‘เชียงดาว’ กับการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

‘เชียงดาว’ กับการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

รู้จัก "เชียงดาว" ให้ถึงแก่นในฐานะ "พื้นที่สงวนชีวมณฑล" แห่งใหม่ของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นจุดประกายการอนุรักษ์ที่คนไทยต้องภาคภูมิใจ

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียน ดอยหลวงเชียงดาว เป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑล แห่งใหม่ของไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมาจากการประชุมสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการด้านมนุษย์และชีวมณฑล (International Co-orinating Council on the Man and the Biosphere Programme: MAB-ICC) ครั้งที่ 33 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน 2564 ณ เมืองอาบูจา สาธารณรัฐไนจีเรีย ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมดังกล่าว ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการพิจารณารับรองการเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑล แห่งใหม่ทั้งหมด จำนวน 22 แห่ง มีพื้นที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่จะมีการพิจารณาบรรจุในบัญชีรายชื่อพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ ของปี ค.ศ. 2021เหล่านั้นด้วย และก็ได้ขึ้นทะเบียนดังกล่าว

อ่านข่าว : ส่องที่เที่ยว “ดอยเชียงดาว” และจุดเด่นที่ทำให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

‘เชียงดาว’ กับการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

ก่อนนี้บ้านเรามีพื้นที่สงวนชีวมลฑลมาแล้ว 4 แห่ง ได้แก่

พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา ปี 2519

พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จ.เชียงใหม่ ปี 2520

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก จ.ลำปาง ปี 2520

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง จ.ระนอง ปี 2540

ซึ่งปีตามหลังนี่คือปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะเห็นว่าการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลของบ้านเราแม้จะมีมานาน แต่ไม่ค่อยฮือฮาเท่าการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งที่เป็นระดับนานาชาติเหมือนกัน ทั้งที่ที่แรกที่เราได้ขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2519  ก่อนทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ที่ขึ้นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทยในปี 2534 ด้วยซ้ำไป สะแกราชคนยังพอเคยได้ยินชื่อบ้างเพราะพาเด็กๆไปอบรมเข้าค่ายธรรมชาติกัน  แต่พอบอก แม่สา-คอกม้า ป่าสักห้วยทาก คนมีแต่ส่ายหน้า ไม่เคยได้ยิน ดีที่มาได้ป่าชายเลนระนองพอกู้หน้าให้คนพอคุ้นหูบ้าง พอมาดอยหลวงเชียงดาวนี่คนอาจจะคุ้นชื่อยิ่งขึ้นมาหน่อย เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ก่อนจะได้ขึ้นทะเบียน

ค้อเชียงดาว

พื้นที่สงวนชีวมณฑล คืออะไร? เอาแค่นี้ก่อน ก่อนจะงงกันไปใหญ่

พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) หมายถึง พื้นที่อนุรักษ์สังคมพืชและสัตว์ในสภาวะของระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน ทั้งในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติและที่ถูกเปลี่ยนแปลงไป พื้นที่สงวนชีวาลัยนี้มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษาและฝึกอบรมด้วย ซึ่งพื้นที่เหล่านี้สภาประสานงานนานาชาติด้านมนุษย์และชีวาลัย (The Man and the Biosphere International Co-ordinating Council) จะเป็นผู้ประกาศ

ก็ยังงงใช่ไหม เอาเป็นว่ามันต้องเป็นพื้นที่มีคุณค่าทางระบบนิเวศ พันธุกรรม และมาในยุคหลังนี่เขาจะอิงคนด้วย เลยเพิ่มกิจกรรมบางอย่างของมนุษย์เข้ามาด้วย

ผมนั้นไปสัมผัสดอยหลวงเชียงดาวมาตั้งแต่ปี 2530 สมัยที่ยังมีการใช้ที่ดินทำประโยชน์จากดอยเชียงดาว ทำมันฝรั่ง ปลูกฝิ่น ผักกาด มีตูบ (กระท่อมเฝ้าไร่) มีคอกม้า ลา เพื่อบรรทุกพืชผลทางการเกษตรอยู่ติดกระท่อม ทางเดินนี้มีแต่หลุมลึก เพราะรอยเท้าม้า ลา ฬ่อ มันเดินกัน ยังได้ไปทันอาศัยตูบม้งนอนหลบหนาว เก็บต้นฝิ่นอ่อนมาปรุงอาหาร บนนั้นจะมียอดเขาใหญ่ๆ อย่างดอยสามพี่น้อง ดอยนาง ดอยหลวง ยอดเขาเหล่านี้เรียงตัวกันเป็นรูปเกือกม้า แต่ทั้งหมดนี้ ตั้งอยู่บนภูเขาหินปูนที่ตั้งอยู่โดดเด่นเป็นสง่า

ภายในอดีต ที่มีดงฝิ่นเต็มทั้งหุบดอย ภายในอดีต ที่มีดงฝิ่นเต็มทั้งหุบดอย

ดอกเสี้ยวบานทั่วแอ่งดอยเชียงดาว ดอกเสี้ยวบานทั่วแอ่งดอยเชียงดาว

ว่ากันว่าดอยเชียงดาวนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่เปลือกโลกมันยกตัวเป็นแนวยาวมาจากหิมาลัยตอนใต้ของจีนนั่นเลยเทียว เป็นสังคมนิเวศของภูเขาหินปูน พืชพันธุ์บนนี้เป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ (พืชอัลไพน์เป็นพืชที่เจริญเติบโตในสภาพภูมิอากาศที่อัลไพน์ซึ่งเกิดขึ้นที่สูงระดับความสูงและสูงกว่าแนวต้นไม้ มีหลายสายพันธุ์พืชที่แตกต่างกันและแท็กซอนที่เติบโตเป็นสังคมพืชเหล่านี้ทุนดราอัลไพน์ เหล่านี้รวมถึงหญ้ายืนต้น, เสจด์, forbs, พืชเบาะ, มอสและไลเคน พืชอัลไพน์ได้รับการปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงของเทือกเขาแอลป์ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิต่ำความแห้งแล้งรังสีอัลตราไวโอเลตลมความแห้งแล้งดินที่มีสารอาหารไม่ดีและฤดูปลูกสั้น พืชบางชนิดอัลไพน์ทำหน้าที่เป็นพืชสมุนไพร) แต่ที่เชียงดาวนี่เป็นพืชกึ่งอัลไพน์

สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บอกว่าป่ากึ่งอัลไพน์ (Sub-alpine Vegetaion) เป็นสังคมพืชที่พบน้อยมากในเมืองไทย โดยพบได้เฉพาะบนความสูงเกิน 2,000 เมตร ทางภาคเหนือเท่านั้น โดยที่ธรรมชาติได้เนรมิตป่ากึ่งอัลไพน์ไว้สูงเสียดฟ้าบนดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทยอันอุดมไปด้วยพรรณพฤกษาเขตร้อน, กึ่งเขตร้อน และแหล่งรวมพันธุ์ไม้ในเขตอบอุ่นและอัลไพน์หลายชนิดที่ไม่พบในที่อื่นๆ บนโลก จึงมีพืชหายากและพืชเฉพาะถิ่นอยู่นับร้อยชนิด เช่น ฟ้าคราม แสงแดง ขาวปั้น ฟองหินเหลือง ชมพูพิมพ์ใจ บัวทอง หญ้าดอกลาย ก่วมเชียงดาว เหยื่อเลียงผา น้ำนมเชียงดาว หรีดเชียงดาว และสิงโตเชียงดาว เป็นต้นที่นี่จึงกลายเป็นแหล่งศึกษาวิจัยพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง

ดอกชมพูพิมพ์ใจ ดอกชมพูพิมพ์ใจ

เดิมมีการใช้ประโยชน์โดยตรงอย่างที่ผมเล่าไปแล้ว จากลีซอ ม้ง มูเซอร์ ปากะญอ แต่ตอนหลังไม่มีการใช้ประโยชน์โดยตรงจากดอยหลวงเชียงดาวแล้ว แต่ยังมีหมู่บ้านชาวเขาอยู่ในพื้นที่บ้าง ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรรอบๆ ดอยด้านล่างและทำการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ 

เชียงดาวที่ว่า ปัจจุบันเป็นป่าอนุรักษ์ในรูปของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ 536,931 ไร่ นอกจากจะมีพืชพรรณพิเศษแล้วยังมี เก้ง กวางผา เสียงผา เป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำของแม่น้ำปิง

ทางเขตฯดอยหลวงเชียงดาว เปิดโอกาสให้ผู้คนได้ขึ้นไปเที่ยวชมธรรมชาติจากบนยอดดอยหลวง โดยจะมีประกาศราวช่วงต้นปี พร้อมทั้งกฎระเบียบและกติกาหลายอย่าง คนที่สนใจก็รอฟังก็แล้วกัน เป็นเส้นทางที่ไม่มีน้ำต้องแบกอาหารและน้ำไปเอง เดินบนภูเขาที่สูงเป็นอันดับสามของประเทศ

เดินเท้าขึ้นดอยหลวงเชียงดาว เดินเท้าขึ้นดอยหลวงเชียงดาว

พักแรม ที่อ่างสลุง พักแรม ที่อ่างสลุง

การได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลนี้ นอกจากจะบอกว่าบ้านเรามีของดีแล้ว ยังจะกระตุ้นให้เราภาคภูมิใจในบ้านเมืองของเราและจะได้ช่วยกันหวงแหนและอนุรักษ์ต่อไป...