"หลวงปู่ติช นัท ฮันห์" กับคำสอนที่นำมาใช้กับชีวิตได้เสมอ

"หลวงปู่ติช นัท ฮันห์" กับคำสอนที่นำมาใช้กับชีวิตได้เสมอ

ย้อนหลักคำสอนหลวงปู่ "ติช นัท ฮันห์" ที่ได้มรณภาพในวัย 95 ปี เมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 22 ม.ค.2022 ที่วัดในเมืองเว้ของเวียดนาม

ย้อนหลักคำสอนหลวงปู่ "ติช นัท ฮันห์" ที่ได้มรณภาพในวัย 95 ปี เมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 22 ม.ค.2022 ที่วัดในเมืองเว้ของเวียดนาม ซึ่งนักบวชผู้พูดได้ 7 ภาษาด้วยความที่คำสอนของท่านนั้นเรียบง่ายและลึกซึ้ง สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้มีคนศรัทธาอย่างมากมาย 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- หลวงปู่ ‘ติช นัท ฮันห์’ มรณภาพในวัย 95 ปี

 

"ติช นัท ฮันห์" มีชื่อเดิมว่า เหวียน ซวน เบ่า เกิดเมื่อปี พ.ศ.2463 บวชเป็นสงฆ์ในช่วงที่โฮจิมินห์ เป็นผู้นำปลดปล่อยเวียดนามออกจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส เคยบรรยายที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและโคลัมเบียในสหรัฐช่วงต้นทศวรรษ 60

 

เมื่อ "ติช นัท ฮันห์" กลับประเทศเวียดนามเมื่อปี พ.ศ.2506 ได้ร่วมกับพระสงฆ์พุทธฝ่ายค้านที่กำลังต่อต้านสงครามเวียดนามมากขึ้นทุกขณะถึงขนาดที่พระสงฆ์หลายรูปประท้วงพลีชีพ

 

ติช นัท ฮันห์ เขียนไว้เมื่อปี 2518 ว่า "ข้าพเจ้าเห็นคอมมิวนิสต์และฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ฆ่าและทำลายล้างกันเอง เพราะต่างฝ่ายต่างเชื่อว่าพวกเขาผูกขาดความจริงเพียงฝ่ายเดียว เสียงของข้าพเจ้าถูกกลบด้วยระเบิด ปืนครก และเสียงตะโกนก้อง"

 

"ติช นัท ฮันห์" คำสอนที่นำมาใช้กับชีวิตได้เสมอ

 

  • ถ้าคนที่มาพูดกับเราใช้วาจาที่ทำร้ายผู้อื่นเราควรทำอย่างไร?

- ในระหว่างที่เราฟังด้วยความกรุณา เราจะตั้งใจรับฟังเพื่อให้เขาพูดอย่างเปิดใจ มีความทุกข์น้อยลง นี่คือการฟังอย่างลึกซึ้งด้วยหัวใจกรุณา ซึ่งมี 2 ประการคือ เราก็จะได้รับการปกป้องจากพลังของความกรุณา และจำไว้เสมอว่าเราต้องการให้คนๆนั้นพูดในสิ่งที่อยู่ในใจของเขา และถ้าเราสูญเสียความกรุณา เราก็ไม่ควรนั่งอยู่ตรงนั้นเพื่อที่จะรับฟัง ก็ให้บอกไปว่า ให้คุยกันในวันถัดไป เพราะเราต้องฝึกฟังด้วยความกรุณา

 

จุดประสงค์การรับฟังอย่างกรุณา คือ ให้คนๆ นั้นมีความทุกข์น้อยลง ถ้าคนๆ นั้นมีความทุกข์ เขาก็ไม่สามารถใช้วาจาแห่งรัก ในคำพูดจึงมีความโกรธ ความขมขื่น นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องรับฟังด้วยความกรุณา

 

 

