'นิธิ เอียวศรีวงศ์' ในมุมหนังสือและความลุ่มลึก : มรดกทางความคิดที่มีคุณค่า

'นิธิ เอียวศรีวงศ์' ในมุมหนังสือและความลุ่มลึก : มรดกทางความคิดที่มีคุณค่า

นิธิ เอียวศรีวงศ์ (เสียชีวิต 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ด้วยโรคมะเร็งปอด) นักวิชาการที่มีความเป็นปราชญ์ งานเขียนของเขา มีทั้งลุ่มลึกและรอบด้าน มีแง่มุมชวนคิด

ถ้าจะกล่าวถึงผลงานเขียนของ ศาสตราจารย์ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน นักประวัติศาสตร์ และปราชญ์ ต้องยอมรับว่าแตกต่างจากนักวิชาการและนักเขียนทั่วไป มีความหลากหลายและเข้าถึงคนทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะวิเคราะห์เรื่องใด ก็ชวนคิดไปไกล แต่จะคิดมุมไหนอยู่ที่คนอ่าน  

โดยเฉพาะมุมประวัติศาสตร์ การเมือง และมนุษยวิทยา ผลงานอาจารย์นิธิจะเชื่อมโยงให้เห็นมิติต่างๆ ซึ่งหานักคิดนักเขียนที่มีเอกลักษณ์แบบนี้ในเมืองไทยยากมาก

เนื่องจากเขาเป็นนักอักษรศาสตร์ (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาฯ ) และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเข้าใจแก่นพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง 

หน้าประวัติศาสตร์ คงต้องจารึกเอาไว้ว่า เมืองไทยได้เสียนักคิดคนสำคัญ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ด้วยมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 11:47 น. สิริอายุ 83 ปี

\'นิธิ เอียวศรีวงศ์\' ในมุมหนังสือและความลุ่มลึก : มรดกทางความคิดที่มีคุณค่า ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักเขียน นักคิด นักประวัติศาสตร์ นักวิพากษ์สังคม ฯลฯ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2566

 

ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยได้รับทั้งรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา และได้ชื่อว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งหลังจากสมัยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และจิตร ภูมิศักดิ์ 

เจ้าของรางวัลศรีบูรพา ปี 2545

จากบทสัมภาษณ์ของ optimise เขียนโดยธนกร จ๋วงพานิช กล่าวถึงเกียรติคุณของอาจารย์นิธิ เจ้าของรางวัลศรีบูรพา ปี 2545 ว่า 

“ความสำคัญของนายนิธิ คือ การใช้ปากกาและความเป็นนักเขียนและนักวิชาการ มาชี้ให้เห็นความสำคัญของสามัญชน โดยย้ำว่าสามัญชนคือผู้สร้างประวัติศาสตร์ที่แท้จริง” 

ผู้เขียนบทความชิ้นนี้ บอกไว้ว่า อาจารย์นิธิพอใจมากกว่าที่จะบอกว่าตัวเองเป็นเพียงนักเขียนมากกว่าอื่นใด

“ในฐานะนักเรียนอักษรศาสตร์ สิ่งที่ผมใฝ่ฝันคือ การได้เป็นนักเขียน แต่คำว่านักเขียนมักถูกใช้ในความหมายของ creative work มากกว่า เขียนบทความสังคม การเมืองอย่างนี้ เรียกตัวเองเป็นนักเขียนได้ยังไง ต้องเขียนนิยาย แต่การเป็นนักเขียนนิยายไม่ใช่จะเป็นได้ทุกคน ผมอยากเขียนนิยายจะตาย ผมก็เขียนไม่เป็น แต่ถ้าพูดความหมายกว้าง ก็คิดว่าที่ทำทุกวันนี้คือเป็นนักเขียน

พูดจริงๆ ไม่ได้คิดจะขับเคลื่อนอะไรเลย คิดว่าเพียงต้องช่วยๆ กันแสดงความคิดเห็น ผิดบ้างถูกบ้าง แล้วหวังว่าอย่างน้อยถ้ามีคนได้อ่าน เขาอาจจะรู้สึกว่าการ take part กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นสิ่งควรทำหรือสิ่งจำเป็น

ถามว่าถึงขนาดเจตนาขับเคลื่อนอะไรไหม ไม่ถึงขนาดนั้น เพราะผมไม่นึกว่าตัวเองจะมีอิทธิพลขนาดเปลี่ยนความคิดอะไรใครได้ เป็นแต่เพียงพยายามเสนอสิ่งที่ไม่เหมือนกับที่เขาคิด 

หลายๆ ครั้ง หลายๆ หน ก็อาจจะมีบางคนที่เริ่มรู้สึกว่าถึงเขาไม่เชื่อ เขาก็ต้องกลับมาทบทวนความคิดความเชื่อของตัวเองใหม่ แต่ถ้าดูจากปฏิกิริยาที่ผมเห็นจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ผมคิดว่าผมไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลย เขียนมา 10-20 ปี มันไม่ได้เกิดผล” อาจารย์นิธิ กล่าวไว้ใน optimise

\'นิธิ เอียวศรีวงศ์\' ในมุมหนังสือและความลุ่มลึก : มรดกทางความคิดที่มีคุณค่า ส่วนในมุมการเขียนประวัติศาสตร์ อาจารย์นิธิเคยให้สัมภาษณ์ว่า

“ผมอาจโชคดีอยู่นิดหน่อย ตรงที่ผมชอบอ่านหนังสือไม่เลือกหน้า มีบ้าบออะไรขวางหน้าก็อ่านๆ มันไป ทำให้ผมรู้นั่นนิด รู้นี่หน่อย ไม่ได้รู้จริงสักเรื่อง แต่ทีนี้ถ้าคุณไปอ่านประวัติศาสตร์ยุโรปที่ฝรั่งเป็นคนเขียน มันจะไม่สอนแบบนี้ มันจะสอนให้เข้าใจว่าเรากำลังพูดถึงยุคของการแย่งอำนาจระหว่างคนสองประเภทที่มีฐานอำนาจแตกต่างกัน 

