ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี 'พื้นที่ความสุขในความทรงจำ' !!

ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี 'พื้นที่ความสุขในความทรงจำ' !!

"เรืองศักดิ์ ปัดถาวะโร" บอกเล่าผ่านภาพ! ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี "พื้นที่ความสุขในความทรงจำ" บางอย่างที่ไม่ควรหลงลืม-เลือนหาย!?

ภาพวาดมีพลังแห่งจินตนาการ และเปิดแง่มุมโลกทัศน์ของเราได้มากมาย และเกิดความงามในการสร้างพื้นที่อันสุนทรีย์ในจิตใจ เสมือนสื่อความสุขจากเฟรมผ้าใบที่ศิลปินได้ก่อขึ้นอันวิจิตร

จึงไม่แปลกที่ "พื้นที่ความสุขในความทรงจำ" (only yesterday) โดย "เรืองศักดิ์ ปัดถาวะโร" (Reangsak Padthawaro) จะกลายเป็นภาพสะท้อนสิ่งเหล่านั้น

ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี \'พื้นที่ความสุขในความทรงจำ\' !!

"เรืองศักดิ์" มีฝีมือวาดภาพตั้งแต่วัยเยาว์ เก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต การลงพื้นที่ทัศนาวิถีชีวิตคนอีสานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยเรียนทัศนศิลป์ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และจบปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยกำลังจัดแสดงภาพวาดเดี่ยวครั้งแรก ที่หอศิลป์จามจุรีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อนิทรรศการว่า "พื้นที่ความสุขในความทรงจำ"

ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี \'พื้นที่ความสุขในความทรงจำ\' !!

เพิ่งเปิดงานนิทรรศการไปเมื่อวานนี้ (26ม.ค.) โดย อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เป็นประธานในงาน ซึ่งได้กล่าวถึงผลงานของเรืองศักดิ์ว่า "ผมเห็นงานเรืองศักดิ์ ผมมั่นใจว่าจะเป็นศิลปินที่สร้างสะสมประสบการณ์ขึ้นมา ศิลปินเราไม่จำเป็นจะคิดว่าต้องแสวงหาอะไรใหม่ๆ จนไม่รู้ว่าเป็นอะไร ห่างจากความเป็นจริง แต่มองรอบข้างตัวเอง ถ้าเราเห็นว่า อะไรที่คนไม่มอง แล้วเราหยิบขึ้นมาได้ บอกถึงความเป็นตัวตนของเรา อันนั้นคือสิ่งใหม่ ปัจจุบันศิลปะที่พูดถึงอารยธรรมนั้น ทุกคนลืมไปแล้ว แต่นี่คือการรื้อฟื้นกลับมาใหม่ มันน่าจะดีขึ้น เพราะมันมีจิตวิญญาณอยู่ในนั้น เพราะฉะนั้นอยากชื่มชมศิลปิน อย่าคิดว่างานของเราล้าสมัย เพียงแต่ว่าต้องหยิบขึ้นมาบอกเล่าในแง่มุมใหม่"

ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี \'พื้นที่ความสุขในความทรงจำ\' !!

ขณะที่ ศาตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ได้เขียนถึงเรืองศักดิ์ไว้ในสูจิบัตร ว่า "จิตรกรรมที่มีเรื่องราวง่ายๆ ในมุมมองธรรมดาสามัญของเรืองศักดิ์ ปัดถาวะโร คุณค่าอยู่ที่ไหน เราเรียกว่าศิลปะเพราะอะไร หรือนี่คืองานสร้างสรรค์ใช่หรือไม่ ควรเป็นคำถามสำหรับคนดูทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับการดูงานศิลปะ คำตอบก็คือ ผลงานของเรืองศักดิ์นั้น มีความงามที่เรียกว่าสุนทรียภาพ เพราะเป็นความงามที่มีความเป็นจริง ทั้งที่เป็นเรื่องราวของวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจริงๆ ที่เรืองศักดิ์ต้องเดินทางไปกลางไร่กลางนา เพื่อศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย ทำภาพร่างและวาดภาพในสถานที่จริง"

ลึกซึ้งในวิถีอีสานเหนือ.. ยังมี \'พื้นที่ความสุขในความทรงจำ\' !!

ขณะเดียวกัน ศิลปินและอาจารย์ที่ชื่นชมในผลงานต่างๆมาร่วมงาน อาทิ อาจารย์ชูศักดิ์ วิศนุคำรน, อาจารย์ศุภวัตร ทองละมุล , อาจารย์ห่มสวรรค์ อู่ม่านทรัพย์ , อาจารย์ปรีชา ราชขันธ์ , อาจารย์เพลิง วัตสาร , อาจารย์ไตรรัตน์ ศรีบุรินทร์, อาจารย์สุทัศน์ สุปัญญา อาจารย์พันธ์ศักดิ์ แก้วสลับนิล อาจารย์ศักชัย อุทธิโท , อาจารย์ธนศักดิ์ โพธิ์ศรีคุณ , อาจารย์อุตสาห์ ไวศรีแสง อาจารย์เพียงเพ็ญ บุษมงคล และคุณภูมิศักดิ์ พึ่งตาแสง

ส่วนเพื่อนสมัยเรียน มมส ต่างมาร่วมชื่นชมยินดี อย่าง "กำ" บุญนำ สาสุด ศิลปินนักวาดภาพมือรางวัล, "ครูต่าย" มานะชัย วงษ์ประชา ร.ร.จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร, "แจ็ค" สถิตย์ ผลทิพย์ อดีตนายกองค์การนิสิต มมส วิทยากรด้านการพัฒนา และนิติราษฎร์ บุญโย บรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น

สำหรับงานจัดแสดงระหว่างวันที่ 17 มกราคม - 8 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง 1 หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ เรืองศักดิ์ ระบุว่า การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุด "พื้นที่ความสุขในความทรงจำ" เป็นการศึกษา ค้นคว้า กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมภูมิทัศน์ในรูปแบบเฉพาะตัว โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เรียบง่าย สมถะ พอเพียง ของคนในชนบทอีสานเหนือ ซึ่งมีวิถีชีวิตประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก ดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

โดยการลงพื้นที่ตามชนบทอีสานตอนเหนือ เพื่อหามุมมองที่ประทับใจ รวมทั้งค้นคว้าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอีสานเหนือจากผลงานทางวิชาการต่างๆ และรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการสร้างสรรค์โดยการวาดภาพจากภูมิทัศน์ในสถานที่จริงและได้นำเอาข้อมูลที่ค้นคว้าจากทางด้านวิชาการ นำมาประกอบเพื่อให้ภาพสื่อถึงความสงบสุขในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชนบทอีสานเหนือได้สมบูรณ์



ตามวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิควิธีการระบายสีน้ำมันบนผ้าใบให้เสร็จในครั้งเดียว ถ่ายทอดคุณค่าความงดงามของวิถีชีวิต ภูมิปัญญาที่เรียบง่าย พอเพียงและสงบสุขของคนชนบทอีสานเหนือ