใบนี้ให้ดีที่สุดได้ : พระอาจารย์ชยสาโร
  • "ทุกข์" ก็ไม่เที่ยง "สุข" ก็ไม่แน่นอน "ชีวิต" ก็ไม่ยั่งยืน "กรรม" คือสิ่งผูกพันที่สุด "ความตาย" คือสิ่งจริงแท้แน่นอน อยากหลุดพ้นจาก "ทุกข์" อยากพ้น "บ่วงกรรม" ทั้งหลาย ต้องหมั่นสร้าง "บุญกุศล" : ธัมมวิชชา ภิกษุณี
  • คนบางคนเป็น "ยาจก" ในวันนี้ แต่อาจเป็น "เศรษฐี" ในวันหน้า อย่าใช้วาจาความคิด "ดูหมิ่น" ผู้อื่น ฐานะของคน "ไม่เที่ยงแท้แน่นอน" ทุกอย่างล้วนเป็น "อนิจจัง" ทั้งสิ้น  : ธัมมวิชชา ภิกษุณี
  • การที่สังขารไม่เที่ยงนั้นแหละกลายเป็นมีประโยชน์ ถ้าสังขารมันเที่ยงเสียแล้วมันก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ มันก็ตายด้านชะงักงัน  : พุทธทาสภิกขุ
  • ชั่วดีอยู่ที่การกระทำ ดีชั่วไม่ได้อยู่ที่ดวงที่เวลา การกระทำของเราที่ทำลงไปนั่นแหละ ทำให้เวลาดีชั่ว : พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
  • ศีลธรรม คือเครื่องคุ้มครอง ถ้าศีลธรรมจากเราไป เราก็ขาดหลักประกัน เหมือนอยู่บ้านที่ไม่มีหลังคา : พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)
  • ลูกหลานเอ๋ย... การทำหน้าที่คือการปฏิบัติธรรม จงทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดอย่าได้ทุจริตต่อหน้าที่เลย : หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ 
  • บุคคลที่ทนในสิ่งที่บุคคลที่ทนในสิ่งที่ทำในสิ่งที่คนอื่นทำได้ยาก บุคคลนั้น จะเข้าถึงความสำเร็จของชีวิต ความอดทน ความขมขื่นจะเกิดขึ้นในเบื้องต้น ของการทำความดี แต่จะได้รับความชื่นชมในบั้นปลาย : หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
  • แก่นแท้ของธรรมอยู่ที่สติ จงหมั่นทำสติ ให้แก่กล้า สติ ทำอะไรไม่ผิดพลาด : หลวงปู่ขาว อนาลโย
  • คนที่ควบคุม อารมณ์ได้ คือ..ผู้ชนะ แต่คนที่ใช้ อารมณ์ กับผู้อื่นดูเหมือนจะชนะ แต่ที่จริงแล้วคุณแพ้ ตั้งแต่เริ่มใช้อารมณ์ : หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
  • จงอย่าทำร้ายตนเอง ด้วยความคิดและอย่าทำร้ายคนใกล้ชิด ด้วยวาจา : หลวงปู่ศุข เกสโร

 

หลักธรรมคำสอนวันอัฏฐมีบูชา 2567 คำคมชีวิต มงคลชีวิต ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน

  • ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างในโลกนี้เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้นไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุขละได้ย่อมสงบ : หลวงปู่ทวด 
  • มนุษย์จะทุกข์ได้ ก็เพราะว่ายึดในอดีตฟุ้งในอนาคต ที่ยังมาไม่ถึงและไม่รู้หน้าที่ในปัจจุบันจึงทำให้ มนุษย์นั้น หาหลัก หาทางไปไม่เจอ : สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
  • การขับรถอย่างระมัดระวังไม่ประมาทสำคัญกว่าการเจิมอย่างโบราณท่านว่าวิ่งไม่ดูตาม้าตาเรือก็ชนกันตายการขับรถจะต้องดูทาง ถ้ามันคดโค้งจะต้องระมัดระวัง : หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
  • ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้ : หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ
  • ผู้ชนะย่อมก่อเวรผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์คนละความชนะและความแพ้ได้แล้วสงบใจได้ย่อมนอนเป็นสุข : หลวงปู่ศุข เกสโร