ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3

ทำสำเร็จ 'คามิลลา' จากคนรักสามัญชนสู่พระชายากษัตริย์ชาลส์ที่ 3 ได้รับการสวมมงกุฎเป็นราชินีเครือจักรภพอังกฤษ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คิงชาลส์ที่ 3 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พ.ค.2566

คามิลลา โรสแมรี แชนด์ หรือเป็นที่รู้จักในนาม คามิลลา ปาร์กเกอร์ โบว์ลส์ หญิงสามัญชน พระชายาองค์ที่ 2 ของกษัตริย์ชาลส์ที่ 3 ได้รับการสวมมงกุฎราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 

ตอกย้ำวิวัฒนาการของเธอจากผู้เป็นที่รักในราชวงศ์ สู่การเป็นมเหสี ไปจนถึง ราชินี ด้วยสิทธิ์ของเธอเอง ใช้เวลากว่า 50 ปี

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3 สมเด็จพระราชาธิบดีชาลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลา ที่เพิ่งสวมมงกุฎเมื่อวันเสาร์ที่ 6 พ.ค.2566 เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระราชวังบักกิงแฮม

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3 ควีนคามิลลาทรงสวมมงกุฎควีนแมรีเป็นราชินีอังกฤษ พ.ศ.2566

มงกุฎ ซึ่ง สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร ทรงสวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม 2566 คือมงกุฎซึ่งมีชื่อว่า Queen Mary’s Crown หรือ มงกุฎพระราชินีแมรี (มงกุฏของสมเด็จพระราชินีนาถแมรี ที่ 1)

สำนักพระราชวังบักกิงแฮมระบุว่า นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักรที่ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ทรงเลือกมงกุฎซึ่งมีอยู่เดิมเพื่อทรงในการเข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชสวามีของพระนาง แทนการสร้างมงกุฎขึ้นใหม่เพื่อองค์ราชินี

ทว่าองค์มงกุฎก็มีการปรับแต่งเล็กน้อย ทั้งนี้ก็ “เพื่อประโยชน์ของความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ” สำนักพระราชวังระบุ

 

มงกุฎพระราชินีแมรี

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3 สมเด็จพระราชินีนาถแมรี ที่ 1 ปีค.ศ.1911

มงกุฎองค์นี้มีอายุมากกว่าหนึ่งศตวรรษ 'สมเด็จพระราชินีนาถแมรี ที่ 1' ทรงสวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ในปี 1911 และทรงสวมอีกครั้งในพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์จอร์จที่ 6 พระราชโอรสของพระนางในปี 1937 จึงเรียกกันลำลองในนาม ‘มงกุฎพระราชินีแมรี’

กรอบของ ‘มงกุฎพระราชินีแมรี’ ทำด้วยทองคำขาว ประดับเพชร 2,800 เม็ด ส่วนใหญ่เจียระไนแบบ cushion-shaped  คือเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมขอบมนคล้ายหมอนอิง กับบางส่วนที่เจียระไนแบบกุหลาบ (rose-cut) และบางส่วนที่เจียระไนแบบเหลี่ยมเกสร (brilliant-cut) คือเพชรที่ได้รับการเจียระไนมากกว่า 50 เหลี่ยม ทำให้สะท้อนกับแสงไฟได้อย่างสวยงาม 

ฐานมงกุฎฉลุเป็นรูปทรงกางเขนเรียงสลับกับรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาบด้วยบนและล่างด้วยเพชรเจียระไนแบบเหลี่ยมเกสรเรียงเป็นแถวเดียว 

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3

มงกุฎพระราชินีแมรี

ระหว่างกางเขนคู่หน้า ประดับ เพชรเม็ดใหญ่ ซึ่งสุลต่านแห่งตุรกีถวายแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปี 1856 (พ.ศ.2399) 

เหนือฐานเพชรประดับ กางเขนแพตตี (crosses-pattée) จำนวน 4 กางเขน สลับสัญลักษณ์ ดอกลิลลี จำนวน 4 ช่อ 

