เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024

เปิดคอนเซปต์ One Bangkok Pavilion ของ วัน แบงค็อก (One Bangkok) ในงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) เมื่อเมืองขึงผ้าใบศิลปะ ด้วยความเชื่อศิลปะและวัฒนธรรมจะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ผู้คนและเมือง

วัน แบงค็อก (One Bangkok) เป็นอีกหนึ่งโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมงาน เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 หรือ Bangkok Design Week 2024 (BKKDW) ผ่านการสร้างสรรค์ วัน แบงค็อก พาวิลเลียน (One Bangkok Pavilion) เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องความเป็น ‘เมือง’ กับผู้เข้าชมพาวิลเลียน

One Bangkok (วัน แบงค็อก) เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ต้นแบบกรีนสมาร์ทซิตี้ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนครอบคลุมในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง โดยยึดเอา “หัวใจ” ของผู้คน เป็นศูนย์กลาง

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024

ปีนี้ โครงการวัน แบงค็อก เชิญศิลปินและนักออกแบบชื่อดังมากมายร่วมกันรังสรรค์ One Bangkok Pavilion ตอกย้ำความมุ่งมั่นของโครงการฯ ในการนำ ศิลปะ และ วัฒนธรรม มาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ผ่านการจัดแสดงพื้นที่สร้างสรรค์และโปรแกรมศิลปะหลากหลายแขนง ตามคอนเซปต์ Inspiring Urban Canvas หรือ ‘ผ้าใบเมืองที่สร้างแรงบันดาลใจ’

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย

จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย หัวหน้าภัณฑารักษ์และผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม และรองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แบรนด์เชิงกลยุทธ์ โครงการ วัน แบงค็อก ให้สัมภาษณ์กับ ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ในงานเปิดพาวิลเลียน ว่า

“พาวิลเลียนนี้เหมือนเป็นเรื่องของเมือง และหัวใจของเมืองคือ ‘คน’ ซึ่งสำคัญมากๆ และสอดคล้องกับแนวคิดของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ที่ว่า ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ โดยตีความแนวคิดเรื่องการร่วมมือระหว่างผู้คน (Collaboration) ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการพัฒนาพื้นที่ให้มีศักยภาพ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสื่อเรื่องราวและเชื่อมโยงกับการสร้างเมือง” 

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย

“เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เราทำงานกับศิลปิน นักออกแบบ นักสร้างสรรค์มากมายหลากหลายแขนง เพื่อนำงานศิลปะเข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์กับคน” จรินทร์ทิพย์ กล่าวและว่า โดยเนรมิตพาวิลเลียนแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่จำลองของเมืองน่าอยู่ ส่งต่อพลังของการมีส่วนร่วมและศิลปะไปสู่ทุกคน

การทำงานร่วมกันระหว่าง One Bangkok และศิลปินหลายแขนง จำนวน 11 กิจกรรม ทำให้ วัน แบงค็อก พาวิลเลียน เป็นพื้นที่จำลองเมืองที่มีคาแรคเตอร์ มีสีสันและมีความสนุกสนาน

 

Supermachine Studio ผู้ออกแบบพาวิลเลียน

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 ปิตุพงษ์ เชาวกุล

Supermachine Studio เป็นสตูดิโอดีไซน์ชื่อดังเจ้าของรางวัลระดับโลก ทำหน้าที่ออกแบบพาวิลเลียนให้สามารถเข้าถึงง่ายและสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดเวลา

ปิตุพงษ์ เชาวกุล สถาปนิกและผู้ก่อตั้งบริษัท Supermachine Studio กล่าวถึงการออกแบบ ‘วัน แบงค็อก พาวิลเลียน’ ว่า

“จากแนวคิด ‘Inspiring Urban Canvas’ เราได้ตีความการออกแบบตัวพาวิลเลียนให้มีรูปทรงคล้ายกับปราสาทที่สร้างขึ้นมาจากบล็อกไม้ หรือ wooden block ของเล่นสมัยวัยเด็ก ซึ่งเปรียบเทียบรูปทรงเรขาคณิตที่มีความแตกต่างและหลากหลายกับการสร้างเมืองที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคน 

โดยแต่ละคนช่วยกันคนละไม้ละมือ นำความฝัน และแรงบันดาลใจของตัวเองมาเรียงร้อยกันให้พาวิลเลียนนี้สมบูรณ์ 

