9 สุดยอดทักษะ ที่ต้องใช้ไปตลอดชีวิต
9 ทักษะ ที่ทุกคนควรจะเรียนรู้ พัฒนา และได้ใช้ไปตลอดชีวิต ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดกับผู้ที่พยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุกยุคทุกสมัย
“ใช้ชีวิตราวกับว่าคุณจะตายพรุ่งนี้ เรียนรู้ราวกับว่าคุณจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป”
คำกล่าวของมหาตมะ คานธี ที่สะท้อนให้เห็นว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ไปทุกช่วงชีวิต
QUARTZ at WORK นำเสนอบทความหนึ่งที่เกี่ยวกับทักษะที่สำคัญต่อการพัฒนาชีวิต และการทำงานของมนุษย์ที่ไว้อย่างน่าสนใจ โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่บอกเล่าเรื่องราว Carol Dweck และเพื่อนร่วมงานของเธอ ผ่านการศึกษากับเกี่ยวกับความพยายามในการแสดงของกลุ่มนักแสดงกลุ่มนี้ในด้านต่างๆ
ใจความสำคัญจากการวิจัยของ Dweck คือการพบข้อมูลที่ว่า “เราไม่ควรหยุดเรียนรู้” โดยการกระทำของการเรียนรู้นั้นสำคัญพอๆ กับสิ่งที่เรียนรู้ รวมถึงการเชื่อว่าคุณสามารถพัฒนาตนเอง และทำสิ่งต่างๆ ในอนาคตที่เกินความเป็นไปได้ในปัจจุบันของคุณนั้นน่าตื่นเต้นและเป็นจริง
แต่ถึงกระนั้นเวลาของแต่ละคนก็มีจำกัด จึงควรอุทิศตัวเองให้กับทักษะการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่ง 9 ทักษะที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ที่ทุกคนควรจะเรียนรู้ พัฒนา และเก็บไว้ใช้ไปตลอดชีวิต มีดังนี้
1. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence: EQ)
ความฉลาดทางอารมณ์ มีผลต่อวิธีที่เราจัดการพฤติกรรมนำทางความซับซ้อนทางสังคม และการตัดสินใจส่วนบุคคลในเชิงบวก EQ คือความสามารถของคุณในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ในตัวเอง และคนอื่นๆ รวมถึงความสัมพันธ์ของคนเราด้วย
ทศวรรษที่ผ่านมา TalentSmart ทำการทดสอบ EQ ควบคู่ไปกับทักษะการทำงานที่สำคัญอีก 33 ประการ และพบว่า EQ เป็นตัวทำนายประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งที่สุด
ผลการวิจัยชี้ว่า EQ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักแสดงผู้โด่งดังแตกต่างจากนักแสดงคนอื่นๆ และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปลุกพลังงานเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม
เมื่อการแสดงของกลุ่มได้รับการประเมินอีกครั้งในอีกไม่กี่เดือนต่อมากลุ่มที่ได้รับการสอนให้ทำงานได้ดีขึ้นก็ยิ่งแย่ลงไปอีก กลุ่มที่ได้รับการสอนว่าพวกเขามีพลังในการเปลี่ยนสมองและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของตัวเองได้ดีขึ้นอย่างมาก
จากคนทั้งหมดที่ศึกษาพบว่า 90% ของนักแสดงชั้นแนวหน้ามี EQ สูง ตามธรรมชาติแล้วคนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีโอกาสได้ค่าตอบแทนมากขึ้นเฉลี่ย 29,000 เหรียญสหรัฐต่อปี มากกว่าคนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ สะท้อนว่า EQ มีความสัมพันธ์กับรายได้โดยตรงเพราะสามารถบริหารจัดการสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่า ซึ่งกุญแจสำคัญไม่ใช่การมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความฉลาดทางอารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้มีความสุข และเครียดน้อยลงได้แม้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่สู้ดีอีกด้วย
