'5 มารร้ายทางการเงิน' ที่ควรกำจัด ต้อนรับปีใหม่

'5 มารร้ายทางการเงิน' ที่ควรกำจัด ต้อนรับปีใหม่

เริ่มต้นปีใหม่แล้ว หลายคนคงอยากเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้ตัวเองดีขึ้นในหลากหลายด้าน เช่นเดียวกับการเงิน การวางแผนหรือกำจัดมารร้ายในจิตใจที่จะทำให้การเงินชักหน้าไม่ถึงหลัง นับเป็นเรื่องที่ดี มาดูกันว่าเหล่ามารร้าย 5 สิ่งที่ต้องกำจัดมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนและวิธีการวางแผนการเงินนั้น ต่างมีกูรูผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินหลายท่านๆ ต่างได้แนะนำเอาไว้อย่างหลากหลายมากมาย แต่ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูบ้างไหมครับว่า ทำไมบางวิธีที่ดูเหมือนจะง่าย แต่พอทำเข้าจริงๆ นั้นกลับยาก ไม่เห็นเหมือนที่เขียนแนะนำกันมาเลย นั่นก็เป็นเพราะว่าในเรื่องการวางแผนการเงินนั้น กลเม็ด เคล็ดลับต่างๆ มีไว้เพื่อให้เรานำมาปรับใช้เพิ่มเติมกับแผนการเงินของเรา ให้สามารถไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น

แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกวิธีจะเหมาะกับทุกคน ซึ่งก่อนจะนำมาปรับใช้กับแผนการเงินของตัวเราเองสิ่งแรกๆ ที่จำเป็นในการเริ่มวางแผนการเงินก็คือ เราจะต้องมีการวิเคราะห์ หรือประเมินสถานะทางการเงินของตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก ว่าเรามีรายได้ รายจ่าย หรือหนี้สินอยู่เท่าไหร่ เพื่อมากำหนดสัดส่วนในการออม

"ตระหนักและจัดการปัญหา ก็จะทำให้เป้าหมายทางการเงินของเราไม่คลาดเคลื่อน" 

อย่างที่สองคือ ดูพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเราว่าเป็นอย่างไร หากใช้จ่ายใกล้เคียงหรือพอดีกับรายได้ เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นได้ไหม เพื่อให้มีการออมมากขึ้น และสามารถเริ่มลงมือวางแผนการเงินได้อย่างจริงจัง อย่างสุดท้ายคือเรื่องที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ "เรื่องของวินัย" ไม่ว่าจะเป็นความใส่ใจในการออมเงิน การมีวินัยในการลงทุนแบบสม่ำเสมอ หรือการมีวินัยในการตรวจสอบเช็คแผนการเงินเป็นระยะๆ และลงมือทำตามแผนที่วางไว้

ซึ่งการมีวินัยในการทำตามแผนที่เราตั้งไว้นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวต่อไป นั่นก็คือตัว "มารร้าย" เพราะสิ่งๆ นี้ อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราขาดวินัยในการวางแผนการเงินได้ และจะเป็นตัวทำให้เป้าหมายทางการเงินของเราเกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่าย โดยมารร้ายที่เราควรกำจัดมี ด้วยกันอยู่ 5 ข้อ ดังนี้ครับ 

ข้อแรก "สิ่งที่เกินความจำเป็น" เมื่อยามที่เรามีรายได้สูงก็เป็นธรรมดาที่จะมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้ดีขึ้นตามช่วงวัยและฐานะทางสังคม โดยบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่เกินความจำเป็นไปมาก เช่น ซื้อบ้านหลังโต หรือคฤหาสน์หลังใหญ่ หรือซื้อรถยนต์ ที่หรูหราเกินความจำเป็น ซึ่งการได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้แน่นอนว่า เราต้องจ่ายเงินในจำนวนที่มากขึ้น นั่นจึงทำให้การเก็บออมเงินของเราลดน้อยลงตามลำดับ ส่งผลให้เป้าหมายการเงินที่วางไว้แต่แรกไม่สามารถไปถึงได้ตามเวลาที่กำหนด

157805559655

ข้อที่สอง "ปัจจัยภายนอกที่มาเร้ากิเลส" ทำให้เรารู้สึกว่าต้องมีระดับในมาตรฐานการครองชีพที่ดีอยู่ทุกช่วงระยะเวลา ด้วยการบริโภคสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น เช่น ต้องมีสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ กล้องถ่ายรูปตัวใหม่ มากระตุ้นให้เราต้องเข้ากับยุคสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีทางเลือกในการจับจ่ายซื้อของ เช่น มีบริการให้กู้ยืม หรือผ่อนชำระ 0% หรืออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเมื่อตัดสินใจซื้อหรือบริโภคแล้วก็ต้องมีภาระในการใช้หนี้คืน ทำให้เบียดบังเงินที่จะต้องใช้ออมให้ลดลงไป