พร้อมให้ทุกคนเข้ามาร่วมสนุกและมีปฏิสัมพันธ์ได้ตลอดเวลา ไม่ซับซ้อนเข้าถึงยากจนถูกมองว่าเป็นเพียงสถาปัตยกรรมที่ตั้งตระหง่าน หรือเป็นเพียงฉากหลังในรูปถ่าย 

ที่สำคัญคือจะต้องเป็นพื้นที่ที่ให้อิสระแก่ผู้ร่วมงานในการตีความการใช้งานในแบบของตนเอง จนเกิดเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำสำหรับทุกคน”

Kids Bloom และ Yimsamer 

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 Mr.Kevin - Kids Bloom

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 ตั้งเต อิมเมอร์ซีฟ

สองมัลติมีเดียเอเจนซีที่เชี่ยวชาญด้านงานอิมเมอร์ซีฟ สร้างสรรค์การมีส่วนร่วมระหว่างคนกับพาวิลเลียนด้วยการออกแบบ เกมกระโดดร่วมสมัย บนจออินเทอร์แอคทีฟที่ได้แรงบันดาลใจจากการเล่น ‘ตั้งเต’

รวมทั้ง Projection Mapping (2-4 ก.พ. 20.00 น.) บนอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก

 

BIGDEL และ MRKREME 

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024  BIGDEL กับงานกราฟิตีที่ วัน แบงค็อก พาวิลเลียน

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 MR.KREME

สองศิลปินสตรีทอาร์ตชื่อดังจาก Bridge Art Agency สร้างสรรค์กิจกรรม Live Paint เปลี่ยนบล็อกไม้ของพาวิลเลียนให้เป็นผืนผ้าใบ โดยวาดลวดลายระบายสีสันอย่างเต็มที่

BIGDEL เป็นศิลปินสตรีทอาร์ตรุ่นบุกเบิกงานกราฟิตีในไทย  ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย โดยได้อิทธิพลจากดนตรี  ภาพยนตร์ ผสมผสานผ่านคาแรคเตอร์ขี้เล่นกับลายเส้นมีชีวิตชีวา

MR.KREME (วรกันต์ จงธนพิพัฒน์) เจ้าของคาแรคเตอร์ครอบครัวสัตว์ประหลาดขนยาวที่มีสีสันสดใสและบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์

 

TNT Screen x Tosmile28

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 อาร์ตเวิร์คจากประวัติศาสตร์ถนนวิทยุและพระราม 4

สองครีเอเตอร์ต่างแขนงร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมเวิร์คช็อปศิลปะ History On Screen พิมพ์ซิลค์สกรีนด้วยลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ของพื้นที่บริเวณถนนวิทยุและพระราม 4  เช่น อาร์ตเวิร์คหรือลายเส้นที่เป็นสัญลักษณ์คล้าย 'ต้นข้าว' เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นนาข้าวมาก่อน

นอกจากนี้ยังมีอาร์ตเวิร์คที่เป็นสัญลักษณ์ของ ว่าว  หอนาฬิกา เสาวิทยุต้นแรกของประเทศ ดอกไม้ คนวิ่ง ภาพท็อปวิวอาคารโรงเรียนเตรียมทหาร ฯลฯ

ผู้เข้าชมพาวิลเลียนที่สนใจสามารถเข้าร่วมเวิร์คช็อปทดลองทำซิลค์สกรีนตัวเองแล้วรับผลงานกลับบ้านเป็นระลึกได้

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 เวิร์คช็อป Silkscreen โดย TNT screen

TNT Screen เป็นโรงงานซิลค์สกรีนในกรุงเทพฯ ที่ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1990 มีเป้าหมายในการพัฒนาผลงานศิลปะผ่านเทคนิคที่เชี่ยวชาญ

Tosmile28 คือช่างสักที่โดดเด่นด้านการแปลงเรื่องราวออกมาเป็นลายเส้น ซึ่งก็คือผู้ออกแบบอาร์ตเวิร์คสัญลักษณ์พื้นที่บริเวณถนนวิทยุและพระราม 4  ในกิจกรรมนี้

 

BICT Fest & BIPAM

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 การแสดงสำหรับเด็ก

สร้างสรรค์การแสดงสำหรับเด็ก ชุด Other World: The Blocs (3 ก.พ. 15.00 น.) สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและพื้นที่สาธารณะ ผ่านการแสดงที่ส่งเสริมการเล่นและการปลดปล่อยจินตนาการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกมุมมองและทุกพื้นที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ได้เสมอ

