'PEA-MEA' ตอบคำถาม ‘คืนเงินประกันไฟฟ้า’ มาตรการที่ยังไม่หมดอายุ

'PEA-MEA' ตอบคำถาม ‘คืนเงินประกันไฟฟ้า’ มาตรการที่ยังไม่หมดอายุ

หนึ่งในมาตรการช่วยเหลือจาก PEA และ MEA ก็คือ มาตรการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ล่าสุดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ตอบประเด็นคำถามที่น่าสนใจต่างๆ ติดตามอ่านได้ที่นี่

หนึ่งในมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ทางด้านการไฟฟ้า สำหรับผู้ให้บริการอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ที่เปิดให้ลงทะเบียนการขอคืน "เงินประกันการใช้ไฟฟ้า" และจ่ายเงินประกันการใช้จ่ายไฟฟ้าไปแล้ว แต่ไม่มีการกำหนดปิดการลงทะเบียน นับว่าเป็นอีกมาตรการที่ยังคงให้ความช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้ แม้มาตรการอื่นๆ จะดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว

โดยขั้นตอนการลงทะเบียนของ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง สามารถทำได้หลายช่องทาง ทั้งเข้าไปลงทะเบียนด้วยการสแกน QR Code ที่ท้ายใบแจ้งค่าไฟฟ้า แต่ต้องเป็นใบแจ้งค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นไป หรือเว็บไซต์ www.mea.or.th หรือแอพพลิเคชั้น MEA Smart Life หรือเพจเฟซบุ๊ค การไฟฟ้านครหลวง MEA หรือทวิตเตอร์ @mea_news หรือไลน์ @meathailand หรือโทรศัพท์ 0-2256-3333

159280500723

 

ขณะที่ PEA หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ดวยการสแกน QR Code ที่ท้ายใบแจ้งค่าไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เช่นกัน รวมถึงเพจเฟซบุ๊ค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA แอพพลิเคชั่น PEA Smart Plus หรือไลน์ @peathailand หรือเว็บไซต์ www.pea.co.th

สำหรับช่องทางการรับเงินมีหลากหลายช่องทาง ได้แก่ พร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคารต่าง  เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย ธนาคารอิสลาม เป็นต้น หรือที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสโดยต้องแสดงบัตรประชาชนและ PIN Code ของผู้รับเงินเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

159280498677

  

ขณะเดียวกัน PEA ได้ตอบประเด็นคำถามที่ยังคงเป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ มาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ไว้ดังนี้

  • ถ้าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้า ชื่อเจ้าของบ้านไม่ตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์ สามารถขอรับเงินคืนได้หรือไม่?

ตอบ :  สามารถรับคืนได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

1.หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3

2.หลักฐานผู้ขอรับเงิน

  • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจตามข้อ 1
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

สำหรับวิธีการนี้ใช้ได้กับกรณีการซื้อหรือขายบ้านไปนานแล้ว แต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อด้วย

  • ซื้อบ้านจากคนอื่น ชื่อมิเตอร์ยังเป็นเจ้าของคนเดิม ได้รับเงินประกันไหม หรือต้องทำการโอนเปลี่ยนชื่อก่อน?

ตอบ :  สามารถขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ (โดยขอให้ทำการโอนเปลี่ยนชื่อให้ถูกต้องต่อไป) มีเอกสารประกอบ ดังนี้

  1. คำร้องขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าประเภท 1-2 (เฉพาะผู้ขอรับเงินที่ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ผู้ขอใช้ไฟฟ้า)
  2. หนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน การใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-2) หรือหนังสือแสดง กรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน นส.3
  3. หลักฐานผู้ขอรับเงิน
    -
    กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน
    -
    กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 6 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลง ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองและบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบ อำนาจตามข้อ 1
  4. ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  5. หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือก ขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

  • กรณีเจ้าของเงินประกันเสียชีวิต ใครสามารถขอคืนเงินประกันได้บ้าง?

ตอบ : 

1.ผู้จัดการมรดก โดยต้องมีบัตรประชาชน คำสั่งศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งเมื่อได้รับเงินคืนไปแล้วต้องนำไปจัดสรรให้แก่ทายาทตามอำนาจหน้าที่ต่อไป 

2.ทายาทตามกฎหมาย เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตรทุกคน โดยใช้หนังสือแสดงความยินยอมให้ทายาทหรือบุคคลในครอบครัว เป็นผู้ยื่นขอเงินคืนพร้อมเอกสารตามที่กำหนดไว้

  • เจ้าของมิเตอร์เสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และไม่สะดวกไปยื่นเรื่องเป็นผู้จัดการมรดก มีแนวทางอื่นอีกหรือไม่?