ข้อที่สาม "ค่าใช่จ่ายครอบครัวที่ปรับเพิ่มขึ้นตลอดเวลา" ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่าเข้า Campus หรือ Summer course ในต่างประเทศของลูก คำถามคือ นักลงทุนตัวเล็กๆ อย่างเรา ควรทำอย่างไรในภาวะเช่นนี้ เพื่อตอบคำถามดังกล่าว ผมมีสองทางเลือกอยู่ในใจ

ทางเลือกแรก ได้แก่ การหาวิธีลงทุนแบบเชิงรับ เช่น อาจจะเลือกซื้อกองทุนหุ้น ไม่ว่าหุ้นไทยหรือต่างประเทศ โดยพิจารณาจากสถิติผลตอบแทนในอดีต และ หาเหตุเพื่อเชื่อมโยงสู่ผล ว่าผลตอบแทนนั้นเกิดจากอะไร มีแนวโน้มที่จะดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่ หรือถ้ามีความรู้-ทุนทรัพย์มากขึ้นหน่อย ก็อาจเลือกลงทุนใน private fund ที่เราสามารถกำหนดเกณฑ์ในการเลือกหุ้นเองได้ แต่นั่นก็ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ในระดับหนึ่ง

ส่วนทางเลือกที่สอง คือหันไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ โดยไม่อิงกับประเทศใด ประเทศหนึ่ง ซึ่งช่วงนี้อาจเป็นโอกาสอันดีที่จะเริ่มต้น เพราะค่าเงินบาทไทยแข็งขึ้นเป็นค่าเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเพื่อเปิดโลกทัศน์ที่เป็นทั้งประโยชน์ และเป็นทั้งข้ออ้างเพื่อยกระดับฐานะทางสังคมไม่ให้ลูกอายเพื่อน แต่เมื่อเสียเงินไปแล้วสิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ การสอนลูกให้รู้จักค่าของเงินที่เราจ่ายไป ความยากลำบากในการได้เงินมา และความรู้หรือประสบการณ์ที่ลูกควรต้องเก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุด

157805572874

ข้อที่สี่ "กระจายการลงทุนให้กว้าง" นอกเหนือจากการออมเงินก็คือการนำเงินออมนั้นไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน หรือสร้างรายได้เพิ่มเติม เราควรที่จะวางแผน ด้วยการกระจายการลงทุนไปในหลายๆ ด้าน อย่ากระจุกตัวอยู่ที่แหล่งเดียว เพราะความผันผวนทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้เสมอ และเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ และกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านการเงิน คือ การออมให้เร็วและทำให้ได้ ผลตอบแทนที่ดีพอ ซึ่งควรมีเงินออมเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในการลงทุน ตลอดจนการเลือกสินทรัพย์ลงทุนก็ต้องมีความรู้ และมีความเข้าใจที่จะรับกับความเสี่ยงจากผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย

ข้อสุดท้าย "โรคภัยไข้เจ็บ" เมื่อมีอายุมากขึ้นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทัน โรคความดัน โรค เบาหวาน ต่างๆ เหล่านี้ก็มีโอกาสที่จะมาเยือน ซึ่งโรคเหล่านี้ค่ารักษาพยาบาลจะค่อนข้างสูงและต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งถ้าไม่มีประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ที่เพียงพอต่อภาระที่ต้องจ่ายก็จะมาเบียดบังเงินออมให้ลดน้อยลง หรืออาจทำให้คนที่อยู่ข้างหลังเรามีปัญหาได้ หากเราเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว ดังนั้นการวางแผนการเงินที่สำคัญและขาดไม่ได้คือ การทำประกันชีวิต และประกันสุขภาพอย่างเพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงในการใช้ชีวิต

หากกำจัดมารร้ายทั้ง 5 แล้ว ก็อย่าลืมที่จะประคองให้ตัวเรามีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ เพื่อให้เกิดเงินออมอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ถ้ามีการตระหนักและจัดการปัญหาดังกล่าวได้ดี ก็จะทำให้เป้าหมายทางการเงินของเราไม่คลาดเคลื่อน และจะเป็นการวางแผนที่เกิดทั้งความมั่งคั่ง และยั่งยืนได้ครับ แล้วกลับมาพบกันใหม่ในครั้งหน้า สำหรับวันนี้สวัสดีครับ