PEA-MEA ‘คืนเงินประกันไฟฟ้า’ มาตรการที่ยังไม่หมดอายุ

PEA-MEA ‘คืนเงินประกันไฟฟ้า’ มาตรการที่ยังไม่หมดอายุ

หนึ่งในมาตรการที่ยังเปิดให้การช่วยเหลือประชาชน โดยไม่กำหนดวันสิ้นสุดโครงการ คือ มาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะมีขั้นตอนการลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ที่นี่

หลายมาตรการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล ที่โปรยลงมาช่วยเหลือประชาชนแทบทุกกลุ่มของสังคมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส หรือโรคโควิด-19 วันนี้หลายมาตรการได้เริ่มดำเนินการไปสักพักแล้ว และใกล้จะครบระยะเวลาตามมาตรการช่วยเหลือ เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงราวเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2563

แต่ยังมีอีกหนึ่งมาตรการที่ยังคงมีอยู่ นั่นคือ มาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ของทั้งผู้ให้บริการหลักๆ ทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

โดยมาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้านี้ คือ มาตรการที่ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือประชาชน โดยเงินประกันไฟฟ้านี้ จริงๆ แล้วคือเงินที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าหรือประชาชนนำไปวางหลักประกันให้กับผู้ให้บริการไฟฟ้า เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้า เช่น กรณีมีหนี้ค้างชำระ ค่าเบี้ยปรับ หรือหนี้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้า แต่ไม่เกี่ยวกับค่ามิเตอร์ชำรุดหรือเสียหายที่เกิดจากการใช้งาน

159047115199

ซึ่งจำนวนเงินประกันไฟฟ้าที่จะได้คืนนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า หรือตามจำนวนเงินที่วางไว้กับผู้ให้บริการไฟฟ้า ซึ่งไม่กำหนดวันปิดโครงการ แต่ผู้ที่จะลงทะเบียนหรือดำเนินการได้ต้องเป็นผู้วางหลักประกันในครั้งแรก โดยมีขั้นตอนดังนี้

เริ่มจากการเข้าไปลงทะเบียนตรวจสอบสิทธิและแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ในช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์แอพพลิเคชั่น เพจเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ สแกนคิวอาร์โค้ด รวมถึงที่ทำการไฟฟ้า

  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

- แอพพลิเคชั่น MEA Smart Life

- เว็บไซต์ www.mea.or.th

- เพจเฟซบุ๊ค การไฟฟ้านครหลวง MEA

- ทวิตเตอร์ @mea_news

- ไลน์ @meathailand

- สแกนคิวอาร์โค้ดในใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคมเป็นต้นไป

- สำนักงาน 18 แห่ง ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาด กฟน.แนะนำให้ใช้ช่องทางอีกก่อน หากมีความจำเป็นจึงมาที่สาขา เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟน.)

- เว็บไซต์ http://dmsxupload.pea.co.th/cdp

- สแกนคิวอาร์โค้ดในใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคมเป็นต้นไป

- สำนักงาน 18 แห่ง ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาด กฟน.แนะนำให้ใช้ช่องทางอีกก่อน หากมีความจำเป็นจึงมาที่สาขา เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา

159047132184

ทั้งนี้ข้อมูลหลักที่จำเป็นต้องใช้ในการลงทุน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก รวมถึงการระบุช่องทางในการรับเงินจากมาตรการนี้ ได้แก่ ผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนของผู้วางหลักประกัน ผ่านบัญชีธนาคารที่มีชื่อตรงกับผู้วางหลักประกัน เคาน์เตอร์เซอร์วิส และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงสามารถรับเงินสดได้ที่สำนักงานของผู้ให้บริการไฟฟ้า

159047136441

โดยผู้ที่ลงทะเบียนรับเงินประกันไฟฟ้าคืนแล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิจากการลงทะเบียนได้ว่าถึงขั้นตอนใดแล้ว โดยใส่ข้อมูลสำคัญเพียง 2 ส่วน เพียงใส่หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 12 หลัก (สำหรับ กฟภ.) หรือเลขรับเรื่อง 10 หลัก (สำหรับ กฟน.) อีกส่วนหนึ่งคือหมายเลขบัตรประชาชน หรือรหัสบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก

159047137779