ถึงตรุษจีนต้องกินขนม และที่มาของ 'ขนม'
ถึง ‘ตรุษจีน’ ต้องกิน ‘ขนมมงคล’ นอกจาก ‘ขนมเข่ง’ หรือ ‘เหนียนเกา’ ปีนี้มีขนมหรือของหวานดีไซน์เท่จากร้านขนม ที่ออกแบบพิเศษเพื่อเทศกาลตรุษจีนปีวัว
ทำไมต้องกินขนม ? ขนมหรือของหวานปิดท้ายมื้ออาหารเป็นเรื่องรื่นรมย์ ดังประโยคที่ว่า...ต่อให้ท้องอิ่มแค่ไหนก็ยังมีที่ว่างเหลือสำหรับขนม... เพราะขนมที่อุดมด้วยน้ำตาลและแป้ง แม้เป็นข้อห้ามสำหรับคนกลัวอ้วนก็จริง แต่รสหวานที่ปลายลิ้นช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารสุข คือเอนดอร์ฟีนและสารเซโรโทนิน ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดี ของหวานยังทำให้อารมณ์สงบ ปลอดภัย และรู้สึกว่าได้จบมื้ออาหารจริง ๆ (เสียที) ทำให้มนุษย์ไม่สามารถหักห้ามใจจากของหวานได้
มนุษย์เรากินของหวานตั้งแต่เมื่อไหร่ ? ถ้านับผลไม้เป็นของหวาน เราก็กินมาเนิ่นนานนับพันปี เอาที่บันทึกกันจริง ๆ คือ ชาวโรมันบอกว่าพวกเขากินผลไม้หลังอาหาร ในยุคกลางบรรดาชนชั้นขุนนางและกษัตริย์ กินชีส ทาร์ต ฟลาน (Flan ของว่างประเภทคัสตาร์ดและคิช) ซึ่งสมัยนั้นยังไม่หวานมาก สืบค้นต่อไปพบว่า คำว่า ของหวาน หรือ dessert มาจากภาษาฝรั่งเศสจากยุคกลาง จากคำว่า desservir แปลว่า to clear the table จึงทำให้เป็นของตบท้ายหลังจบมื้ออาหาร ในบันทึกของชาวกรีกระบุว่า ของหวานยุคแรก ๆ เกิดขึ้นในเปอร์เซีย ได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้ตากแห้ง เหล้าหวาน และเค้กน้ำผึ้ง
เมื่อถึงยุค “น้ำตาลเปลี่ยนโลก” ในศตวรรษที่ 15-16 เจ้าอาณานิคมเกณฑ์แรงงาน (ทาส) เข้าโรงงานผลิตน้ำตาล ทำให้น้ำตาลทะลักสู่ยุโรป ยุคแรกนั้นราคายังแพงอยู่ ของหวานที่ใช้น้ำตาลนำเข้าจึงใช้อวดความมั่งมี พอถึงยุคสงคราม การขนส่งหยุดชะงักทั้งแป้งสาลีและน้ำตาล ด้วยต้องกันไว้เป็นเสบียงให้ทหารที่ออกรบ เวลาผ่านไปเมื่อสงครามยุติ ช่วงทศวรรษ 1950s ผู้ปลุกกระแสของหวานคือ Julia Child เธอออกรายการทีวีทำอาหารและขนม แล้วพอมีทีวี มีตู้เย็น ประกอบกับน้ำตาลราคาถูกลง ของหวานจึงฟูเฟื่อง มีทั้งเค้ก ขนมอบ คุกกี้ ช็อกโกแลต และไอศกรีม จึงเป็นที่มาของการกินหวานที่มากขึ้นและมากขึ้น
ในประเทศจีน คนจีนกินหวานน้อยกว่าชาวตะวันตก ของหวานของชาวฮั่นจะมีส่วนผสมของผลไม้มากกว่า และในยุคโบราณก็ไม่ได้เสิร์ฟหลังอาหาร หากกินของหวานกับน้ำชาและกินระหว่างวัน ด้วยการปรุงที่คำนึงถึงหลักยิน-หยางเพื่อสุขภาพ อะไรที่เข้าปากไม่ว่าจะเป็นของคาวหรือของหวานควรช่วยรักษาสมดุล บำรุงสุขภาพ
แล้วคนจีนกินของหวานตั้งแต่ยุคไหน ของหวานยุคแรก ๆ ที่ไม่ใช่แค่ผลไม้ เป็นที่นิยมในราชสำนักราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) ต่อด้วยราชวงศ์ซ่ง (960-1279) ซึ่งมีขนมที่หลากหลายจากแผ่นดินอันกว้างใหญ่ จุดเด่นของขนมแบบจีนคือใช้นมน้อย น้ำตาลน้อย ใช้วิธีอบ ต้ม นึ่ง ทอด และขนมที่เสิร์ฟให้ชนชั้นสูงก็ต้องสวยงาม สี กลิ่น และรูปลักษณ์เลียนแบบธรรมชาติ เช่น ทำเป็นรูปดอกไม้ ผลไม้ และรูปสัตว์จำลอง
ที่จริงคนจีนกินของหวานมานานมากจนไม่รู้จะนับจำนวนปีอย่างไร ดังมีบันทึกเรื่องขนมไว้ในหนังสือ Book of Song ซึ่งรวบรวมบทกวียุคราชวงศ์โจว (1046-771 ก่อน ค.ศ.) อีกทั้งขุดพบหลักฐานเครื่องเก็บน้ำแข็ง ทำจากบรอนซ์ เป็นทรงสี่เหลี่ยมเหมือนหีบใบใหญ่ เอาไว้ใส่น้ำแข็งแช่ไวน์และอาหาร รูปร่างเหมือนหีบที่มีขาตั้ง มีลวดลายสลักเสลา ขุดพบในสุสานของ Marquis Yi of Zeng เมืองสุยโจว มณฑลหูเป่ย สันนิษฐานว่าท่านผู้นี้เป็นเจ้าครองแคว้นเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในยุคราชวงศ์โจว
