"วรรณสิงห์" แนะ 4 วิธี “ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” เพื่อโลกของเรา
สถานการณ์โลกยังไม่แน่นอน แต่หลายคนเริ่มวางแผน “ท่องเที่ยว” กันแล้ว “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” ชวน “ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อจะออกเดินทางท่องเที่ยว ก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อโลก วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักทำสารคดี, นักสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ก่อตั้งรายการ 'เถื่อน Channel' แนะนำเคล็ดลับดี ๆ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นเดินทางแบบยั่งยืน ตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบินและที่พัก จนถึงวิธีปฏิบัติตัวระหว่างทางและจบทริปอย่างสมบูรณ์ในฐานะนักเดินทางเพื่อ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Quinta Alma ที่พักสไตล์ Ecological Retreat Farm (ภาพ: Booking.com)
เมื่อเริ่มออกเดินทางอีกครั้ง “ความรับผิดชอบ” เป็นสิ่งสำคัญที่นักเดินทางต้องพกติดตัวไปด้วย เพราะผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับโลก ล้วนเป็นเรื่องของเราทุกคน การท่องเที่ยว นับจากนี้จึงเป็นเรื่องของความใส่ใจและเข้าใจมากขึ้นกว่าที่เคย ทั้งการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหันมาสนใจความยั่งยืนของเศรษฐกิจที่ครอบคลุมลงไปถึงระดับชุมชน
Bears Eye View, Gatlinburg, USA (ภาพ: Booking.com)
โดยรายงานล่าสุดจาก Booking.com เผยว่า 94% ของผู้เดินทางชาวไทยมองว่า “การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” สำคัญมาก และ 78% ระบุว่าโควิด-19 ส่งผลให้พวกเขาต้องการเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต ความคาดหวังของนักเดินทางยุคใหม่จึงไม่ใช่แค่คาดหวังประสบการณ์ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหรือบริการการดูแลที่ใส่ใจครบทุกด้านจากผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังคาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ที่พวกเขาในฐานะนักเดินทางสามารถช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมชุมชน ในระหว่างทริปท่องเที่ยวของพวกเขาได้
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล แนะเคล็ดลับเตรียมตัว ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งทุกคนทำได้ เริ่มตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบินและที่พัก เพื่อเริ่มต้นทริปแบบยั่งยืน ดังนี้
1 เลือกไฟลท์เที่ยวบินแบบบินตรง (Direct Flight)
ไม่ว่าจะจองผ่านเอเจนซีหรือผู้ให้บริการจองการเดินทางแบบออนไลน์ (OTAs) จากเดิมที่เราเคยดูแค่ราคา ระยะทาง หรือความสะดวกสบาย ตอนนี้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คนมองหา หากจำเป็นต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน แนะนำให้เลือกเที่ยวบินที่บินตรง (Direct Flight) ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเที่ยวบินแบบ Transit เพื่อลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุด
(ภาพ: Booking.com)
2 เลือกที่พักที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมd
ปัจจุบันเราสามารถเลือกโรงแรมที่มีระเบียบมาตรการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องราคาและสถานที่ เพื่อมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและช่วยเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกอบการหันมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยผลสำรวจล่าสุดของ Booking.com เผยว่า 98% ของผู้เดินทางชาวไทยต้องการเข้าพักในที่พักรักษ์โลกที่ยึดหลักความยั่งยืนในปี 2565
Estancia La Jolla Hotel & Spa (ภาพ: Booking.com)
ซึ่ง Booking.com เพิ่งเปิดตัวตราสัญลักษณ์ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน (Travel Sustainable property badge) เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมอบให้แก่ ที่พักสำหรับการเดินทางอย่างยั่งยืนทั่วโลก เพื่อเป็นตัวช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถมองหาที่พักแบบรักษ์โลกได้ง่ายดายกว่าที่เคย ด้วยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และเข้าใจง่าย และเพื่อเป็นมาตรฐานของแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนให้กับแวดวงการท่องเที่ยวในอนาคต
Halekulani Hawaii (ภาพ: Booking.com)
3 ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้เหมือนในชีวิตประจำวัน
ในระหว่างการเดินทาง เราควรคำนึงถึงการดูแลรักษาสถานที่ท่องเที่ยวแบบพื้นฐาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งขยะ ไม่จับหรือสัมผัสอะไรที่ไม่ควรจับ เช่น การดำน้ำก็ไม่ควรไปจับสัตว์ทะเลหรือปะการัง หรือเลิกทิ้งก้นบุหรี่ไว้ตามชายหาด สิ่งที่เราทำได้ระหว่างท่องเที่ยวก็คือสิ่งเดียวกับที่เราทำได้ในชีวิตประจำวันทุกวัน
กินอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น (ภาพ: Booking.com)
ดังนั้นให้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากชีวิตปกติในทุกวันก่อน เช่น ลดขยะ ลด Carbon Footprint ลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น แล้วจากนั้นค่อยนำแนวทางเหล่านั้นไปใช้ระหว่างเดินทางด้วย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานล่าสุดของ Booking.com ที่พบว่า ผู้เดินทางชาวไทย 87% ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น จนถึงขั้นเลี่ยงจุดหมายและสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและจำนวนนักท่องเที่ยวที่ล้นไปในตัว
4 กระจายรายได้สู่ชุมชนและลดการบริโภคเกินความต้องการ
วรรณสิงห์ ในฐานะนักเดินทาง บอกว่า การเดินทางต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่ท่องเที่ยวเพื่อเสพความอร่อยจากร้านอาหารอันขึ้นชื่อ ความสบาย หรือความรื่นรมย์ต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ไปเพื่อเรียนรู้และซึมซับวิถีชีวิตของผู้คน ธรรมชาติ และเรื่องราวที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งจะทำให้เราเปิดประตูต้อนรับโลกนี้เข้ามาหาตัวเองอย่างอัตโนมัติ นอกจากเราจะได้เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เราและคนรอบข้างหันมารักสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เราลดการบริโภคที่เกินพอดี มีความต้องการที่น้อยลง เพราะการซึมซับสิ่งที่เราได้ไปสัมผัสจากการท่องเที่ยว หรืออยู่กับธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่นที่ไปเยือน ถือเป็นสิ่งที่็เพียงพอแล้ว
ที่พักแบบ Sustainable (ภาพ: Booking.com)
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลสำรวจของ Booking.com ที่เผยว่า ผู้เดินทางชาวไทย 85% ต้องการความมั่นใจว่าผลการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะกระจายไปสู่คนทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อช่วยกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นด้วยการช่วยในส่วนที่ตนเองสามารถทำได้
เที่ยวแบบใช้จักรยานลดคาร์บอน (ภาพ: Booking.com)
เช่น การเดินทางไปยังจุดหมายและชุมชนที่มีผู้คนไปเยือนน้อย จนเกิดเป็นกระแสการท่องเที่ยวเมืองรอง ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่พกพามาเต็มกระเป๋าทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่พักและผู้ให้บริการด้านการเดินทาง ไปจนถึงนักท่องเที่ยวอย่างเราทุกคน ทำให้การริเริ่มทำสัญลักษณ์ “ที่พักสำหรับเดินทางอย่างยั่งยืน” (Travel Sustainable property badge) ของ Booking.com กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเดินทางที่ยั่งยืนมากขึ้น ไม่ใช่แค่สำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้นแต่ สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทาง และการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ข่าวสารที่พักแบบรักษ์โลก ติดตามได้ทาง Twitter, IG, FB: Booking.com และสามารถดูข้อมูลเชิงลึกที่ “ศูนย์ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก”