‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ หอภาพยนตร์ ประกาศขึ้นทะเบียน 'มรดกภาพยนตร์ของชาติ' ครั้งที่ 13 ประจำปี 2566 จำนวน 10 เรื่อง ที่มีมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

วันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ตรงกับวันที่ 4 ตุลาคม เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นประธานในพิธีประกาศขึ้นทะเบียน มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2566 

โดยมี ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมงาน ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ศาลายา นครปฐม

ภาพยนตร์ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็น มรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2566 มีความครอบคลุมหลากหลายมิติ ทางสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

แสดงให้เห็นถึงรากฐานวัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหวอันแข็งแรงของผู้สร้างไทย

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

พิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์คุณค่า ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรม และศิลปะ จำนวน 10 เรื่อง ดังนี้

1. ปักธงไชย (2500)

2. Thailand (2501)

3. กตัญญูปกาสิต (2501)

4. โกนจุก (2510)

5. วันมหาวิปโยค (2516)

6. เทวดาเดินดิน (2519)

7. สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528]

8. เพลงสุดท้าย (2528)

9. 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544)

10. หัวใจทรนง The Adventure of Iron Pussy (2546)

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

รายละเอียดของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง

  • ปักธงไชย (2500)

สร้างโดยบริษัท ละโว้ภาพยนตร์ ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ เป็นผลงานเก่าแก่ เล่าถึงสงครามปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ 5

ด้วยภาษาภาพยนตร์ที่มีการลำดับภาพที่ไม่ยืดยาด มีจังหวะรวดเร็ว ปลุกเร้าความคิด ความรู้สึกรักชาติ การเสียสละเพื่อชาติ นำเสนอได้อย่างน่าตื่นตา ทั้งการออกแบบงานสร้าง เครื่องแต่งกาย ฉากและสถานที่ต่าง ๆ

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • กตัญญูปกาสิต (2501)

หนังร่วมทุนไทยฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จ ด้วยความสามารถของยอดฝีมือแห่งวงการหนังไทยยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทั้ง ครูเนรมิต ผู้กำกับ ส. อาสนจินดา ผู้เขียนบท และนักแสดงชั้นครู

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • Thailand (2501)

ภาพยนตร์สารคดี เรื่องแรก ๆ ที่รัฐบาลไทยจัดทำเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ผู้ชมในโลกตะวันตก

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • โกนจุก (2510)

ภาพยนตร์สารคดี พิธีกรรม โกนจุก ในวิถีชีวิตสังคมไทยในอดีต ละเอียดครบถ้วนตามประเพณีคติพราหมณ์และพุทธ

สร้างโดย ส่วนสารนิเทศ สำนักการประชาสัมพันธ์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นตอนหนึ่งในภาพยนตร์สารคดีชุด แผ่นดินของเรา เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • วันมหาวิปโยค (2516)

บันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลาที่ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ นักข่าวภาพยนตร์อิสระได้ถ่ายไว้ เก็บรายละเอียดอิริยาบถของกลุ่มผู้ชุมนุม เริ่มจากสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ เคลื่อนขบวนสู่ถนนราชดำเนินไปถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า (2528)

โดย ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สัมภาษณ์อดีตนักศึกษานักเคลื่อนไหวที่ออกจากป่า หลังไปเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เช่น จิระนันท์ พิตรปรีชา, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, จรัล ดิษฐาอภิชัย, เหวง โตจิราการ, เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, วงคาราวาน ตั้งใจตัดต่อเป็นสารคดี แต่ไม่เสร็จสิ้น เหลือไว้เป็นฟุตเทจ 11 ชั่วโมง

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง

Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544)

ภาพยนตร์เล่าเรื่อง (feature film) ชีวประวัติ (biopic) เสกสรรค์ ประเสริฐกุล บุคคลสำคัญทางการเมืองไทย หลังเหตุการณ์ตุลาคมปี 2516 อดีตผู้นำนักศึกษา หนีเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แล้วพบว่าสังคมในป่าก็ไม่ต่างกับการเมืองระดับชาติ จึงออกจากป่า กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เขียนบทโดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • เทวดาเดินดิน (2519)

โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นหนังที่จับภาพวัยรุ่นไทยได้อย่างเข้มข้น สะท้อนสังคม แอ็คชั่น ผจญภัย ไปพร้อมกัน เล่าเรื่องของวัยรุ่น 3 คน พี่-ตำรวจเก่า น้อง-เด็กสาวเกเร ต้อย-จิ๊กโก๋กะเทย ขายเฮโรอีน ทั้งสามรวมตัวกัน จี้ ปล้น ในฉากใหญ่หลายฉาก ได้ สร้างมาตรฐานงานสร้างให้หนังไทย 35 มม. เช่น ฉากบนหลังคารถไฟ, ฉากไล่ล่ากลางกรุงเทพฯ และฉากจบที่บีบหัวใจคนดู

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • เพลงสุดท้าย (2528)

โดย พิศาล อัครเศรณี หมุดหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในภาพยนตร์ไทย ที่ส่งอิทธิพลต่อเนื่องอย่างกว้างขวางยาวนานจนมาถึงปัจจุบัน

เรื่องราวของ สมหญิง ดาวราย ดาวเด่นทิฟฟานี่โชว์ ที่ผิดหวังในความรัก ชายคนรักไปพบรักกับสาวอื่น สมหญิงขึ้นโชว์ร้องเพลง 'เพลงสุดท้าย' แล้วลั่นไกจบชีวิตลงกลางเวที

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

  • หัวใจทรนง The Adventure of Iron Pussy (2546)

โดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และ ไมเคิล เชาวนาศัย เรื่องราวของสายลับข้ามเพศ ไออ้อน พุซซี่ กับภารกิจตามสืบมิสเตอร์เฮนรี่ คู่หมั้นของ มาดามปอมปาดอย จึงปลอมตัวเป็นสาวใช้ 

มีภาษาภาพ การตัดต่อ การแสดง เทคนิคพากย์เสียงแบบโบราณ เป็นหนังล้อเลียน spoof หนัง camp หนัง post-modern แสดงให้เห็นถึงมิติทางภาพยนตร์ที่หลากหลาย ให้คนดูได้คิดระหว่างหัวเราะไปกับเรื่อง

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

การประกาศรายชื่อภาพยนตร์ขึ้นทะเบียน มรดกภาพยนตร์ของชาติ เป็นกิจกรรมที่ หอภาพยนตร์ ได้จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2554

เมื่อรวมกับ 10 เรื่องที่ประกาศในปีนี้ ก็จะมีภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนฯ ทั้งหมด 243 เรื่อง

‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ’ ปี 66 ประกาศแล้ว 10 เรื่อง Cr. หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

หอภาพยนตร์ จะนำภาพยนตร์เหล่านี้ออกฉายตามช่องทางต่างๆ เช่น โรงภาพยนตร์ Facebook YouTube Tiktok ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ www.fapot.or.th หรือเฟซบุ๊ค หอภาพยนตร์

.........................

อ้างอิง : หอภาพยนตร์