‘หางโจว’ เมืองหลวงแห่งการ์ตูนและแอนิเมชั่นของจีน

‘หางโจว’ เมืองหลวงแห่งการ์ตูนและแอนิเมชั่นของจีน

“หางโจว” เป็นเมืองในฝันของคนรักการ์ตูนและแอนิเมชัน ที่ไม่ว่าจะจินตนาการอะไรก็สร้างสรรค์ให้กลายเป็นจริงได้

จากที่มีบริษัทแอนิเมชันเพียงไม่ถึง 10 แห่งเข้าร่วม งานเทศกาลการ์ตูนและแอนิเมชันนานาชาติจีน (CICAF) ในปี 2547 จนกระทั่งมีบริษัทกว่า 300 แห่งมาร่วมงานปี 2562 ชุมชนการ์ตูนและแอนิเมชันของ เมืองหางโจว เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเพียง 10 กว่าปี ขณะเดียวกัน "อุตสาหกรรมแอนิเมชัน" ของหางโจวก็ได้สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์แบบขึ้นมา ตั้งแต่การผลิตคอนเทนต์ของตัวเอง ไปจนถึงการผลิตแอนิเมชันและพัฒนาต่อยอดจากสิ่งเดิม หนุ่มสาวมากมายได้เห็นความฝันแอนิเมชันของตนเป็นจริงที่นี่ จึงไม่มีอะไรน่าสงสัยที่ "เมืองหางโจว" จะกลายมาเป็นดินแดนอุดมคติในการทำตามความฝันของอุตสาหกรรมแอนิเมชันจีน

  • เริ่มต้นอาชีพแอนิเมชันในเมืองหางโจว

Lei Tao คือหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดที่แสดงให้เห็นว่าความฝันเรื่องแอนิเมชันของคนคนหนึ่งสามารถเป็นจริงขึ้นมาใน "หางโจว" โดยเมื่อปี 2553 Lei ซึ่งศึกษาด้านแอนิเมชันในระดับมหาวิทยาลัยได้ก่อตั้งบริษัท TThunder Animation ขึ้นที่เมือหางโจวแห่งนี้ เพื่อผลิตงานแอนิเมชันจีนที่สมบูรณ์แบบและเหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน

Lei และทีมงานของเขาได้เชิญ Anthony Wang มือสร้างแอนิเมชันจากค่าย Pixar ซึ่งมีส่วนร่วมในเรื่อง Toy Story และ Finding Nemo รวมถึงผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมนานาชาติ อาทิ มือเขียนบทจาก BBC อย่าง Andrew Emerson และ Rachel Murrell มาร่วมสร้างกลุ่มในจีนหรือให้คำแนะนำทางออนไลน์ นอกจากนี้ Lei ยังได้ปรึกษากับศาสตราจารย์ด้านสีของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในซานตาบาร์บารา และออกแบบชุดการผสมผสานของสีสำหรับซีรีส์การ์ตูน Rainbow Chicks ที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของเด็กน้อยที่สุด

“การแสวงหารายละเอียดจนถึงขีดสุดและการควบคุมอย่างเข้มงวดเป็นคุณลักษณะของนักล่าฝันทุกคนในภาคส่วนแอนิเมชันของหางโจว” Lei กล่าว “ผมคิดว่านี่ควรจะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของอุตสาหกรรมแอนิเมชันที่น่าภาคภูมิใจในหางโจว”

Shen Hao ผู้ก่อตั้ง Fanfan Inc เป็นอีกคนที่เริ่มอาชีพแอนิเมชันของตนเองในหางโจว “ระบบนิเวศอุตสาหกรรมแอนิเมชันของหางโจวนั้นยืดหยุ่นและยั่งยืน นี่คือที่ที่ผมเริ่มธุรกิจของผม”

แม้อุตสาหกรรมแอนิเมชันของจีนได้เข้าสู่ช่วงของการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่การสร้างคอนเทนต์ต้นฉบับนั้นยังไม่มีความน่าสนใจมากพอในแง่ของการออกแบบตัวละครและเนื้อเรื่อง Shen กล่าว

นอกจากการเข้าร่วมและจัดการแข่งขัน "Nova Cup" ซึ่ง CICAF ได้จัดขึ้นมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี เพื่อค้นหาและฝึกฝนผู้มีความสามารถด้านการสร้างการ์ตูนในจีนแล้ว Fanpan Inc ยังมาแนะนำกลไกลสำหรับบูรณาการการตัดต่อและการสร้างสรรค์ผลงานในแวดวงอุตสาหกรรมแอนิเมชันญี่ปุ่น ซึ่งใช้วิธีการกำหนดคอนเทนต์ด้วยการโฟกัสไปที่การตอบสนองของตลาดผู้อ่านในงานนี้ด้วย Shen กล่าว

