Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It's Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It's Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ

Jamsan (จัมซัน) นำผลงานภาพวาดหนังสือนิทานเด็กใน It's Okay to Not Be Okay ซีรีส์เกาหลีเรื่องดัง พร้อมผลงานภาพวาดชุด Red Chair และ Rose from the Stars จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกที่กรุงเทพฯ

ครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ Jamsan (ออกเสียง จัมซัน) ศิลปินชาวเกาหลีใต้ผู้มีชื่อเสียงจากการทำ หนังสือนิทาน (storybook) ประกอบซีรีส์ดัง It's Okay to Not Be Okay เดินทางนำผลงานวิจิตรศิลป์ของเขามาจัดแสดงร่วมกับงานคอนเซ็ปต์อาร์ต (Concept Art) และภาพประกอบ (Illustration) ในชื่อ นิทรรศการ Jamsan's Director's Cut ที่กรุงเทพฯ

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ นิทรรศการ Jamsan's Director's Cut 

Jamsan อายุ 50 ปี มีชื่อจริงว่า “คังซัน” เป็นนักวาดภาพประกอบชาวเกาหลีใต้รุ่นแรกที่บุกเบิกอาณาจักรของคอนเซ็ปต์อาร์ตในเกาหลี 

กล่าวได้ว่าเขาเป็นศิลปินในกลุ่ม concept artist คือศิลปินซึ่งสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เหมือนหรือไม่ต้องเหมือนงานศิลปะก็ได้ แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยแนวคิด

ผลงานคอนเซปต์อาร์ตที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ‘จัมซัน’ อย่างท่วมท้นในเวลาข้ามคืน คือการสร้างสรรค์ หนังสือนิทานภาพวาด (storybook) ให้กับซีรีส์สุดฮิตของเครือข่ายเคเบิล tvN เรื่อง It's Okay to Not Be Okay เมื่อปี 2563 ซึ่งโด่งดังในหลายประเทศ รวมทั้งไทยที่มีชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยว่า “เรื่องหัวใจ ไม่ไหวอย่าฝืน”

ถึงขนาดที่ว่า หลังซีรีส์จำนวน 16 ตอน จบลงไปในเดือนสิงหาคม 2563 แต่ หนังสือนิทานภาพวาด It's Okay to Not Be Okay ยังคงทำให้ซีรีส์เรื่องนี้เป็นพาดหัวข่าวสื่อบันเทิงเกาหลีต่อไปอีก เพราะบริษัทผู้ผลิตซีรีส์ตัดสินใจตีพิมพ์ หนังสือนิทานเด็ก 5 เล่ม ที่ปรากฏในซีรีส์ แล้ววางจำหน่ายจริงในร้านหนังสือ

ผลปรากฏว่า หนังสือนิทานจำนวน 5 เล่มดังกล่าว ติดอันดับรายชื่อหนังสือขายดี 20 อันดับแรกของเดือน ตามข้อมูลของเว็บไซต์ Kyobo Bookstore และ YES24

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ อาร์ตเวิร์ค Boy Who Grew up Eating Nightmares

ที่ในซีรีส์ It's Okay to Not Be Okay ต้องมีหนังสือนิทานก็เพราะนางเอกในเรื่องชื่อ โกมุนยอง ซึ่งรับบทโดย ซอเยจี (Seo Yea-ji) เป็นนักเขียนหนังสือเด็กชื่อดังและมีข่าวลือว่าเธอมีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม 

หนังสือนิทานเด็กที่ตัวละคร "โกมุนยอง" วาด จึงมีเอกลักษณ์ดูแปลกตา แตกต่างไปจากหนังสือนิทานเด็กทั่วไปที่มีสีสันสวยงาม หนังสือนิทานทั้ง 5 เล่มในซีรีส์ก็คือ

  • Boy Who Grew up Eating Nightmares
  • Zombie Kid
  • The Cheerful Dog
  • The Hand, the Monkfish
  • Finding the Real Face

ด้วยความสําเร็จของซีรีส์และหนังสือนิทานทั้ง 5 เล่ม ได้มีการตีพิมพ์หนังสืออีก 2 เล่มที่มีสคริปต์ของละคร It's Okay to Not Be Okay 1 และ 2 เพิ่มเข้ามาในคอลเลคชั่น

ในนิทรรศการสุดพิเศษ Jamsan's Director's Cut จัมซันได้นำต้นฉบับภาพวาดของหนังสือนิทานประกอบซีรีส์ It's Okay to Not Be Okay มาจัดแสดงให้ชมและเดินทางมาเปิดนิทรรศการด้วยตนเอง

 

นิทรรศการ Jamsan's Director's Cut

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ Jamsan มีชื่อจริงว่า “คังซัน”

นิทรรศการ Jamsan's Director's Cut พาทุกคนไปสัมผัสกับเส้นทางการสร้างสรรค์ศิลปะอันหลากหลายของ “จัมซัน” ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนแห่งจินตนาการที่เต็มไปด้วยเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ด้วยลายเส้นของศิลปิน

รวมทั้งเรื่องราวภาพวาดแฟนตาซีเหนือจริงในภาพวาดชุด Red Chair และ Rose from the Stars การผจญภัยของเด็กสาวนาม Rose อันเป็นที่รักของผองเพื่อน

รวมไปถึงผลงานคอนเซ็ปต์อาร์ตที่เขาชื่นชอบและถนัดมากกว่า 30 ปี จากซีรีส์เรื่อง It’s Okay to Not Be Okay  และเรื่อง Encounter (Boyfriend)

เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับคนรักศิลปะซึ่งสนใจและหลงใหลในศิลปะจากเกาหลีใต้จะได้มาเปิดประสบการณ์ผ่านผลงานศิลปะ ซึ่งไม่เพียงแค่แสดงออกถึงทักษะความเชี่ยวชำนาญ แต่ยังแฝงไปด้วยเรื่องราวและความหมายอันลึกซึ้ง

ส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้นแรก

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ พื้นที่หนึ่งในส่วนจัดนิทรรศการชั้นล่างของแกลลอรี

ผู้เข้าชมจะได้พบกับจิตรกรรมร่วมสมัย 25 ชิ้น ซึ่งรวมถึงผลงานภาพวาดชุดแรก Red Chair (เก้าอี้สีแดง) มาจนถึง Rose from the Stars (กุหลาบจากดวงดาว) ทั้งหมดนำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการผจญภัยของเด็กผู้หญิงกับหมีแดงและสายสัมพันธ์ซึ่งแยกกันไม่ออก 

ชิ้นงานเหล่านี้โดดเด่นด้วยความแตกต่างของสีซึ่งมีชีวิตชีวา รวมทั้งองค์ประกอบบนผืนผ้าใบอันเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดสายตาอย่างที่ไม่เคยเห็นในผลงานของจัมซันมาก่อน 

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ ภาพวาดชุด Red Chair

Red Chair เป็นสัญลักษณ์ของ “สถานที่พักผ่อน” สําหรับเด็กผู้หญิง ดวงดาว และดอกกุหลาบ ศิลปินวาดเก้าอี้ด้วยสีแดงเพราะเป็นสีสัญลักษณ์ของดอกกุหลาบและความรัก

จัมซัมวาดภาพเด็กผู้หญิงนั่งบนเก้าอี้สีแดงพร้อมกับแสดงการเดินทางในใจของเธอ ทุกฉากหลังในแต่ละภาพคือทิวทัศน์ในความคิดของเธอเอง

ภาพวาดชุด Rose from the Stars หมายถึงการเดินทางของดอกกุหลาบที่บานจากดวงดาวอันไกลโพ้น 

ศิลปินกล่าวว่า เด็กผู้หญิงในภาพคือดอกกุหลาบที่กำลังเดินทาง เด็กหญิงอยากรู้อยากเห็นโดยเผชิญหน้าและมองเข้าไปในสถานที่ที่เรารู้จักหรือแม้แต่สถานที่ที่ลึกที่สุดในใจเรา ได้เจอกับเรื่องราวต่างๆ ในเส้นทางเลือกเดิน ตัวละครนี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เขาเจอมาในอดีตด้วย

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ จัมซันอธิบายภาพวาดชุด Rose from the Stars (สีน้ำมันบนผ้าใบ)

“ภาพวาดที่มีดวงดาวตกอยู่ที่พื้น และดาวที่กำลังตกมาจากฟ้า อยากให้ทุกคนเห็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตตอนนี้อาจจะผ่านไปแล้ว หรืออาจยังมาไม่ถึงก็ได้” จัมซัน กล่าวขณะนำชมนิทรรศการ พร้อมกับยกตัวอย่างภาพวาดเด็กหญิงกำลังยืนมองหมู่ดาวที่กำลังร่วงหล่นจากท้องฟ้าลงสู่พื้นว่า

