‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

อดีตนักกายภาพที่ได้เรียนรู้ศาสตร์การบำบัดหลากหลายรูปแบบ เพื่อดูแลร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้ธรรมชาติเยียวยาที่ไร่ใจยิ้ม

ถ้าจะบอกว่า ไร่ใจยิ้ม อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี บนเนื้อที่ 100 ไร่ ซึ่งเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวยั่งยืน นอกจากใส่ใจโลก ยังใส่ใจผู้คนที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อยากให้พวกเขาได้รับพลังดีๆ และเข้าใจชีวิตมากขึ้น คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลย...

เพราะไร่ใจยิ้มตั้งธงไว้เช่นนั้น เนื่องจาก สุภาวดี รุยาพร อดีตนักกายภาพบำบัด ผู้อำนวยการบริษัทเอเชีย แปซิฟิก อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้ก่อตั้งไร่ใจยิ้มร่วมกับคนรู้ใจ ทั้งสองเรียกที่นั่นว่า มหาวิทยาลัยแห่งความสุข

นอกจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ยังสอดแทรกคอร์สสั้นๆ เพื่อให้คนได้พัฒนาตัวเอง และมีคอร์สอบรมพัฒนาผู้นำที่ยั่งยืน เมื่อไม่นานพวกเขาลองทำคอร์สพัฒนาผู้ป่วยสู้กับโรคร้ายผ่านกระบวนการหลากหลายรูปแบบ ที่สำคัญใจต้องสู้ก่อน แล้วค่อยว่ากันตามกระบวนการ

ปัจจุบันสุภาวดี ผู้ก่อตั้งไร่ใจยิ้ม นอกจากมีความรู้เรื่องกายภาพบำบัด ยังสนใจหลายศาสตร์ เพื่อนำมาใช้กับการฝึกอบรมผู้คนหลากหลายรูปแบบร่วมกับทีมงาน ไม่ว่าโยคะ ชี่กง ศิลปะบำบัด พลังงานธรรมชาติ และการบำบัดด้วยเสียง ฯลฯ

นักกายภาพบำบัดก็ป่วยได้

เธอย้อนความว่า สมัยก่อนนักกายภาพบำบัดป่วยมากกว่าคนไข้ ตอนนั้นเธอทำงานคลินิคกายภาพ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เชิงสะพานปิ่นเกล้า และมีคลีนิคกายภาพบำบัดแถวสามย่าน 

“เราเห็นความเจ็บปวดของคนที่เดินเข้ามาหา บางทีไม่ใช่ความเจ็บปวดที่ร่างกายอย่างเดียว เป็นความเจ็บป่วยด้านอารมณ์ จิตใจ และผลมาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย ”

‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

เธอยอมรับว่า ชีวิตที่ผ่านมาเป็นนักกายภาพที่ทำงานหนักมานานกว่า 5 ปี ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ป่วยบ่อย ไม่มีเวลาออกกำลังกาย จนเกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ อยู่เรื่อยๆ  

"ร่างกายได้สะกิดเราแล้ว ตอนนั้นมีหมอนทุกรูปแบบใช้บำบัด เพราะป่วยตั้งแต่คอ บ่า ไหล่ หลัง ภูมิคุ้มกันต่ำ หมอเคยเอาเข็มยาวๆ มาฉีดต่อมทอนซิลที่คอ

เพราะตอนนั้นทำงานหนัก มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมายในการทำงาน บางทีลำไส้แปรปรวน  เพราะการเป็นนักกายภาพบำบัดรุ่นแรกๆ เวลาทำอะไร ต้องมีจิตวิญญาณในการรักษา ต้องทำเต็มที่

ทำงานหนัก จนมีโรครุมเร้า แต่โชคดีเคยทำงานกับรองศาสตราจารย์สุรศักดิ์ ศรีสุข อาจารย์เก่งมากเขียนหนังสือเรื่องกดจุดหยุดปวด และคู่มือหยุดปวดด้วยตัวเอง ท่านรักษาไหล่ติด โดยไม่ใช้ยา เราก็ใช้วิธีนั้น เวลาเจอใครก็แนะนำหนังสือสองเล่มนี้"

‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

ต้องบำบัดตัวเองก่อนบำบัดผู้อื่น 

ตอนนั้นสุภาวดี เห็นว่า ถ้าปล่อยให้ป่วยแบบเดิมๆ คงไม่ดีแน่ จึงปรับเปลี่ยนตัวเอง เริ่มพาคนไข้ออกวิ่ง

"เราก็ทำไปพร้อมกับคนไข้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีมายเซ็ทแบบนี้ ก็หันมาดูแลระบบหายใจด้วยการวิ่ง จนเป็นที่มาของการเดินทางไปพิชิตความสูงไปเทือกเขาหิมาลัย เนปาล เพื่อทดสอบจิตใจ 

เมื่อป่วยก็หันมาออกกำลังกายและดูแลจิตใจ เราเองก็ไม่ใช่นักบำบัด แต่เราจะให้คนไข้เป็นนักบำบัดด้วยตัวเอง อย่างเมื่อก่อนคนไข้เดินมาตัวเอียงๆ เราไม่ใส่ใจ มุ่งบำบัดร่างกายอย่างเดียว จากนั้นไปเรียนเรื่องระบบประสาทในเชิงลึก