2. การจัดการเวลา
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสร้างประสิทธิภาพในการจัดการเวลาคือการทำในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่นำไปสู่สิ่งที่สำคัญในชีวิต หากเราพ่ายแพ้ต่อการจัดการเวลา เราจะใช้เวลาจำนวนมากในการทำสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้งานเสร็จช้า ไม่เสร็จตามกำหนดเวลา หรือไม่มีคุณภาพ
ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะจัดการเวลา จึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนอย่างมาก เพราะทักษะนี้จะทำให้นักแสดงเป็นอิสระในการแสดงในระดับสูงสุด เช่นเดียวกับคนทั่วไปที่สามารถจัดการเวลาของตัวเองให้มีประสิทธิภาพในทุกๆ วัน และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ได้
3. เป็นผู้ฟังที่ดี
"ฟัง" ดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนต้องทำอยู่แล้ว แต่มันมีความสำคัญมากกว่านั้น หลายครั้งเรากำลังฟังอะไรบางอย่าง และกำลังคิดว่าจะพูดอะไรต่อในเวลาเดียวกันทำให้การฟังนั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น เพราะ "การฟังที่แท้จริง" หมายถึงการมุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่คนอื่นพูดเท่านั้น แต่ต้องนำไปสู่ความเข้าใจ ไม่ใช่การฟังเพื่อโต้แย้ง
ทักษะการฟังที่ควรจะพัฒนา จึงหมายถึงการเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงไม่ตัดสินสิ่งที่ได้ยินไปในทันที และจดจ่อกับการทำความเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นกำลังพูดหรือสื่อสารกับเรา
ยิ่งไปกว่านั้นคือการเข้าถึงอวัจนภาษา เช่น โทนเสียง ภาษากาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารจริงๆ
4. รู้จักปฏิเสธ
การวิจัยของมหาวิทยาลัยใน California และ San Francisco ระบุว่า คนเราหากพูดคำว่า "ไม่" ได้ยากมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกเครียด เหนื่อยหน่าย ไปจนถึงภาวะซึมเศร้าได้มากเท่านั้น
การพูดคำว่าไม่ เป็นความท้าทายสำคัญสำหรับหลายคน และเป็นคำที่หลายคนกลัวที่จะใช้ ซึ่งเป็นที่มาของการใช้กลุ่มคำเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ไม่” เพียวๆ เช่น “ฉันไม่แน่ใจ” “ฉันคิดว่าไม่สามารถทำได้” ทั้งๆ ที่ในความจริงแล้ว อยากจะปฏิเสธไปตรงๆ มากกว่า
ดังนั้น การที่คุณเรียนรู้ที่จะพูดว่าไม่ หรือปฏิเสธ ตามสมควรจะทำให้สามารถปลดปล่อยตัวเองจากข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ช่วยเพิ่มเวลา และพลังงานสำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต
5. การขอความช่วยเหลือ
การยอมรับว่าเราต้องการความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จำเป็นต้องใช้ความมั่นใจ และความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างมาก
ทักษะนี้มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต เพราะสิ่งสุดท้ายที่ผู้นำต้องการ คือการเห็นพนักงานทำงานไปในทิศทางที่ควรจะเป็น ไม่อายที่จะถามจนหรือภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำจนเกินกว่าที่จะยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
ฉะนั้น การขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เหมาะสมจึงเป็นทักษะที่มีค่าอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเรียกความกล้าหาญของตัวเองออกมา ที่สำคัญกว่าคือการปฏิบัติตามความช่วยเหลือนั้นได้อย่างดี