บนกางเขนแพตตีด้านหน้าประดับ เพชร Koh-i-nûr (โค-อิ-นัวร์) ในแท่นยึดทองคำขาวแบบถอดได้ (อ่านประวัติเพชร โค-อิ-นัวร์ ท้ายเรื่อง)

เหนือกางเขนแพตตีทั้ง 4 องค์ มีแถบทองคำขาวปลายเรียวประดับเพชรต่อยอดขึ้นไปเป็นซุ้มโค้งจรดกันที่กึ่งกลางมงกุฎประดับลูกโลกประดับด้วยหินคริสตัลจำลองตามแบบเพชรละฮอร์ ซึ่งเป็นฐานรองรับกางเขนแพตตีซึ่งมีเพชรคัลลินันที่ 3 ทรงหยดน้ำประดับไว้ตรงกึ่งกลางกางเขน

ภายในมงกุฎมีพระมาลากำมะหยี่สีม่วงหุ้มขอบด้วยแถบผ้าเออร์มิน

 

การปรับแต่งมงกุฎพระราชินีแมรีเพื่อควีนคามิลลา

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3 ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเข็มกลัดเพชรคัลลินัน

การเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมเล็กน้อยบางอย่างดำเนินการโดย ‘ช่างอัญมณีมงกุฎ’ เพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน ว่าการประดับอัญมณีนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับโอกาสนั้นๆ และสะท้อนถึงสไตล์ส่วนตัวของพระราชสวามี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นการสดุดีแด่ ‘สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2’

มงกุฎได้รับการปรับแต่งด้วยเพชร Cullinan III, IV และ V เพชรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในคอลเลคชั่นเครื่องประดับส่วนพระองค์ของควีนเอลิซาเบธที่ 2 พระองค์ทรงสวมใส่ในลักษณะของเข็มกลัดเป็นเวลาหลายปี

 

เกร็ดประวัติเพชรโค-อิ-นัวร์

ควีนคามิลลา สวมมงกุฏราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์ชาลส์ที่ 3

เพชร Koh-i-nûr บนกางเขนแพตตีของมงกุฎควีนแมรี

เพชรโค-อิ-นัวร์ เป็นหนึ่งในเพชรที่มีชื่อเสียงของโลก ในภาษาเปอร์เซีย โค-อิ-นัวร์ หมายถึง ‘ภูเขาแห่งแสง’ ความเป็นมาของเพชรเม็ดนี้กล่าวกันไปถึง 6 ตำนาน บ้างก็ว่าถูกปล้นจากท้องพระคลังอินเดีย ถูกโจรกรรมจากพระเศียรจักรพรรดิจักรวรรดิโมกุล ถูกขุดจากก้นแม่น้ำที่แห้งขอดในอินเดีย

แต่เว็บไซต์ Historic Royal Palaces บันทึกไว้ว่า เพชร Koh-i-Nûr อาจมีต้นกำเนิดมาจากเหมือง Golconda ทางตอนกลางทางตอนใต้ของอินเดีย เพชรเม็ดนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ แต่ก็มีประวัติอันปั่นป่วนดังกล่าว

โคห์-อิ-นัวร์ มีเจ้าของคนก่อนๆ มาแล้วหลายคน รวมถึงจักรพรรดิโมกุล ชาห์แห่งอิหร่าน จักรพรรดิแห่งอัฟกานิสถาน และซิกมหาราชา

บริษัทอินเดียตะวันออกรับอัญมณีจากมหาราชา Duleep Singh ที่ถูกปลดในปี 1849 โดยเป็นเงื่อนไขของสนธิสัญญาลาฮอร์ สนธิสัญญาระบุว่าอัญมณีต้องถวายแด่สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย

เพชร Koh-i-Nûr หนัก 105.6 กะรัต ครั้งหนึ่งเคยมีขนาดใหญ่กว่ามากนี้ แต่ได้รับการเจียรไนใหม่ในปี 1852 เพื่อปรับปรุงความแวววาวและให้เข้ากับรสนิยมของชาวยุโรปร่วมสมัย และได้รับการประดับไว้ ณ มงกุฎของ ‘ควีนมัม’ ในปี 1937

 

credit photo และอ้างอิง : AFP, เว็บไซต์ the British Royal Family, เว็บไซต์ Historic Royal Palaces