ไม่เจอง่ายๆ หาดูยาก นกหว้า พญาระกาแห่งป่าใต้ อวดโฉมประจำถิ่น อุทยานฯ ทะเลบัน
เผยโฉม "นกหว้า" ไม่เจอง่ายๆ หาดูยาก พญาระกาแห่งป่าใต้ อวดโฉมประจำถิ่น อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล จุดเด่นนกขนาดใหญ่ สัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้า เสียงร้องดัง "หว่าว ว้าว" ก้องกังวานทั่วทั้งผืนป่า ประกาศอาณาเขตครอบครองพื้นที่ เกี้ยวพาราสี ร้องให้ตัวเมียผสมพันธุ์ในลานนกหว้า
ชวนมาทำความรู้จักกับ "นกหว้า" พญาระกาแห่งป่าใต้ ที่ไม่เจอง่ายๆ หาดูยาก อวดโฉมประจำถิ่นบนอุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล จุดเด่นนกขนาดใหญ่ สัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าของประเทศไทย เสียงร้องดัง "หว่าว ว้าว" ก้องกังวานทั่วทั้งผืนป่า เพื่อประกาศอาณาเขตครอบครองพื้นที่ เกี้ยวพาราสี เรียกร้องให้ตัวเมียเข้ามาผสมพันธุ์ในลานนกหว้า
ทำความรู้จัก "นกหว้า" พญาระกาแห่งป่าใต้
- นกหว้า พญาระกาแห่งป่าใต้ (Great Argus)
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘼𝙧𝙜𝙪𝙨𝙞𝙖𝙣𝙪𝙨 𝙖𝙧𝙜𝙪𝙨
- วงศ์ : 𝗣𝗛𝗔𝗦𝗜𝗔𝗡𝗜𝗗𝗔𝗘
ลักษณะโดดเด่นของนกหว้า
เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ จัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าของประเทศไทย มีลักษณะหัวและคอไม่มีขน เป็นหนังสีฟ้าเข้ม แข้งและตีนสีแดง ขนลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดง
นกหว้า ตัวผู้-ตัวเมีย แตกต่างกัน
ตัวผู้จะมีลักษณะที่แตกต่างกับตัวเมียอย่างเห็นได้ชัดเจน
- ตัวผู้จะมีขนลำตัวด้านบนมีจุดสีเนื้อละเอียดกระจายทั่ว ขนกลางปีกยาวมากมีลายเป็นวงใหญ่สีเนื้อ ขนหางคู่ยาวมากกว่า 130 ซม.
- ตัวเมียขนกลางปีกและหางไม่ยาวเหมือนตัวผู้ เสียงร้องดัง “หว่าว ว้าว” ก้องกังวานไปทั้งผืนป่า
นกตัวผู้ใช้เสียงร้องเพื่อประกาศอาณาเขตครอบครองพื้นที่และเพื่อเกี้ยวพาราสี เรียกร้องให้ตัวเมียเข้ามาผสมพันธุ์ในลานนกหว้า
นกหว้ากินเมล็ดพืช ผลไม้ที่หล่นตามพื้นดิน แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน ปลวก สัตว์เล็ก ๆ ตามพื้น
ถิ่นอาศัยของนกหว้า
เป็นนกประจำถิ่น ประเทศไทยพบทางภาคใต้ ซึ่งค่อนข้างหายาก อาศัยอยู่ตามป่าทึบ ป่าดิบชื้น ในระดับเชิงเขาจนกระทั่งถึงระดับความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล
อ้างอิง-ภาพ : ฝ่ายศึกษาวิจัยและกิจกรรมพิเศษ อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล , สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) ,องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ,กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช