คนไทย "อ้วน" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ

คนไทย "อ้วน" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ

คนไทยกำลังเผชิญภาวะ "อ้วน" ยืนยันจากรายงานสุขภาพของผู้ใช้งานการ์มินชาวเอเชีย ประจำปี 2564 ที่ชี้ว่าคนไทยมีอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชีย สำรวจจากทั้งหมด 12 ประเทศ

ปีนี้คุณตรวจสุขภาพประจำปีหรือยัง? ถ้าใครยังไม่ได้ตรวจ คงต้องหาเวลาไปเช็ค "สุขภาพ" สักหน่อยแล้ว เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งที่คนวัยทำงานจะมองข้ามได้อีกต่อไป ล่าสุด.. มีผลวิจัยชี้ว่า คนไทยมีอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชีย 

แล้วอัตราการเผาผลาญที่ไม่ดี ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมาหาคำตอบไปพร้อมกัน

1. ผลวิจัยชี้ชัด คนไทยส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดี

มีรายงานข้อมูลสุขภาพของผู้ใช้งานการ์มินชาวเอเชียในปี 2564 ระบุว่า คนไทยมีอัตราการเผาผลาญขณะพัก (Resing Calories) เฉลี่ยอยู่อันดับสุดท้าย เมื่อเทียบกับ 12 ประเทศในเอเชีย (จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย)

อีกทั้งพบว่ามีระดับความเข้มข้นเฉลี่ยในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) ต่อสัปดาห์ เป็นอันดับรองสุดท้ายอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

คนไทย \"อ้วน\" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ

 

อธิบายเพิ่มเติมก็คือ ยิ่งมีระดับความเข้มข้นเฉลี่ยในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) ต่อสัปดาห์มาก ก็จะยิ่งมีความสามารถในการเบิร์นแคลอรีได้มากตามไปด้วย โดยร่างกายจะเบิร์นไขมันทั้งในขณะที่ออกกำลังกาย และช่วงขณะพัก ส่งผลให้ไม่มีการสะสมไขมันส่วนเกิน (ไม่อ้วน) 

จึงสามารถสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย (Intensity Minute) เฉลี่ยต่อสัปดาห์ และแคลอรีขณะพัก (Resting Calories) สามารถบ่งบอกถึง "ระดับการเผาผลาญ" ที่ดีได้ แต่เมื่อย้อนกลับไปดูผลวิจัยที่พบว่าคนไทยมีอัตราเผาผลาญไขมันไม่ดี จึงอนุมานได้ว่าเรากำลังเผชิญกับปัญหาภาวะ "อ้วน"

2. ระบบเผาผลาญคืออะไร? สำคัญกับสุขภาพแค่ไหน?

เรื่องนี้ "หมอผิง" หรือ พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย (สหรัฐอเมริกา) อธิบายว่า ระบบเผาผลาญ หรือ เมแทบอลิซึมคือ กระบวนการที่ร่างกายเปลี่ยนอาหารที่เรากินเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อใช้ดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือเป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี 

คนไทย \"อ้วน\" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ

เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ร่างกายของคนส่วนใหญ่จะมีมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ผนวกกับฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายที่ลดลง อย่างโกรทฮอร์โมน ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็น ภาวะ "อ้วนลงพุง

อีกทั้งยังทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบเผาผลาญถึงสำคัญ

 

3. ระบบเผาผลาญแย่ลง มีวิธีซ่อมให้ดีขึ้นได้ไหม?

หมอผิงตอบชัดเจนว่า เราสามารถกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญในร่างกายกลับมาทำงานดีขึ้นได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  • เพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มากขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อวัน
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
  • กำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสม และเลือกอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

คนไทย \"อ้วน\" ขึ้น? พบอัตราการเผาผลาญแย่ที่สุดในเอเชียจาก 12 ประเทศ

4. อยากฟื้นฟูระบบเผาผลาญ ออกกำลังกายแบบไหนดี?

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้โดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ในแง่ของการสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แก่ร่างกายด้วย ยิ่งมีมวลกล้ามเนื้อเยอะ ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญให้ดีขึ้นได้อีกทางหนึ่ง โดยการออกกำลังกายที่ควรทำ ได้แก่

  • การออกกำลังกายแบบคาดิโอ เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก อย่างน้อย 150 - 300 นาทีต่อสัปดาห์
  • การออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อ เช่น บอดี้เวท ฟรีเวท โยคะ อย่างน้อย 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์

5. อาจใช้อุปกรณ์ช่วยติดตามสุขภาพ เพิ่มความแม่นยำ

หากใครไม่มั่นใจว่าจะสามารถลุกขึ้นมาออกกำลังกายได้ทุกวัน ก็อาจจะต้องหาตัวช่วยมาแจ้งเตือน และติดตามสุขภาพ โดยควรเลือกอุปกรณ์ที่มีฟังก์ชันการติดตามสุขภาพที่หลากหลายเมนู เช่น 

  • การติดตามการเผาผลาญขณะพัก (Resting Calories) 
  • การวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensor)
  • การติดตามการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Function) 
  • การติดตามระดับความเครียด (Stress Tracking) 
  • การฝึกความแข็งแรง (Strength Training) 
  • การวัดอายุของสุขภาพ (Fitness Age) 
  • การติดตามการนอนหลับ (Sleep Monitoring) 
  • การติดตามการดื่มน้ำ (Hydration Tracking) เป็นต้น

 

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์