6. การนอนหลับที่มีคุณภาพสูงสุด
เรารู้อยู่เสมอว่าการนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นดีต่อสมองของทุกคน โดยงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้จากมหาวิทยาลัย Rochester มีการศึกษาพบว่าเมื่อนอนหลับอย่างเพียงพอ สมองของมนุษย์จะกำจัดโปรตีนที่เป็นพิษได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(อ่านบทความ "ส่อง 10 วิธี 'นอน' อย่างไร ให้มีสุขภาพดี?" ได้ ที่นี่ )
แต่เมื่อคุณไม่ได้หลับลึกอย่างมีคุณภาพโปรตีนพิษจะยังคงอยู่ในเซลล์สมองซึ่งทำให้ความสามารถในการคิด และความสร้างสรรค์ของคุณลดลง
ยิ่งไปกว่านั้น คาเฟอีนที่หลายๆ คนดื่มเพื่อหวังกระตุ้นสมอง ไม่สามารถซ่อมแซมหรือช่วยแก้ปัญหานี้ได้ การเรียนรู้ที่จะนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นประจำนั้นเป็นทักษะที่ยากในการควบคุม แต่ต้องฝึกฝนหรือจัดระเบียบได้ดี ฉะนั้นจงนอนให้เพียงพอ และตัดสิ่งรบกวนในสมองออกไปก่อนนอนให้ได้ เพราะการลงทุนกับการนอนมันจ่ายเงินปันผลมหาศาลในวันถัดไป
7. รู้จักเงียบ
ธรรมชาติของมนุษย์ มักจะใช้วิธีการพิสูจน์ว่าตัวเองถูกด้วยการอธิบายหรือเถียงในสิ่งที่ตัวเองคิด แต่การทำแบบนี้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนัก เพราะมันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางอารมณ์ได้ไม่สิ้นสุด และการต่อสู้ด้วยการอธิบายหรือเถียงอาจจะทำให้ความสัมพันธ์เสียหายอย่างรุนแรงได้เมื่อคุณตกอยู่ในการตอบโต้ของอารมณ์
ทักษะที่ควรฝึกฝนคือการเรียนรู้ที่จะเงียบเมื่อเจอกับเหตุการณ์เหล่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นทักษะการตอบโต้อย่างชาญฉลาด ด้วยการเงียบนั่นเอง
8. คิดริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่มคือทักษะสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตในระยะยาว ในทางทฤษฎีความคิดริเริ่มนั้นง่าย แต่พอจะเริ่มลงมือทำมักจะมีสิ่งอื่นๆ เข้ามาขวางทางเสมอ
หลายคนกลัวหรือขี้เกียจเกินไปที่จะต้องใช้ความคิดริเริ่ม เมื่อเกิดเหตุการนี้จำเป็นต้องรับความเสี่ยง และผลักดันตัวเองออกจากเขตความสะดวกสบายของคุณและทำมันเรื่อยๆ จนกว่าการริเริ่มจนเป็นปรกติวิสัย เพราะความคิดริเริ่มคือทักษะสำคัญเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เรา “แตกต่าง”
9. มองโลกเชิงบวก
อุปสรรคที่แท้จริงในการมองโลกในแง่ดี คือ สมองของมนุษย์มักจะค้นหา และมุ่งเน้นไปที่ภัยคุกคามตามสัญชาตญาณ กลไกการเอาชีวิตรอดนี้ทำให้หลายคนตกเป็นเหยื่อของความคิดทางลบอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งกลไกที่ก่อให้เกิดการมองโลกในแง่ร้ายจะทำหน้าที่ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบ “ภัยคุกคาม” โดยสัญชาตญาณเหล่านี้ขยายความน่าจะเป็นที่รับรู้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดีไปตามจินตนาการ ซึ่งกลไกความคิดแง่ลบจะทำให้มุมมองที่ไม่ดีเหล่านี้มีแนวโน้มเป็นจริงสูงขึ้น และสร้างความหายนะในชีวิตของคุณ
ฉะนั้น การรักษาความคิดเชิงบวกจึงเป็นทักษะที่ควรพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อท้าทายสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในช่วงรายวัน และระยาว เพื่อเอาชนะความคิดในเชิงลบที่ตัวเองสร้างขึ้น
ที่มา : QUARTZ at WORK