สดร. เผยภาพถ่ายกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เวบบ์" ขณะผ่านน่านฟ้าเมืองไทย

สดร. เผยภาพถ่ายกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เวบบ์" ขณะผ่านน่านฟ้าเมืองไทย

สดร. เผยภาพถ่ายกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เวบบ์" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ขณะผ่านน่านฟ้าเมืองไทย เห็นได้หลายพื้นที่ในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2564 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เผยภาพประวัติศาสตร์​หลังจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เจมส์ เวบบ์" ทะยานขึ้นสู่อวกาศ ประมาณ 40 นาที ​กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (James Webb Telescope: JWST)ก็เดินทางผ่านเหนือน่านฟ้าประเทศไทย สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เห็นได้หลายพื้นที่ในประเทศไทย อาทิ เชียงใหม่ น่าน ลำปาง เชียงราย พิจิตร สุโขทัย กรุงเทพ ราชบุรี สระบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ชัยภูมิ เลย ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ยะลา ตรัง ฯลฯ

และเนื่องจากเป็นช่วงเวลากลางคืนของประเทศไทย จึงนับเป็นโอกาสดีคนไทยจะได้ร่วมเป็นสักขีพยานการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไปพร้อมกับคนทั้งโลก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Telescope: JWST) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 เวลาประมาณ 19:20 น. ที่ผ่านมา ด้วยจรวด Ariane 5 ณ ฐานปล่อยจรวดในเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนมุ่งหน้าสู่ตำแหน่งสังเกตการณ์ห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตร (4 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์)
 

สดร. เผยภาพถ่ายกล้องโทรทรรศน์อวกาศ \"เจมส์ เวบบ์\" ขณะผ่านน่านฟ้าเมืองไทย

กล้องโทรทรรศน์อวกาศลำนี้นับเป็น “เรือธง” สำคัญของ NASA ที่จะมาแทนที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่กำลังจะปลดประจำการ มาพร้อมกับเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง บุกเบิกสู่ยุคใหม่ของวงการดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด สังเกตแสงอันริบหรี่ของกาแล็กซีที่ห่างไกลออกไป เพื่อศึกษากลไกการก่อกำเนิดดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ไปจนถึงการสังเกตดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ซึ่งนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการศึกษาเอกภพอย่างแท้จริง

หลังจากนี้จะใช้เวลาอีกประมาณ 14 วัน JWST จะปรับวงโคจรเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย และเริ่มปฏิบัติภารกิจต่อไป