  • หากคนๆนั้นมีคำพูดที่เต็มไปด้วยการดูถูก ดูแคลน และสร้างความเจ็บปวด เราจะฝึกรับฟังและพูดอย่างมีกุศโลบายอย่างไร

- เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอีกฝ่าย การรับฟังอีกฝ่ายเป็นสิ่งที่เธอจำเป็นต้องฟัง ถ้าสามารถเห็นความทุกข์ในตัวเขา เธอก็สามารถรับฟังได้ ไม่ว่าจะวิธีใด ถ้าเธอรับฟังด้วยความกรุณาอีกฝ่ายหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนวิธี

 

  • ครูจะนำหลักธรรมมาใช้ในโรงเรียนอย่างไร หากผู้บริหารไม่เห็นด้วย 

- เรามีวิธีมากมายที่จะนำคำสอนไปใช้ในโรงเรียน การฝึกเจริญสติไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องศาสนาอย่างเดียว เราสามารถปรับการสอนในห้องเรียนได้ อาจเริ่มต้นจากการตามลมหายใจอย่างมีสติ

 

ถ้าเรามีกุศโลบาย เราไม่ควรแสดงตนว่าเราเก่งกว่าครูคนอื่น ถ้าเรานำไปใช้ในการเรียนได้ การสอนก็จะดีขึ้น ยกตัวอย่าง การนำเรื่องการผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ไปใช้ในห้องเรียน เราก็จะได้รับผลในทางที่ดี และเราควรหาเวลาสนทนากับครูคนอื่น และผู้บริหารว่าจะทำให้การเรียนการสอนดีขึ้นอย่างไร

 

ถ้าครูมีการฝึกปฏิบัติด้วยวิถีแห่งสติ ทั้งการเดิน นั่ง ยิ้มอย่างมีสติ คุณครูก็จะได้รับการชื่นชม ลองจินตนาการดู ถ้าเรามีครูสักคน เมื่อจอดรถแล้วเดินด้วยวิถีแห่งสติมาทำงานด้วยความเบิกบาน ยิ้ม คุณครูคนนั้นจะมีสัมพันธภาพที่ดี การฝึกสติได้เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนได้ด้วย

 

  • เมื่อปฏิบัติเจริญสติแล้ว จะรักษาจิตใจ เพื่อรับมือกับความโกรธอย่างไร

- การปฏิบัติที่ดี ไม่ควรบังคับมากเกินไป จะทำให้เรามีความทุกข์ เนื่องจากพระธรรมมีความงดงามในเบื้องต้น เบื้องกลางและเบื้องสูง และเราไม่มีหนทางไปสู่ความสุข ความสุขคือหนทาง ไม่มีหนทางไปสู่นิพพาน เพราะนิพพานคือหนทาง ถ้าเธอมีความทุกข์ นั่นก็ไม่ใช่การปฏิบัติที่ดี เราต้องเบิกบานในการปฏิบัติก่อน

 

  • ถ้าจะฝึกปฎิบัติที่จะรักคนที่ทำร้ายเรา ควรทำอย่างไร

- ถ้าคุณพ่อของเรามีความทุกข์ แล้วไม่รู้วิธีรับมือ เขาก็จะส่งทอดความทุกข์ให้เรา ถ้าเรามองเข้าไปในตัวเรา เราก็จะเห็นความทุกข์ของคุณพ่อในตัวเรา เรียกว่า สังสารวัฏ เพราะเราคิดว่าคุณพ่ออยู่นอกตัวเรา นั่นไม่ใช่ความจริง

 

คุณพ่ออยู่ในตัวเรา ความสุขและความทุกข์มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย ถ้าเราไม่รู้วิธีแปรเปลี่ยนความทุกข์ในตัวเรา เราควรเปลี่ยนแปลงคุณพ่อที่อยู่ในตัวเรา เราคือผู้สืบทอด เรากำลังนำคุณพ่อในตัวเราเข้าไปสู่อนาคต