“ก่อนที่ดาวจะตกลงมา ทุกคนก็จะมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตใช่ไหม เป็นช่วงเวลาที่เด็กผู้หญิงคนนี้กำลังจดจำช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต เหมือนเป็นความรู้สึกให้ทุกคนรู้สึกว่าช่วยจดจำฉันหน่อยในเวลาที่ฉันดีที่สุดแบบนี้ เหมือนอยากจะรักษาช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตเก็บไว้กับตัว”

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ จัมซันอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ ในภาพวาด

ภาพวาดเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกส่วนตัวของศิลปิน เช่น ดอกกุหลาบเหี่ยวเฉา พูดเรื่องเรากำลังละเลยความรักอยู่หรือไม่, บ้านสีฟ้า เป็นตัวแทนความเจ็บปวดในชีวิตที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่มาในบ้านหลังนั้น (ลองไปหากันดูว่าอยู่ในภาพใด)

ขณะที่ ต้นกระบองเพชรที่มีหนาม เป็นตัวแทนของความเจ็บปวด บางภาพมีเด็กผู้หญิงกำลังถือต้นกระบองเพชรไว้ในมือ แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดที่ทุกคนเก็บไว้

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ Red Chair Art Toys อาร์ตทอยครั้งแรกของ Jamsan

ถ้าคุณอยากรู้ว่าทำไมเด็กผู้หญิงคนนี้ต้องทำหน้าตาแบบนี้ตลอด ศิลปินตอบว่า “สิ่งที่ยากที่สุดคือการวาดปากเด็กผู้หญิงคนนี้ มือสั่นมากตอนวาด จริงๆ ปากเด็กผู้หญิงคนนี้บางกว่าลายเซ็นของผมอีก แต่ปากก็ดึงความรู้สึกของรูปนั้นๆ ได้ดี”

ในพื้นที่นิทรรศการชั้นล่างนี้ยังมีการเปิดตัว อาร์ตทอย ชิ้นแรกของจัมซันซึ่งสร้างสรรค์โดยความร่วมมือกับ Maison JE Bangkok (เมซง เจอี กรุงเทพฯ) แกลลอรีซึ่งเป็นสถานที่จัดนิทรรศการฯ

 

ส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้น 2

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ Jamsan พูดถึงการทำหนังสือนิทานให้ซีรีส์  It's Okay to Not Be Okay

แฟนศิลปะและแฟนซีรีส์เกาหลีพลาดไม่ได้กับการจัดแสดงผลงานคอนเซ็ปต์อาร์ตและภาพวาดดิจิทัลจากซีรีส์เรื่อง It's Okay to Not Be Okay และซีรีส์เรื่อง Encounter (Boyfriend) ซึ่งเป็นงานศิลปะที่มีคุณภาพสูงและภาพประกอบอันยอดเยี่ยม หลายชิ้นงานนำออกมาแสดงที่นี่เป็นครั้งแรก

“ตอนที่ทำผลงานเพื่อไปใส่ในซีรีส์ ผมค่อนข้างมีเวลาน้อย อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องทำต้องวาดออกมาแล้ว ได้โทรศัพท์คุยกับผู้กำกับซีรีส์” จัมซัม กล่าวถึงการจัดทำหนังสือนิทานภาพวาดที่ใช้ในซีรีส์เรื่อง It’s Okay to Not Be Okay ซึ่งพอคิดกลับไปแล้วก็เหนื่อย

แน่นอนจัมซันยังไม่ได้ดูซีรีส์ เพราะซีรีส์ยังไม่ได้ถ่ายทำ เขาจึงต้องฟังความคิดเห็นจาก พัคชินอู (Park Shin-woo) ผู้กำกับซีรีส์ และกลั่นกรองออกมาอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการตัดสินใจเลือกทำอะไรคือสิ่งสำคัญที่เราต้องทำให้เร็ว เป็นช่วงเวลาที่ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ 

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ อาร์ตเวิร์คหนังสือนิทาน Finding the Real Face ในซีรีส์ It's Okay to Not Be Okay

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ อาร์ตเวิร์ค Finding the Real Face

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ ลายเส้นในหนังสือนิทาน Boy Who Grew up Eating Nightmares ประกอบซีรีส์ It's Okay to Not Be Okay