160307929044

ภาพ : pixabay.com

  • เพลิดเพลินไปกับแอนิเมชันสไตล์จีนในหางโจว

"เมืองหางโจว" ได้ออกนโยบายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มข้ามอุตสาหกรรมและสร้างรูปแบบทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมดมาตั้งแต่ปี 2557 และ “คอสเพลย์” ก็ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของอุตสาหกรรมแอนิเมชัน ด้วยเหตุนี้ ในงาน CICAF ทุกปี จึงมีการจัดการแข่งขัน China Cosplay Super Ceremony ซึ่งเป็นงานปาร์ตี้ใหญ่ที่เปิดโอกาสให้เหล่าบรรดาสาวกแอนิเมชันและนักคอสเพลย์ทั้งจากในจีนและต่างชาติมารวมตัวเพื่อแสดงตัวตนและสนุกสนามกับเทศกาลคาร์นิวัลแอนิเมชันไปด้วยกัน

นักคอสเพลย์อาวุโสนาม “Chicago Typewriter” และ “The Greater China” ได้มาร่วมกิจกรรมคอสเพลย์สุดยิ่งใหญ่ที่หางโจวอีกครั้งในปีนี้ โดยพวกเขากล่าวว่า ไม่มีเมืองไหนในจีนที่สร้างบรรยากาศของความเป็นแอนิเมชันได้ดีไปกว่าหางโจว และชาวเมืองที่นี่ก็ให้การยอมรับวัฒนธรรมหลายมิตินี้เป็นอย่างมาก

ทุกปี ในช่วงที่มีการจัดเทศกาลแอนิเมชัน ทั้งในสนามบิน สถานีรถไฟความเร็วสูง สถานีรถไฟใต้ดิน รวมถึงบนทางเท้าริมถนนทั่วเมืองหางโจว ต่างก็เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ของงาน เกิดเป็นบรรยากาศของความเป็นแอเนมิชันปกคลุมทั่วทั้งเมือง จึงไม่เกินไปนักที่จะกล่าวว่าความกระตือรือร้นของแอนิเมชันในหางโจวกำลังหลั่งไหลเข้ามาในเมืองแห่งนี้

"ในหางโจว Coser (นักคอสเพลย์) จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความคิดที่ไม่ข้อกำจัดเพื่อกระตุ้นให้คนๆ หนึ่งกล้าที่จะคิดและแสดงออกมาได้” พวกเขาระบุ

160307950814

ภาพ : pixabay.com

  • โอบรับอนาคตของวงการแอนิเมชันในหางโจว

คนทำงานด้านแอนิเมชันใน "หางโจว" มั่นใจว่า แอนิเมชันของจีนจะเป็นตัวนำทางเพื่อไปสู่ยุคที่ดีขึ้น แล้วเราจะหาแนวคิดที่เป็นความสร้างสรรค์และจุดเปลี่ยนของนวัตกรรมได้อย่างไร? Su Huan ซีอีโอของ Hangzhou InNow เชื่อว่า อุตสาหกรรมแอนิเมชันนั้นคือ การหลอมรวมระหว่างอุตสาหกรรมที่แตกต่างกับความเป็นพหุวัฒนธรรมด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการสำรวจและหล่อหลอมเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน

“ปีหน้า เราจะเปิดตัวแอปที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อมาทลายอุปสรรคทางเทคนิคของการผลิตแอนิเมชัน และเปิดโอกาสให้คนจำนวนมากได้สัมผัสกับเสน่ห์ของแอนิเมชันได้อย่างง่ายดายผ่านแอพพลิเคชันนี้” Su กล่าว

นอกจากนี้ Teng Kuixing และ Liu Qin ผู้กำกับและนักแสดงที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน ยังมาร่วมเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันพากย์เสียงในงานเทศกาลแอนิเมชัน ซึ่งนับเป็นรายการแข่งขันพากย์เสียงแอนิเมชันระดับประเทศรายการแรกและรายการเดียวของจีนในครั้งนี้ด้วย

ทั้ง Teng และ Liu ต่างก็เห็นพ้องกันว่า การขาดแคลนผู้มีความสามารถด้านนี้ถือเป็นความท้าทายสำหรับตลาด Animation Comic Game ของจีนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่า การที่เมืองหางโจวได้มอบการฝึกฝนและถ่ายทอดความสามารถของเยาวชนในภาคส่วนต่าง ๆ ของวงการแอนิเมชันผ่านวิธีการที่หลากหลาย อย่างเช่น การจัดแข่งขันพากย์เสียงซึ่งใช้ทรัพยากรจากแพลตฟอร์มของงานเทศกาลแอนิเมชันในปีนี้ ถือเป็นการสร้างโอกาสความร่วมมือซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์กรธุรกิจและตัวของผู้ชนะเอง

เหล่าบรรดานักสร้างงานแอนิเมชันของเมืองหางโจว ต่างก็ทุ่มความพยายามในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นสุดยอดงานแอนิเมชันต้นฉบับชั้นหนึ่งของจีนขึ้นมา ด้วยความเชื่อมั่นในพลังและความสามารถที่มีอยู่ในตัวของพวกเขา นี่เป็นเหตุผลที่ทำไม "เมืองหางโจว" จึงคู่ควรแก่การได้รับขนานนามให้เป็น “เมืองหลวงแห่งการ์ตูนและแอนิเมชันของจีน”

 

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการบริหารกิจการการ์ตูนและแอนิเมชันนานาชาติจีน