ตอบ :  ทายาทหรือบุคคลในครอบครัวสามารถขอรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับคืนเงิน
  • ใบมรณะบัตรหรือทะเบียนบ้านที่ประทับตราเสียชีวิต ของเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส เป็นต้น
  • หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตามแบบฟอร์ม กฟภ.-1)
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการ ให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับทายาทผู้ขอรับคืนเงินเท่านั้น)

  • บ้านมีมิเตอร์หลายลูก สามารถขอรับเงินประกันคืนทั้งหมดหรือไม่?

ตอบ :  สามารถรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแนวทางการคืนเงิน ประกันการใช้ไฟฟ้า ที่ กฟภ. กำหนด

  • บ้านพักข้าราชการสามารถขอรับเงินประกันคืนได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ :  บ้านพักของหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานต้องมีหนังสือร้องขอต่อ กฟฟ. โดยมีเอกสารประกอบ ดังนี้

  • หนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงาน ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
  • ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)
  • หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อเจ้าของบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เท่านั้น)
  • ได้เงินประกันมิเตอร์คืนแล้ว ต้องวางเงินประกันใหม่หรือไม่?

ตอบ :  กรณีผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิมได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน ไม่ต้องวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าใหม่ แต่สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อ 4 ให้ยกเลิกการเรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ยกเว้นกรณีเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าจากประเภทที่ 1 หรือ ประเภทที่ 2 ไปเป็นประเภทอื่นที่มีข้อกำหนดให้วางหลักประกัน ประกาศ วันที่ 20 มีนาคม 2563

  • การขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์ สามารถใช้ธนาคารไหนได้บ้าง?

ตอบ :  กรณีเลือกโอนผ่านพร้อมเพย์รองรับได้ทุกธนาคาร หรือกรณีเลือกโอนผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร เปิดรองรับ 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ (3 แห่งนี้ไม่ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเพิ่ม) อีก 2 แห่งคือ ธนาคารทหารไทย และธนาคารอิสลาม (2 ธนาคารนี้ ต้องแนบหน้าสมุดบัญชีเงินฝากเพิ่มเติมด้วย)

  • กรณีเช่าที่มีหลายห้อง ผู้เช่าขอคืนเงินประกันได้หรือไม่?

ตอบ :  บ้านเช่ามีหลายห้อง หากมีการติดตั้งมิเตอร์แยกและวางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไว้ของแต่ละห้อง เจ้าของเงินประกันขอคืนเงินประกันได้ แต่หากผู้เช่าต้องการขอคืนเอง จะต้องมีหนังสือการโอนสิทธิให้รับเงินประกันคืนจากเจ้าของเงินประกันมาประกอบเพิ่มเติมด้วย

  • ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ขอเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนได้หรือไม่ ถ้าไม่ขอคืนจะได้รับสิทธิอะไรหรือไม่ และมีการหมดระยะเวลาขอเงินคืนหรือไม่?

ตอบ :  ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ขอรับเงินประกันคืนได้ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับผลประโยชน์จากเงินประกันสะสมไปทุกๆ ปี จนครบ 5 ปี แล้ว กฟภ. จะนำเงินผลประโยชน์จำนวนที่สะสมไว้คืนให้โดยนำไปหักชำระเป็นค่าไฟฟ้า ซึ่งเงินประกันการใช้ไฟฟ้า จะขอคืนเมื่อไรก็ได้ ไม่มีกำหนดระยะเวลาของการขอเงินคืน

  • กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะทราบได้อย่างไร และได้รับเงินคืนเมื่อไร?

ตอบ :  แจ้งให้ทราบตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้ในแต่ละขั้นตอน ดังนี้

  1. กรณีเจ้าของเงินประกันลงทะเบียนมีข้อมูลถูกต้องตรงกัน แจ้งว่า PEA คำร้อง CA020001234567 อยู่ระหว่างดำเนินการคืนเงินประกัน
  2. กรณีอื่นๆเมื่อลงทะเบียนแล้ว แจ้งว่า PEA ได้รับคำร้อง CA20001234567 แล้ว
  3. เมื่อลงทะเบียนแล้ว หากเอกสารไม่สมบูรณ์แจ้งว่า CA20001234567 เอกสารไม่สมบูรณ์ติดต่อ กฟจ. .................. โทรxxx xxx xxxx
  4. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว แจ้งว่า PEA อยู่ระหว่างดำเนินการคืนเงินประกัน
  5. เมื่อพร้อมจ่ายเงินประกัน จะแจ้งให้ทราบในแต่ละช่องทางที่เลือกรับเงินคืน ดังนี้
    - PEA
    คืนเงินประกัน xx,xxx.00 บาท วันที่ dd/mm/yy บัญชีพร้อมเพย์
    - PEA
    คืนเงินประกัน xx,xxx.00 บาท วันที่ dd/mm/yy บัญชี 123xxxxxxxx1234
    - PEA
    คืนเงินประกัน xx,xxx.00 บาท รหัส XXXXXX ที่ 7-11...

   

อ้างอิง : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) , การไฟฟ้านครหลวง (MEA)