เรียนออนไลน์ พัฒนาทักษะกับ ‘MOOC’
จากวิกฤติโควิด-19 ทำให้คาดการณ์ได้ว่าโลกหลังยุควิกฤตินี้จะมีความเสี่ยงสูง สิ่งหนึ่งที่สำคัญในอนาคตคือการพัฒนาตัวเอง ทั้งทักษะและความรู้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท ซึ่งการเรียนออนไลน์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำได้ เช่น MOOC แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์
มีการประมาณการว่าโลกยุคหลังโควิด จะเป็นโลกที่มีความเสี่ยงสูงทั้งในทางเศรษฐกิจและสุขอนามัย การพัฒนาตนเองเพิ่มพูนทักษะจะเป็นทั้งบันไดสู่ความก้าวหน้าและเครื่องป้องกันการถูกพักงาน ในช่วงที่ต้องหยุดทำงานอยู่บ้าน (WFH) การพัฒนาตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผมเคยเขียนถึงการเรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เสนอชุดความรู้ฟรีในแขนงต่างๆ มากมายที่เรียกว่า MOOC
MOOC (Massive Open Online Course) คือ การเรียนการสอนระบบเปิดสำหรับทุกคน ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้รับการตอบรับอย่างมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากนำเสนอหลักสูตรที่ตรงใจประชาชนคนทั่วไปแล้ว หลักสูตรเหล่านี้ยังจัดทำโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
MOOC นอกจากเสนอหลักสูตรที่พัฒนาตนเองเพื่อเป็นแรงงานที่มีคุณภาพต่อระบบตลาดแล้ว ยังนำเสนอหลักสูตรที่จรรโลงยกระดับความรู้และจิตใจ เช่น ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ภาษา ศิลปะ วรรณกรรม เรียกได้ว่าครบถ้วนเหมาะแก่การฆ่าเวลาในช่วงที่ต้องหยุดอยู่บ้านนี้ได้อย่างดี
การเรียนการสอนใน MOOC นั้นมีทั้งความเหมือนและต่างกับการเรียนการสอนจริงๆ ในห้องเรียนจริงๆ กล่าวคือ มีบทเรียนต่างๆ การลง เวลาเรียน ต้องอ่านหนังสือเพราะมีการทำแบบฝึกหัด และมีการสอบ เพียงแต่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้าห้องเรียน คือเรียนอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลก ขอให้มีวินัยเท่านั้น
MOOC ถือเป็นทางเลือกในการสร้างแต้มต่อ หรือสร้างโปรไฟล์ เพราะนอกจาก MOOC จะเสนอคอร์สออนไลน์ที่ตอบโจทย์อันเป็นที่ต้องการของบริษัทต่างๆ แล้ว ยังเสนอประกาศนียบัตรให้ผู้เรียนอีกด้วย ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดกับนายจ้าง โดยบริการออกประกาศนียบัตรนี้มีค่าใช้จ่าย ซึ่งก็นำมาพัฒนาระบบเครือข่าย MOOC และรักษาคุณภาพ โดยรวมของหลักสูตรต่อไป
MOOC ถือเป็นทางเลือกในการสร้างแต้มต่อ หรือสร้างโปรไฟล์ เพราะนอกจาก MOOC จะเสนอคอร์สออนไลน์ที่ตอบโจทย์อันเป็นที่ต้องการของบริษัทต่างๆ แล้ว ยังเสนอประกาศนียบัตรให้ผู้เรียนอีกด้วย
จริงอยู่ที่ youtube ที่ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้นั้นเป็นที่นิยมและเข้าถึงง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้มากกว่า แต่สิ่งที่ MOOC มีแต่ youtube ไม่มี คือ
1.ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เพราะมหาวิทยาลัยลงมาเล่น เป็นผู้ผลิตเนื้อหาเอง
2.แพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน และผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน เมื่อเรียนแล้วก็ถามได้ ไม่ใช่แค่นั่งฟังอย่างเดียว
3.วินัยในการเรียน เนื่องจากต้องลงทะเบียนและเข้าชั้นเรียน (ออนไลน์) ให้ครบตามตกลง และ 4.มีการรับรองวิทยฐานะทำให้เวลาที่ลงทุนกับการหาความรู้พัฒนาตนเองนั้นไม่เสียเปล่า
ผมอยากจะยกตัวอย่างของ MOOC ทั้งในเมืองไทยและในเมืองนอก เพื่อให้ท่านผู้อ่านลองเข้าไปศึกษาดู ลองเข้าไปเล่นห้องเรียนออนไลน์เหล่านี้ดู อาจจะเจอคอร์สที่ตรงจริตความชอบเพื่อต่อยอดทางปัญญา เพิ่มพูนทักษะ และอาจช่วยแก้เหงาในช่วงที่ต้องทำงานอยู่บ้านได้ครับ โดยท่านสามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกได้เลย หรือจะลองดูตามลิงก์ในบทความนี้ก็ได้ครับ
บทความนี้ก็ได้ครับ www.coursera.org ที่มีมหาวิทยาลัยและพันธมิตรกว่า 190 สถาบัน 43 ประเทศทั่วโลก เช่น Duke, Johns Hopkins University
www.edx.org รวบรวมกว่า 70 สถาบัน โดยมีเจ้าของเว็บนี้คือ มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่าง Harvard และ MIT
https://mooc.chula.ac.th ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://library.tu.ac.th/th/e-learnings/moocs หรือ www. skilllane.com ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หรืออื่นๆ ที่ได้รับความนิยม อาทิ https://www.udacity.com