ของหวานกินได้บ่อยแค่ไหน ? ตามหลักอายุรเวทบอกว่า ในอาหารมีพลังงาน มีร้อน-เย็น และในตัวคนมีธาตุเจ้าเรือน ประกอบกับสภาพดินฟ้าอากาศในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย ศาสตร์อายุรเวทด้านอาหารจึงลึกซึ้งและละเอียดอ่อน แต่นักอายุรเวทศาสตร์ระบุว่า การกินของหวานสักชิ้นสองชิ้นก่อนอาหาร ตามด้วยผักผลไม้สด แล้วค่อยตามด้วยอาหารมื้อที่คุณต้องการ จะช่วยดูดซึมธาตุอาหารได้ดีกว่า และเมื่อคุณกินผักผลไม้เข้าไปก่อนก็จะรู้สึกอิ่มเร็ว ทำให้กินอาหารไม่มากอย่างที่เคยชิน และไม่ต้องตบท้ายด้วยของหวานแคลอรี่สูง
ตรุษจีน ปีนี้ นอกจากชวนกิน เหนียนเกา เสริมมงคลแล้ว ยังมีขนมอีกหลายหลายที่ทำให้เราห้ามใจไม่ได้ มีอาทิ
ถ้าชอบ ขนมตรุษจีน แบบดั้งเดิม ห้องอาหารจีน แชงพาเลซ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ จัด ขนมมงคล เพื่อมอบให้กับครอบครัวและคนที่คุณเคารพรัก ได้แก่ เค้กตรุษจีนรูปปลาคาร์พ (เหนียนเกา)) ราคากล่องละ 688 บาทถ้วน (2 ชิ้น ขนาดใหญ่ และเล็ก), เค้กนึ่งจีน (มาไล่โกว) ราคากล่องละ 588 บาทถ้วน, ขนมผักกาด ราคากล่องละ 588 บาทถ้วน, ซาลาเปาไส้ครีมรูปวัวทองรุ่งเรือง ราคากล่องละ 688 บาทถ้วน (9 ชิ้น)
วางจำหน่ายวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 สอบถามโทร.0 2236 7777 อีเมล: [email protected]
ร้านขนม ลา พาทิสเซอร์รี (La Pâtisserie) โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ เตรียมกล่องของขวัญที่ห่อด้วยผ้าแบบญี่ปุ่น หรือเรียกว่า ฟุโรชิกิ (Furoshiki) เป็นสีแดงมงคลสำหรับนำไปอวยพรญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอพรรับปีฉลู ประกอบด้วย มาการองพิมพ์ลายสัญลักษณ์ปีฉลู และคำอวยพรสวัสดีปีใหม่, ยังมี เค้กส้ม ช็อกโกแลตพราลีน แครนเบอร์รี่เคลือบช็อกโกแลต และชาคุณภาพดีจากห้องอาหารยามาซาโตะ, เมล็ดเจีย ควินัวขาว และน้ำผึ้งป่า บรรจุลงขวดและห่ออย่างสวยงาม ราคาสุทธิกล่องละ 3,888 บาท หรือหากต้องการเลือกขนมและสิ่งของที่ถูกใจผู้รับด้วยตนเอง สามารถเลือกจัดชุดของขวัญเองได้ในราคาสุทธิ เริ่มต้นกล่องละ 2,888 บาท
วางจำหน่ายที่ร้านขนม ลา พาทิสเซอร์รี วันนี้ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 โทร. 0 2687 9000 หรือ [email protected]
คาเฟ่อาหารและขนมไทย บ้านภูมิจิต ออกแบบขนมมงคลต้อนรับตรุษจีน เปี๊ยะมงคลส้มสีทอง แรงบันดาลใจจาก “ผลไม้ส้มสีทอง” ผลไม้มงคลที่นิยมมอบเป็นของขวัญในเทศกาลตรุษจีน ผลิตจำนวนจำกัด วันละ 880 ผล บรรจุในแพ็คเกจสวยงาม มีให้เลือกแบบแพ็ค 2 ผล/ 4 ผล / 6 ผล และแพ็ค 8 ผล รูปลักษณ์ส้มสีทองเสมือนจริง ทั้งผิวเปลือกส้ม ขั้วผลส้ม และสีของเปลือกที่เป็นสีส้มสด แต่เมื่อผ่าครึ่งลูกจะเป็นขนมเปี๊ยะถั่วทองที่ตรงกลางสอดไส้ไข่เค็มเต็มใบ รสชาติหอมหวานละมุนลิ้น จากไส้ถั่วทองคู่กับไข่เค็ม แทรกด้วยผิวส้มสับ และกลิ่นหอมของส้มสด ยังมีไส้ถั่วล้วนและไส้ถั่วทองผสมส้มสับล้วนให้เลือกชิมอีกด้วย
สอบถามโทร.09 4962 5691, FB: ขนมไทยบ้านภูมิจิต