เพราะเราก็เรียนด้านนี้มาบ้างแต่ยังไม่เข้าใจระบบร่างกายของเรา จนค่อยๆ เรียนรู้เรื่องเส้นประสาทที่สื่อสารอารมณ์ ความรู้สึก 

การเรียนหลายๆ ศาสตร์ที่เชื่อมโยงกายและใจเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น บางเรื่องเธอนำมาอธิบายให้คนฟังเข้าใจง่ายขึ้น โดยทำเป็นแผ่นชาร์ต

ยกตัวอย่าง การแบ่งคนแต่ละประเภทออกเป็นโซนสีต่างๆ อาทิ สีเหลือง-นักสร้างสรรค์,โซนสีฟ้า นักวิเคราะห์,โซนสีเขียว นักจัดการ และโซนสีแดง นักประสานใจ

เพื่อทำให้พวกเขารู้ว่าอยู่โซนสีไหน เป็นคนแบบไหน หรือบางทีก็มีส่วนผสมโซนสีต่างๆ เพื่ออธิบายความสุข ความเครียดของพวกเขาอยู่ตรงไหน"

ย้อนไปเมื่อ10 ปีที่แล้ว เมื่อเธอเริ่มมาทำงานบริหารจัดการให้บริษัทเอเชีย แปซิฟิค อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัดและไร่ใจยิ้มของครอบครัว มาดูแลเรื่องการฝึกอบรม จึงหันมาเรียนรู้เรื่องพลังงานบำบัดที่เรียกว่า เรกิ เพิ่มเติม 

“เพราะเราก็เรียนด้านระบบประสาทมาแล้ว ที่ผ่านมาคนชอบอธิบายเรื่องพวกนี้แบบสายมู แต่เราเรียนมาด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อร่างกายเก็บความเครียด เก็บอารมณ์ไว้เยอะ สุดท้ายก็กระจายไปทั่วร่างกาย การใช้พลังงานบำบัด เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกายกับใจ ต้องผ่านการกระทำที่อ่อนโยน มีความเชื่อมั่นในธรรมชาติ”

‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

ความสุขจากธรรมชาติ

มนุษย์ก็เป็นพลังงานธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง เธอเข้าใจเช่นนั้น จึงหันไปเรียนรู้กับครูบาอาจารย์หลายคนและเข้าคอร์สสั้นๆ ในเรื่องการพัฒนาจิตและการทำความเข้าใจกับธรรมชาติ

เคยเดินทางไปชุมชนฟินฮอร์น สก็อตแลนด์ (ชุมชนที่รวมตัวกันทดลองและแสวงหาแนวทางการใช้ชีวิตที่เป็นไปเพื่อการเติบโตทางจิตวิญญาณและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ) 

"เราเน้นเรื่องความสงบ ความนิ่ง และการสัมผัสธรรมชาติ ไม่ได้สนใจสายมูแบบคนอื่น ถ้าจะพูดเรื่องการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ และพระแม่ธรณี ต้องใช้เวลาในการอธิบาย เนื่องจากเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง

ซึ่งบางเรื่องก็อธิบายยาก การไปเข้าคอร์สสั้นๆ ทำให้เราคิดต่อว่าจะทำอะไรต่อในไร่ของเรา แล้วเราจะทิ้งอะไรให้โลกใบนี้ อาจดูสวยหรูหน่อย  

จนได้รู้จักดร.วรัญญา สะอาดเอี่ยม คนเขียนหนังสือนักรบสนามชีวิต ที่สนใจเรื่องจิตวิญญาณ เราก็ไปเรียนด้านนั้น และเขาก็มาช่วยทำเรื่องคนไข้มะเร็ง เขาก็พยายามอธิบายให้คนเรียนวิทยาศาสตร์มาทั้งชีวิตเข้าใจ แต่คนก็ไม่เข้าใจ 

‘สุภาวดี รุยาพร’ เจ้าของไร่ใจยิ้ม อดีตนักกายภาพ: ป่วยแล้วบำบัดตนเองอย่างไร

และสิ่งที่เราทำอยู่ เรามองเรื่องความสุข เมื่อเราทำไร่ใจยิ้ม เราก็ปล่อยให้คนทำงานที่นั่นมีพื้นที่ปลอดภัย เป็นตัวของตัวเอง เราเห็นคุณค่าของการทำงานในแบบของเขา"

เธอยกตัวอย่างคอร์สผู้บริหารว่า ไม่มีใครรู้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขาทำงานโดดเดี่ยวแค่ไหน เมื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน และฟังเรื่องเล่า ก็จะค่อยๆ เข้าใจพวกเขามากขึ้น

“การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัด คือ การเปลี่ยนแปลงตัวเอง เวลาเราทำหลักสูตรให้หน่วยงาน ทำคอร์สให้ผู้บริหาร ใช้ฐานกายสอนชีวิต เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน”

..............

ภาพจากเฟซบุ๊ค : ไร่ใจยิ้ม