เพราะฉะนั้นเวลาพูดเรื่องการปฏิรูปศาสนาในยุโรปของมาร์ติน ลูเธอร์ จริงๆ มาร์ติน ลูเธอร์ คนเดียวทำอะไรไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีฐานของการปะทะ วิวาทะ ระหว่างสองฐานอำนาจมาก่อน....” ( หาอ่านได้ในเว็บไซต์ https://optimise.kkpfg.com/cover_story_17.php)

นักประวัติศาสตร์ผู้ลุ่มลึก

ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล วิจารณ์หนังสือที่อาจารย์นิธิเขียนไว้หลายเล่มในปรัชญาประวัติศาสตร์ของนิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ 

ในส่วนของหนังสือวัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525) เขาวิจารณ์ว่า "เป็นการเสนอภาพความเข้าใจใหม่ในประเด็นเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ผ่านการศึกษางานวรรณกรรมและนาฎศิลป์ต่างๆ นิธิไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าประเทศไทยนั้นได้ดำรงความเป็นอาณาจักรสยามที่มีสังคมจารีตไว้ได้อย่างต่อเนื่องหลังกรุงแตก

จนกระทั่งจำต้องปฎิรูปประเทศในช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ซึ่งก็คือ การเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตก นิธิได้เสนอแนวคิดใหม่ที่ว่า “ก่อนที่ไทยจะถูกทำให้ทันสมัยในรัชกาลที่ 5 นั้น ก็ได้ถูกทำให้ใหม่ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ”

ส่วนหนังสือเรื่อง การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (2529) ธนภาษ เขียนไว้ว่า เป็นงานวิชาการชิ้นที่สร้างความโด่งดังอย่างมากแก่นิธิ ทั้งแสดงลักษณะของการทำลายกรอบความคิดและความเข้าใจต่อเหตุการณ์การแย่งชิงอำนาจในตอนปลายสมัยธนบุรีต่อต้นรัตนโกสินทร์

"เราสามารถเห็นถึงพัฒนาการทางปรัชญาและแนวทางประวัติศาสตร์แนวมนุษยนิยมของนิธิ ซึ่งพัฒนาขึ้นถึงขีดสุด(จำกัดช่วงเวลาตั้งแต่พ.ศ. 2520-2529) ความโดดเด่นของงานชิ้นนี้ไม่เพียงแต่ถูกจัดเป็นลำดับต้นๆ ในงานประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่นิธิสร้างขึ้น แต่ยังเป็นงานประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีที่โดดเด่นที่สุดในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ไทย....)

เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของงานเขียนอาจารย์นิธิ ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อสังคม เพื่อให้คนอ่านคิดต่อ เชื่อมโยง คิดวิเคราะห์กับปรากฎการณ์ในสังคมไทยมุมต่างๆ 

\'นิธิ เอียวศรีวงศ์\' ในมุมหนังสือและความลุ่มลึก : มรดกทางความคิดที่มีคุณค่า

ผลงานหนังสือที่โดดเด่น 

  • การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ (2523)
  • ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2523)
  • วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525)
  • หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ส021) / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ (2525)
  • ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ (2527)
  • ศรีรามเทพนคร : รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น / อาคม พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2527)
  • การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (2529)
  • สุนทรภู่ดูโลกและสังคม / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสมบัติ จันทรวงศ์ (2529)
  • เกียวโต ใต้ชะเงื้อมดอยสุเทพ (2532)
  • ท่องเที่ยวบุญบั้งไฟในอีสาน : บุญบั้งไฟต้องรับใช้ชาวยโสธรไม่ใช่ชาวยโสธรรับใช้บุญบั้งไฟ (2536)
  • ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 (2536)
  • สภาพเศรษฐกิจสังคมไทยยุคใหม่ : จริยธรรมในการศึกษาสำหรับอนาคต (2536)
  • สองหน้าสังคมไทย : บทวิพากษ์โครงสร้างอารยธรรมไทย (2539)
  • การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2543) ฯลฯ

บทความแง่มุมต่างๆ

  • กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (2538)
  • โขน, คาราบาว, น้ำเน่า และหนังไทย : ว่าด้วยเพลง ภาษาและนานามหรสพ (2538)
  • ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก (2538)
  • ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และฯลฯ : ว่าด้วยประเพณี ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ (2538)
  • ยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ (2541)
  • วัฒนธรรมความจน (2541)
  • เก็บที่โล่งแก่รากหญ้า : คัดสรรข้อเขียน 1 ทศวรรษว่าด้วยทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และอื่นๆ (2543)
  • คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ : รวมบทความนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543)
  • ก่อนยุคพระศรีอาริย์ ว่าด้วย ศาสนา ความเชื่อ และศีลธรรม (2545)
  • ว่าด้วย “เพศ” ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์ (2545)
  • (ต่าง) คิดในคอก (ตน) ว่าด้วยวัฒนธรรมและวิธีคิด (2546)
  • ไฮเทคาถาปาฏิหาริย์ ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย (2546)
  • รากหญ้าสร้างบ้าน ชนชั้นกลางสร้างเมือง (2552) ฯลฯ

ผลงานหนังสือแปล

  • ประวัติศาสตร์เยอรมัน (2511) / ฮูแบร์ตุส เลอเวนสไตน์ เขียน; นิธิ เอียวศรีวงศ์, แปล