“ไวน์ออร์แกนิค” กำลังดัง มีข้อกำหนดอะไรบ้าง
ปัจจุบัน “ไวน์ออร์แกนิค” ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกปี และเริ่มเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทยมากขึ้น แต่กว่าจะผลิตได้นั้นมีกระบวนการมากมาย เริ่มตั้งแต่ปลูกองุ่น การดูแลดิน น้ำ จนถึงขั้นตอนการปรุงไวน์
ไวน์ออร์แกนิค (Organic Wine) กำลังมาแรง คนทั่วโลกพูดถึงและมีความต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ
แต่กว่าจะทำไวน์ออร์แกนิคได้นั้น มีกระบวนการหลายขั้นตอน และข้อกำหนดอีกหลายอย่าง จากแนวคิดของออร์แกนิคไวน์คือ ทำไวน์จากองุ่นที่ปราศจากสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ไม่ใช้สารกำจัดเชื้อรา ซึ่งสารเคมีเหล่านี้นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ดื่มด้วย
ไวน์ออร์แกนิค เริ่มจากองุ่นออร์แกนิค (Cr.naturavini.com)
ไวน์ออร์แกนิค ปรากฏสู่ตลาดครั้งแรกประมาณปี ค.ศ.1980 โดยผู้ผลิตในสวิตเซอร์แลนด์ภายใต้ชื่อ “Delica-Natura” หลังจากนั้นความต้องการก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ประมาณกลางทศวรรษ 1980 จึงเริ่มกำหนดกฎเกณฑ์แห่งชาติขึ้น
ตั้งแต่ปี 1991 ประชาคมร่วมยุโรปหรือ EU ได้ออกบทบัญญัติสำหรับไวน์ออร์แกนิคขึ้นมา มีผลบังคับใช้อย่างทั่วถึงกันในกลุ่มประเทศสมาชิก ผู้ผลิตไวน์ออร์แกนิคที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่แล้ว จะได้รับหมายเลขทะเบียนตรวจสอบ สามารถนำไปพิมพ์ในฉลากข้างขวดได้
เครื่องหมายรับรอง "ออร์แกนิค" ของประเทศต่าง ๆ
ในงาน Vinexpo 2017 ที่เมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส งานแสดงไวน์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เป็นครั้งแรกที่มีการเปิดพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบให้กับไวน์ออร์แกนิค (Organic Wine) และไบโอไดนามิก (Biodynamic) ภายใต้ชื่อ WOW ซึ่งย่อมาจาก World of Organic Wines
ไวน์ทำจากองุ่นออร์แกนิคระบุไว้ที่ฉลาก
คอนเซปต์หรือแนวคิดของออร์แกนิคไวน์คือ การทำไวน์จากองุ่นที่ปราศจากสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ดื่มด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดในการทำสวนองุ่นปลอดสารพิษคือ เกษตรกรจะไม่ใช้สารเคมี สารสังเคราะห์ใด ๆ แต่มักจะปลูกพืชอื่นแทรกไว้ในพื้นที่ทำการเพาะปลูกด้วย พืชเหล่านั้นจะช่วยในการควบคุมดิน และช่วยล่อแมลงต่าง ๆ อันเป็นการทดแทนการใช้สารเคมีต่าง ๆ
ไวน์ที่ไม่ใช้ซัลเฟอร์
นอกจากนี้ นักดื่มสายธรรมชาติระบุว่า ไวน์ออร์แกนิคมีรสชาติอร่อยเพราะไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมาก ปราศจากสารเคมี จึงทำให้ได้รสชาติและกลิ่นแท้ ๆ ขององุ่น และสภาพดินฟ้าอากาศของแหล่งที่ปลูกองุ่นด้วย ที่สำคัญคือดื่มแล้วรู้สึกสุขภาพดี และคนที่แพ้ซัลเฟอร์ดื่มได้
เครื่องหมายรับรองออร์แกนิค
ผู้ผลิตออร์แกนิคไวน์ จะให้ความสำคัญกับปัจจัย 3 ประการคือ การใช้ยีสต์ การกรอง และการใช้กรดกำมะถัน (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์) โดยการลดปริมาณการใช้กรดกำมะถัน ซึ่งเป็นสารที่ยับยั้งการรวมตัวของออกซิเจน อันจะส่งผลให้ไวน์เน่าเสียเร็วขึ้น
ไวน์ออร์แกนิคของอเมริกาเทียบกับไวน์ออร์แกนิคของยุโรป
ในยุโรปตามข้อกำหนดของ EU ไวน์ที่จะโปรโมทว่าเป็นออร์แกนิค จะต้องระบุในฉลากข้างขวดว่า “made from organically grown grapes” ไม่ใช่ “organic wine” แต่ก็ขึ้นอยู่กับบางประเทศ เช่น อิตาลี ใส่ซัลเฟอร์ฯ ก็สามารถเป็นออร์แกนิคได้
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอย่างนี้มีข้อแตกต่างกันบ้างคือ Organic Wine จะรวมไปถึงขั้นตอนหมักบ่มไวน์ด้วย ว่าต้องไม่มีพวกสารสังเคราะห์หรือเทคนิคสังเคราะห์ต่าง ๆ (เช่น oak chip, reverse osmosis, etc.)
ไร่องุ่นออร์แกนิคที่ปลูกต้นมัสตาร์ดอยู่ด้วย (Cr.winemag.com)
ส่วน wine made from organic grape จะเกี่ยวกับการปลูกองุ่นด้วย เช่น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของแต่ละประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จะได้ชื่อว่าเป็นออร์แกนิคไวน์ก็ต่อเมื่อไม่ใช้ซัลเฟอร์
ในสหรัฐอเมริกามีการปลูกองุ่นผลิตออร์แกนิคไวน์มากขึ้น และผู้ผลิตไวน์หลายรายกำลังมีการกำจัด “ซัลเฟอร์” ออกไปจากกระบวนการผลิตไวน์
บางพื้นที่เลี้ยงสัตว์รวมด้วย (Cr.winemag.com)
ตามข้อกำหนดของ USDA ซึ่งเป็นโครงการของ National Organic Program กำหนดว่า “ออร์แกนิคไวน์ หมายถึงไวน์ที่ผลิตจากองุ่นที่ปลูกโดยปราศจากสารเคมีใด ๆ และไม่มีการใส่สารซัลเฟอร์” (A wine made from organically grown grapes and without any added sulfites)
ในสหรัฐอเมริกา แบ่งออร์แกนิคไวน์ เป็น 3 ประเภทคือ
1 ไวน์ออร์แกนิค 100 % (100 % Organic) หมายถึงไวน์ที่ผลิตจากองุ่นที่ปลูกแบบออร์แกนนิค 100 % และไม่เติมซัลเฟอร์ฯ
2 ไวน์ออร์แกนิค หมายถึงไวน์ที่ผลิตจากองุ่นที่ระบุแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองว่าเป็นออร์แกนิคอย่างน้อย 95% อาจจะเติมซัลเฟอร์ฯ ได้ในปริมาณที่กำหนด (100 ppm.)
ไร่องุ่นออร์แกนิคในออสเตรเลีย (Cr.singlevineyards.com)
3 ไวน์ที่ผลิตจากองุ่นออร์แกนิค (Made with Organic Grapes) หมายถึงไวน์ที่ผลิตจากองุ่นจากแหล่งที่ปลูกแบบออร์แกนิค อย่างน้อย 70% และสามารถเติมซัลเฟอร์ฯ ได้
ที่สำคัญต้องมีเครื่องหมายรับรอง ไม่ใช่พูดกันลอย ๆ...