การแสดงชุด Cityscape Crimson (4 ก.พ. 15.00 น.)ศิลปะแห่งการแสดงที่เล่าเรื่องเมืองผ่านองค์ประกอบแบบอินเทอร์แอคทีฟ เปลี่ยนโลกหลากสีสันให้อาบด้วยสีแดง เพื่อย้อนมุมมองของการมองเมือง

BIPAM (Bangkok International Performing Arts Meeting) คือเทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัยนานาชาติ จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยเป็นเทศกาลที่รวบรวมเอาการแสดงจากไทยและต่างประเทศ มาให้ทุกคนได้รับชมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นประจำทุกปี

BICT Fest (Bangkok International Children's Theatre Festival) เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชน เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2558 เพื่อนำประสบการณ์การแสดงที่แปลกใหม่และมีคุณภาพระดับนานาชาติให้กับเด็กๆ และครอบครัวชาวไทย

 

Aircraft Cola

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 โซดาข้าวตัง (POP Rice Soda)

นำเสนอการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนและสถานที่ผ่านประสบการณ์สดชื่นกับเครื่องดื่มใหม่สุดสร้างสรรค์ โซดาข้าวตัง (POP Rice Soda) โดยได้แรงบันดาลใจจากย่านพระราม 4 ที่อดีตเคยเป็นทุ่งนา จุดกำเนิดของ One Bangkok

Aircraft Cola โคล่าสดแบรนด์แรกของกรุงเทพฯ นำเสนอประสบการณ์ดื่มโคล่าทำสดใหม่จากวัตถุดิบจริงหลากหลายชนิดก่อนผสมและอัดแก๊สสดก่อนเสิร์ฟ

 

Jelly Roll Dance Club และ The Stumbling Swingout

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 กิจกรรม Urban Swing Dancing

จัดกิจกรรม Urban Swing Dancing เปิดฟลอร์แห่งความสนุกให้ทุกคนลุกขึ้นมาเต้นรำกับคลาสสอนสวิงแดนซ์แบบพื้นฐาน

Jelly Roll Dance Club เป็นโรงเรียนสอนเต้นสวิง มีเป้าหมายแบ่งปันความรักในการเต้นรำและดนตรี ขณะที่ The Stumbling Swingout เป็นวงดนตรีสวิงแจ๊สที่ตั้งใจสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดผ่านเสียงดนตรี

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย กับส่วนหนึ่งของศิลปินที่เชิญมาร่วมทำงานครั้งนี้

จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย กล่าวด้วยว่า One Bangkok Pavilion ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567 เป็นเหมือนหนึ่งคาแรคเตอร์ของโครงการ One Bangkok ซึ่งในส่วนของ Art and Culture โครงการฯ ได้มีกิจกรรมมาเป็นเวลา 5-6 ปีอย่างต่อเนื่อง

“เราจริงจังกับเรื่อง Art and Culture ไม่ใช่แค่มาร์เก็ตติ้งหรือแคมเปญที่เกิดขึ้นชั่วครู่แล้วหายไป เราอยากเป็นเพื่อนกับศิลปินทุกคน เราเริ่มสะสมเป็นชุมชนศิลปินให้ใหญ่ขึ้น ศิลปินหลายๆ ท่านที่สร้างผลงานใน One Bangkok Pavilion เราก็อยากทำงานร่วมกันในอนาคต มีบางชิ้นที่วางแผนไว้แล้วว่าจะได้รับการนำไปจัดวางในโครงการจริงๆ” จรินทร์ทิพย์ หัวหน้าภัณฑารักษ์และผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรมฯ กล่าว

เมืองขึงผ้าใบศิลปะ คอนเซปต์งานออกแบบ One Bangkok Pavilion ในงาน BKKDW 2024 คณะ Tiger Drum Thailand กับการแสดงที่ One Bangkok Pavilion

จรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย กล่าวด้วยว่า มีหลายโครงการในงาน Bangkok Design Week ปีที่แล้วของ One Bangkok ที่กำลังจะเชื่อมต่อกับคนในชุมชน เช่น Urban Furniture Collection การประกวดออกแบบเฟอร์นิเจอร์สาธารณะระดับนักเรียนนักศึกษา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการผลิต และหลังจากทดสอบและประเมินประสิทธิภาพแล้ว จะหาโอกาสนำไปวางในสถานที่สาธารณะในกรุงเทพฯ ได้อย่างไรบ้าง

เปิดประสบการณ์กับ วัน แบงค็อก พาวิลเลียน (One Bangkok Pavilion) ใน เทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ณ ลานหน้าไปรษณีย์กลาง บางรัก วันนี้- 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 – 22.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย