เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระราชทานสัมภาษณ์เบื้องหลังทรงออกแบบเครื่องแต่งกายนักแสดงและโปรดักชั่นอุปรากรเฉลิมพระเกียรติ ร.10 มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madama Butterfly) เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมประมวลภาพการแสดง

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แบรนด์ SIRIVANNAVARI และองค์อุปถัมภ์มูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้าในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ (RBSO) ทรงมีพระดำริให้จัดการแสดงอุปรากร มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madama Butterfly) เมื่อวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ทอดพระเนตรอุปรากร มาดามบัตเตอร์ฟลาย

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงอุปรากร 'มาดามบัตเตอร์ฟลาย' เมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 19.46 น.

ในการนี้ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ องค์อุปถัมภ์มูลนิธิรอยัลแบงค์คอกชิมโฟนีออร์เคสตร้า และองค์ประธานจัดงานการแสดงอุปรากร มาดามบัตเตอร์ฟลาย ทรงเฝ้าฯ รับเสด็จ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ทรงถวายการนำชมชุดนักแสดงทรงออกแบบ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ก่อนทอดพระเนตรการแสดง

อุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ซึ่งจัดแสดงครั้งนี้ เป็นบทประพันธ์ดนตรีของ จาโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini) ชาวอิตาเลียน บทคำร้องเป็นภาษาอิตาเลียนโดย ลุยจิ อิลลิกา (Luigi Illica) และจูเซปเป้ จาโกซา (Giuseppe Giacosa)

เป็นอุปรากรที่แสดงถึงความรักระหว่างสาวเกอิชาชาวญี่ปุ่นผู้ยึดมั่นในความรักกับทหารเรือหนุ่มชาวอเมริกัน เธอยอมสละชีวิตเพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตน

นำออกแสดงครั้งแรกที่โรงอุปรากรสกาลา ในกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อปีค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) เป็นโอเปร่าเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำออกแสดงมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ทรงทักทายนักแสดงนำหญิงในเครื่องแต่งกายทรงออกแบบ

การแสดงครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงรับเป็นผู้อำนวยการแสดง (Executive Producer) ทรงคัดเลือกคณะนักแสดงจาก Opera Production กรุงเวียนนา และเปิดคัดเลือกนักแสดงไทยในบทนักแสดงสมทบและนักร้องประสานเสียง รวมทั้งสิ้น 53 คน

ที่สำคัญ โปรดักชั่นมาดามบัตเตอร์ฟลายครั้งนี้ เครื่องแต่งกายของนักแสดงอุปรากรได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดโดยแบรนด์ SIRIVANNAVARI นำโดย องค์ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ ทรงออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 14 ชุด ด้วยพระองค์เอง สำหรับ 9 ตัวละครหลักทั้งชายหญิง

และอีกมากกว่า 40 ชุดโดยทีมงานของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ภายใต้แนวคิดทรงกำหนดของพระองค์ท่าน นอกจากนี้ ยังทรงมีส่วนร่วมในการออกแบบฉากเวทีร่วมกับทีมงานจากเวียนนาอีกด้วย

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระราชทานสัมภาษณ์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระราชทานสัมภาษณ์กลุ่มแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับโปรดักชั่นและการออกแบบเครื่องแต่งกายนักแสดงอุปรากรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง ‘มาตามบัตเตอร์ฟลาย’ ซึ่งเป็นอุปรากรที่มีภาพจำชัดเจน มีความแตกต่างจากการออกแบบคอลเลคชั่นแฟชั่นอย่างไร ความว่า

“อย่างแรกที่เลือกอุปรากรเรื่องนี้ คิดว่าถ้าอยากได้อุปรากรมาจัดแสดงที่เมืองไทยสักเรื่องหนึ่ง คิดว่าต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงง่าย ทุกคนเข้าใจและคุ้นเคย ทั้งในแง่บทกวี การแปล หรือการตีความด้านแฟชั่น ภาพยนตร์ ซึ่งมีความคลาสสิกและความเป็นแฟชั่นในตัวอุปรากร

ในส่วนการออกแบบ ท่านหญิงก็จะยึดความเป็นแบบแผนดั้งเดิม(traditional)ของความเป็นญี่ปุ่น แต่เราก็ประยุกต์เปลี่ยนให้มีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น