จัมซันเล่าต่อไปว่า เนื่องจากหนังสือนิทานน่าจะปรากฏในฉากต่างๆ ไม่กี่วินาที ด้วยความที่อยากแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านเข้าไปในภาพวาดที่จะเห็นเพียงไม่กี่วินาที จึงเลือกวิธี 'การวาดเส้น'

“ผมคิดว่า การวาดด้วยเส้นไปสัมพันธ์กับความรู้สึกของคนดู ทำให้คนดูรู้สึกร่วมไปกับภาพของผมได้ กลายเป็นว่าทำให้ทุกคนชื่นชอบและได้มีฉากที่นำภาพวาดของผมออกมาในซีรีส์มากขึ้น”

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ Jamsan สาธิตการวาดภาพ Zombie Kid

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ อาร์ตเวิร์ค Zombie Kid ในซีรีส์ It's Okay to Not Be Okay

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ อาร์ตเวิร์ค Zombie Kid

หนังสือนิทานประกอบซีรีส์เรื่องนี้ ไม่ได้ใช้สีสันสดใสและไม่มีสีมากมาย จัมซัมมองว่าในซีรีส์ นักแสดงสามารถสื่อสารและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้อย่างดีอยู่แล้ว  ถ้าใส่สีในหนังสือนิทานมากเกินไป การส่งต่อความรู้สึกหรือการสื่อสารอาจไม่สามารถทำได้ดีมากในการใช้ในซีรีส์

การที่เขาเลือกใช้สีโทนมืด (dark color) กับหนังสือนิทานเพื่อแสดงความเสียหายทางอารมณ์ที่ตัวละครในซีรีส์ได้รับ แม้แต่การใช้ สีแดง อย่างเข้มข้น ในหนังสือนิทานเรื่อง Zombie Kid ก็ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน

จัมซันกล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการวาดภาพในหนังสือนิทานชุดนี้คือ “การวาดให้ตัวเหมือนไม่มีกระดูก ต้องทำให้ภาพลักษณ์ดูจดจำได้ง่าย การเว้นระยะห่างของตัวละครในบางภาพก็สำคัญที่สุด”

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ ภาพวาดประกอบซีรีส์ Encounter (Boyfriend)

ในนิทรรศการ Jamsan's Director's Cut ยังมีภาพวาดประกอบซีรีส์เรื่อง Encounter (Boyfriend) ซึ่งจัมซันสร้างสรรค์คอนเซ็ปตอาร์ตโดยนำเสนอแต่ละตอนราวกับเทพนิยายสำหรับผู้ใหญ่ เน้นไปที่องค์ประกอบเชิงสัญลักษณ์เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ 

“ประสบการณ์ด้านคอนเซ็ปต์อาร์ตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้ผมมีความสามารถในการสื่อสารความรู้สึกด้วยภาพ จนได้รับความซาบซึ้งและเห็นอกเห็นใจจากผู้ชม”

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ ภาพวาดประกอบซีรีส์ Encounter (Boyfriend)

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ ภาพวาดประกอบซีรีส์ Encounter (Boyfriend)

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ หนังสือ Artist Jamsan Red Chair Artbook

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ Jamsan เซ็นชื่อให้กับผู้ซื้อหนังสือ Artist Jamsan Red Chair Artbook

ภายในงานนิทรรศการยังมีหนังสือศิลปะเล่มพิเศษ Artist Jamsan Red Chair Artbook สำหรับจำหน่ายเป็นของที่ระลึกอันทรงคุณค่า ซึ่งผู้ชมสามารถนำความทรงจำและความประทับใจจากนิทรรศการกลับบ้านไปด้วย

หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนบันทึกการเดินทางทางศิลปะที่ผ่านมาของจัมซัน โดยได้รวบรวมเรื่องราวแนวความคิดการทำงานของเขาไว้อย่างละเอียด พร้อมภาพผลงานต้นฉบับซึ่งหาดูได้ยาก

Jamsan กับหนังสือนิทานเด็กลายเส้นดาร์ค It\'s Okay to Not Be Okay ที่กรุงเทพฯ แกลลอรี Maison JE Bangkok ถนนสุรวงศ์

นิทรรศการ Jamsan's Director's Cut จัดแสดงที่ Maison JE Bangkok (เมซง เจอี กรุงเทพฯ) ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ วันที่ 22 มิ.ย.-21 ก.ค.2567 เวลา 11.00-19.00 น.