แน่นอน ในแง่ของการกำหนดรูปแบบลักษณะ(styling)ทั้งหมดมีการเปลี่ยน, ทรงผม การแต่งหน้า คาแรคเตอร์ การตีความของสี, silhouette เสื้อผ้า, เนื้อผ้า (texture), การซ้อนผ้าเป็นชั้น (layer), การปัก การมิกซ์แอนด์แมตช์ ดูมีความเป็นการละคร เป็นละครเวทีแบบดั้งเดิมแต่มีความเป็นแฟชั่นและทันสมัย และมีความเป็น SIRIVANNAVARI (แบรนด์) อยู่ค่อนข้างเยอะ” สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระราชทานสัมภาษณ์ โดยทรงใช้คำเรียกแทนพระองค์ว่า ‘ท่านหญิง’

 

เครื่องแต่งกายทรงออกแบบสำหรับนักแสดงหญิง

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เครื่องแต่งกายนักแสดงหญิงทรงออกแบบ

แนวคิดในการทรงออกแบบเครื่องแต่งกายนักแสดง มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือชาวญี่ปุ่นและชาวตะวันตก

เสื้อผ้าของกลุ่มนักแสดงที่รับบทเป็นชาวญี่ปุ่น ได้มีการนำเสื้อผ้าจากคอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 “The Rise of Asian” ของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ที่มีแรงบันดาลใจมาจากความรุ่งโรจน์แห่งวัฒนธรรมอาทิตย์อุทัยมาดัดแปลง เพิ่มความอลังการด้วยงานปักอันประณีต เน้นรูปทรงวอลุ่ม

เสื้อผ้านักแสดงหญิงซึ่งรับบทสาวตะวันออกหรือ ‘หญิงชาวญี่ปุ่น’ ออกแบบตามขนบธรรมเนียมของชาวญี่ปุ่นแท้ อ้างอิงมาจากชุดเกอิชาและชุดของหญิงชาวบ้าน ซึ่งนิยมใส่เสื้อผ้าทับซ้อนหลายชั้น โครงสร้างหลวม และใช้ผ้าคาดเอวหรือโอบิรัดเพื่อให้เกิดรูปทรง

ส่วนเสื้อผ้านักแสดงหญิงรับบทชาวตะวันตก เป็นชุดร่วมสมัย แต่เพิ่มเติมรายละเอียดองค์ประกอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นสีสันที่บ่งบอกอายุและนิสัยของตัวละคร อาทิ นางเอกชาวญี่ปุ่นใช้เสื้อผ้าโทนสีอ่อน ส่วนภรรยาใหม่ชาวตะวันตกใช้ผ้าโทนสีเข้มมีความมันวาว และมีโครงชุดเข้ารูปชัดเจน

รวมถึงลวดลายบนผ้าที่มีนัยสำคัญ เช่น ลายปักดอกโบตั๋นและดอกซากุระในชุดนางเอก ในขณะที่หญิงชาวตะวันตกปักลวดลายดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นงานปักจากช่างฝีมือชั้นครูแห่ง SIRIVANNAVARI Atelier & Academy

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ งานปักจากช่างฝีมือ SIRIVANNAVARI Atelier & Academy

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เครื่องแต่งกายนางเอก

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

งานปักโดยช่างฝีมือ SIRIVANNAVARI Atelier & Academy

 

เครื่องแต่งกายทรงออกแบบสำหรับนักแสดงชาย

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

เครื่องแต่งกายนักแสดงชายทรงออกแบบ

ขณะที่เสื้อผ้าของกลุ่มนักแสดงชายซึ่งรับบทชาวตะวันตก คือพระเอกและเพื่อนพระเอก เป็นชุดสูทแบบสากล โครงชุดคงไว้ซึ่งเครื่องแบบทหารเรืออย่างชัดเจน ทว่าใช้เนื้อผ้าลินินในการตัดเย็บ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่พระเอกเดินทางมายังประเทศในแถบเอเชีย

องค์ประกอบอื่นๆ ของเครื่องแบบ เช่น แถบสีที่แขน กระดุม ตราสัญลักษณ์ต่างๆ สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความถึงพื้นเพของตัวละคร

สำหรับชุดนักแสดงชายรับบทชาวญี่ปุ่น ดัดแปลงมาจากเสื้อผ้าจากคอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 “The Rise of Asian” เช่นเดียวกับชุดของนักแสดงหญิง มีการผสมผสานกลิ่นไอของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมเข้ากับความร่วมสมัยที่ถ่ายทอดผ่านโครงชุด ลวดลาย และเทคนิคต่างๆ

ส่วนเสื้อผ้าของนักแสดงสมทบบนเวที อาทิ นักร้องคอรัส ออกแบบเป็นสีขาวครีม เสมือนสีที่เป็นพื้นหลังให้กับฉาก ช่วยส่งให้นักร้องและอุปรากรสมบูรณ์ตระการตายิ่งขึ้น

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระราชทานสัมภาษณ์

“ถ้าทุกคนจำได้ ย้อนกลับไปที่ SIRIVANNAVARI Spring-Summer 2022 The Rise of Asian ช่วงนั้นเราเดาว่าความเป็นเอเชียกลับมามีอิทธิพลต่อโลก และเราก็เลือกบางไอเทม ค่อยๆ ปรับและพัฒนา โดยดึงรายละเอียดออกมาในเครื่องแต่งกายของนักแสดงชายและนักแสดงหญิง

SIRIVANNAVARI เป็นแบรนด์ซึ่งให้ความสำคัญกับรายละเอียดองค์ประกอบอย่างลึกซึ้ง ทุกอย่างมีความหมาย ลวดลายการปักบนเครื่องแต่งกายนักแสดงทุกคนมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นดอกไอริส ดอกโบตั๋น นกกระเรียน มีความหมายทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่เพียงการปักประดับ

ดอก Iris ถ้าเขียนกลับหลัง คือ Siri พ้องกับชื่อแบรนด์ โบตั๋นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ นกกระเรียนสัญลักษณ์ของความรัก”

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เครื่องแต่งกายต้องเหมาะกับการเคลื่อนไหวของนักแสดง

องค์ดีไซเนอร์ทรงใช้ความรู้ในหลากหลายมิติในการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โดยต้องคำนึงถึงการเคลื่อนไหวในระหว่างการแสดงของตัวละครแต่ละตัว การคำนวณเวลาการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายระหว่างฉาก

“เราออกแบบเครื่องแต่งกายทั้ง 14 คาแรคเตอร์ ขนาดเสื้อผ้าต้องสอดคล้องกับการเคลื่อนไหว นักแสดงใช้กระบังลมในการร้องโอเปร่า ต้องมีการแสดง เครื่องแต่งกายต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง เพราะเขาคือนักแสดง ไม่ใช่นักเดินแบบ (model)

ข้อจำกัดในการออกแบบอีกประการหนึ่งคือเวลาสำหรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายระหว่างฉาก เราจะต้องมีชุดที่เป็นพื้นฐานข้างใน เรามีหน้าที่แค่ใส่บางอย่างเพิ่ม หรือถอดออกให้ไว สามารถทำให้ชุดใช้งานได้จริงมากขึ้น ดูมีความเป็นละครมากขึ้น เพิ่มรายละเอียดได้ ถ้าต้องเปลี่ยนชุดในสามสิบวินาที ก็จะซ่อนในลักษณะ in a layer แล้วแค่แกะออกมา

มีบางคาแรคเตอร์ในโอเปร่าที่เวลาผ่านไปสามปี ต้องเปลี่ยนทั้งโครงเสื้อ สี เนื้อผ้า การตกแต่ง”

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เครื่องแต่งกาย ดูใกล้-ไกลก็สวย

องค์ผู้อำนวยการแสดงฯ ยังทรงคำนึงถึงงานออกแบบเครื่องแต่งกายที่ดูสวยงามบนเวทีในทุกระยะการมองเห็น จากโครงเสื้อที่ได้รับการขยายขนาด แขนเสื้อที่กว้างขึ้นและยาวกว่าเดิม คอเสื้อยกให้สูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้เห็นโครงสร้างชัดเมื่ออยู่บนเวที ทรงรับสั่งว่า

“ทำอย่างไรให้ใกล้ก็สวย ไกลก็สวย ทำอย่างไรให้นักแสดงสวมใส่เครื่องแต่งกายแล้วรู้สึกสะดวกสบาย”

 

การออกแบบฉากและเวที

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ฉากและเวทีอุปรากร 'มาดามบัตเตอร์ฟลาย' โปรดักชั่นทรงออกแบบ

ในด้านการออกแบบฉากและเวที องค์ดีไซเนอร์ทรงกำหนดแนวทางให้มีความร่วมสมัยและสอดแทรกความหมายในเชิงสัญลักษณ์ โดยทรงหารือกับผู้กำกับเวทีมืออาชีพชาวอิตาเลียน ทรงประสงค์ฉากที่ดูทันสมัย แต่ยังคงวิถีดั้งเดิมแบบญี่ปุ่น เมื่อย้อนกลับไปดูแคมเปญโฆษณาของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ในที่สุดทรงเลือกออกแบบฉากบนเวทีในโทนสีขาว

“สีต้องสื่อถึงอารมณ์และความรู้สึก เราต้องการฉากที่ให้ความรู้สึกแบบ zen (สงบและประณีต) แต่ดูร่วมสมัย จึงทำเวทีและฉากให้เป็นสีขาว ไม่ตีกับสีเสื้อผ้านักแสดง แม้แต่ต้นไม้ใหญ่ในฉาก เราก็ทำเป็นสีขาว”

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ นักแสดงเหมือนผุดออกมาจากกระดาษสีขาว

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

องค์ผู้อำนวยการแสดงฯ ทรงอยากให้ฉากมาดามบัตเตอร์ฟลายโปรดักชั่นนี้เหมือนภาพวาดญี่ปุ่นบนกระดาษ แม้กระทั่งต้นไม้ใบไม้และดอกไม้ก็เป็นสีขาว มีเพียงนักแสดงที่เหมือนผุดออกมาด้วยเครื่องแต่งกายสีเอิร์ธโทน

และได้รับการแยกออกจากฉากด้วยการจัดแสงไฟและการออกแบบระดับบนเวที ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดึงอารมณ์ของผู้ชม

 

ทรงอยากให้เป็นแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ  ทรงดำริสร้างอุปรากร ‘มาดามบัตเตอร์ฟลาย’ เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่ราวกลางปีพ.ศ.2566 ทรงเดินทางไปคัดเลือกนักแสดงอุปรากรมืออาชีพ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ด้วยพระองค์เอง

รวมทั้งทรงคัดเลือกผู้อำนวยการฝ่ายเวทีและผู้อำนวยการฝ่ายแสงไฟสำหรับการแสดงอุปรากรระดับสากลโดยเฉพาะ

องค์ผู้อำนวยการแสดงฯ ทรงเล็งเห็นว่าการแสดงอุปรากรเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงประเภทหนึ่งที่รวมไว้ซึ่งศาสตร์และศิลป์ระดับสากลอย่างครบองค์และหลายมิติ ทรงอยากให้งานออกแบบ Madame Butterfly โปรดักชั่นนี้ เป็นแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนักเรียนศิลปะทุกๆ แขนง ทั้งด้านแฟชั่น การแสดงเวที นักเรียนการแสดง งานออกแบบฉาก

ที่สำคัญ เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับทีมโปรดักชั่นระดับนานาชาติ นักแสดงชั้นนำระดับโลกจาก Vienna Production

นับเป็นความร่วมมือระหว่างทีมไทยกับเวียนนาที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบรนด์แฟชั่นไทยและทีมโปรดักชั่นไทยในการร่วมออกแบบครั้งนี้

รวมถึง วงรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า (RBSO) ที่สามารถบรรเลงดนตรีระดับเสียงตามบทประพันธ์ดั้งเดิมของ จาโคโม ปุชชินี โดยไม่มีการผ่อนปรนตัวโน้ตใดๆ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ

“ท่านทรงอยากให้เราเป็นคนวิริยอุตสาหะ อยากให้รู้จริง ทำจริง ไม่จำเป็นต้องพูด แค่ลงมือทำ”

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงกล่าวถึงแรงบันดาลพระทัยที่ทรงได้รับจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงงานทุกครั้ง รวมทั้งโปรดักชั่นอุปรากรเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงามสมพระเกียรติ

 

ประมวลภาพการแสดงอุปรากร Madama Butterfly โปรดักชั่นทรงออกแบบ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เครื่องแต่งกายทรงออกแบบสำหรับนักแสดงหญิง แม้แต่ 'ร่ม' ของประกอบการแสดงชิ้นสำคัญของเรื่องก็ทรงออกแบบ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ นางเอกและพระเอกในเครื่องแต่งกายทรงออกแบบ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เครื่องแต่งกายแม้จะสวยงามแต่ก็ต้องเหมาะสมการเคลื่อนไหวของนักแสดง เป็นสิ่งที่ทรงคำนึงถึงในการออกแบบ

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ทรงประสงค์ให้ฉากและเวทีเป็นสีขาว เพื่อให้การแสดงเป็นเหมือนภาพวาดบนกระดาษญี่ปุ่น

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ แม้แต่ต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ก็เป็นสีขาว

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ระดับบนเวทีก็มีส่วนสำคัญในการดึงอารมณ์ผู้ชม

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ การออกแบบแสงบนเวที

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ

การออกแบบแสงและฉากบนเวที ทำให้สื่อความหมายและอารมณ์

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ อีกหนึ่งอารมณ์บนเวทีที่เปลี่ยนด้วยแสงและองค์ประกอบฉาก

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ บรรยากาศหลังจบการแสดง

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ในหลวงพระราชทานช่อดอกไม้แก่เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และนักแสดง

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และช่อดอกไม้พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงเล่าเบื้องหลัง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อุปรากรทรงออกแบบ ทรงน้อมพระองค์ก่อนม่านเคลื่อนตัวลงปิดเวที

ภาพ : แบรนด์ SIRIVANNAVARI