'Bangkok Chef Charity' รวม 32 เชฟ กับเมนู 10 คอร์ส เพื่อการกุศล
งานใหญ่เพื่อการกุศลที่รวมเชฟชั้นนำและเชฟมิชลินไว้มากที่สุด 'Bangkok Chef Charity' 2024 ครั้งที่ 11 กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ รวม 32 เชฟ 10 คอร์ส
มื้อพิเศษเพื่อการกุศล Bangkok Chef Charity 2024 (เชฟแชริตี้) ปีนี้พิเศษด้วยเป็นเป็นงานรวมเชฟมากถึง 32 คน จากโรงแรมชั้นนำและเชฟระดับดาวมิชลิน รังสรรค์เมนู 10 คอร์ส สำหรับผู้เข้าร่วมงาน 360 ท่าน
โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จเป็นองค์ประธานการจัดงาน Bangkok Chef Charity 2024 ณ ห้องรอยัล บอลรูม โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ
ในวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น.
คานาเป้ก่อนเข้างาน 16 อย่าง
รายได้จากการจัดงานทั้งหมดสมทบทุนเข้า มูลนิธิเทพรัตนเวชชานุกูล ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เชฟแชริตี้ กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่
คุณนันทิยา อินทรลิบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวานันท์ จำกัด ในฐานะแม่งาน บอกว่า
“งานเชฟแชริตี้ หยุดไป 4 ปี จากสถานการณ์โควิด ปีนี้จึงจัดอย่างยิ่งใหญ่ รวมเชฟไว้มากที่สุด มีไฮไลท์หลายอย่าง เช่น ภายในงานจะมีการประมูลเชฟไปปรุงอาหารให้ที่บ้าน และปีนี้นำเมล็ดพันธุ์หอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับพระราชทานให้กับเกษตรกร ผลิตภายใต้ชื่อ ข้าวหอมมะลิจันกะผัก ผลิตในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ปลูกในระบบอินทรีย์ นำมาปรุงและเสิร์ฟเป็น 1 ใน 16 คานาเป้ และเมนูจานหลัก”
คุณนันทิยา อินทรลิบ
เชฟแชริตี้ เมื่อปี พ.ศ.2562 สามารถระดมทุนได้ 44 ล้านบาท เป็นรายได้จากการจำหน่ายบัตร การประมูล และยอดบริจาค โดยนำรายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อการกุศลในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริจาคให้กับผู้ด้อยโอกาส โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของไทย
จุดกำเนิดเชฟแชริตี้
คุณนันทิยา เล่าถึงที่มาของโครงการเชฟแชริตี่้ เพื่อการกุศล เมื่อ 11 ปีก่อนว่า
“เริ่มมาจากความคิดว่าอยากนำอุปกรณ์การเรียนไปช่วยเหลือโรงเรียนตามตะเข็บชายแดนทางภาคเหนือ แต่พอสอบถามไปเขาบอกว่าเขาอยากได้ “กำแพง” คือเขามีพื้นดิน มีหลังคาแล้ว แต่สิ่งที่อยากได้ไม่ใช่อุปกรณ์ เขาขอแค่กำแพง เพราะฝนตกแล้วไม่สาด ขอแค่นี้เอง... ไก่ม้วน (เชฟโดมินิค บูเนียวด์+เชฟฟิลลิป ฮิกแมน)
เมื่อ 11 ปีก่อน เราก็เลยนำเงินที่ได้จากโครงการเชฟแชริตี้ ไปสร้างทั้งโรงเรียน+กำแพงด้วย จำได้ว่าแห่งละ 240,000 บาท จากนั้นก็ระดมทุนเรื่อยมา”
กุ้งแดง (เชฟอาโน ดูนัง+เชฟฟิลลิป เทย์เลอร์)
เป็นความทรงจำที่ทำให้ผู้บริหารชีวานันท์ มุ่งมั่นที่จะทำเชฟแชริตี้ทุกปี เพื่อระดมทุนไปมอบให้กับผู้ด้อยโอกาส แต่ละปีมีเชฟตอบรับเข้าร่วมงานมากขึ้น
32 เชฟ และเทคนิคจับคู่เชฟ
เชฟแชริตี้ 10 คอร์ส แต่มีเชฟมากถึง 32 คน ทำงานกันอย่างไร แม่งานใหญ่บอกว่า
“ปีนี้พิเศษคือ เชฟไม่รู้จักกันเลย หลังจากห่างหายไป 4 ปี ตอนนี้ห้องอาหารต่างก็มีเชฟใหม่มา มีเชฟเก่าที่เคยร่วมงาน 2 คนคือ เชฟอาร์โน (Arnaud Dunand ก่อนหน้านี้อยู่ห้องอาหาร “เลอ นอร์มังดี”) และเชฟเกตาโน (Gaetano Palumbo จากโรงแรมอินเตอร์คอนฯ) นอกนั้นไม่รู้จักกันเลย ถือว่าเป็นความท้าทายมาก ทุกคนใหม่หมด จึงเป็นความร่วมมือร่วมใจกันจริง ๆ
เนื้อแกะ (เชฟวิลฟริด อ็อกเก / บลู บาย อลัง ดูคาส + เชฟอัลบิน โกบิล กัดดี'ส / เพนนินซูลา ฮ่องกง)
เชฟบางคนต้องการใช้วัตถุดิบของไทย เช่น เชฟแอนเดรีย (เซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์) เชฟอเมริโก้ (แฌมฯ โรงแรมยู สาทร) ใช้ปลาหมึกไทย เขาทำงานร่วมกันจนถึง 3-4 ทุ่ม เพื่อส่งเมนูให้เราในวันรุ่งขึ้น
ปีนี้ เชฟมิชลินจากเพนนินซูล่า ฮ่องกง มา 2 คน คนหนึ่งจับคู่กับเชฟทอมมี่ (โฟร์ ซีซั่นส์ กรุงเทพ) อีกคนทำเมนคอร์สเมนูแกะ เมื่อได้คู่แล้วเชฟจะร่วมกันคิดเมนู ออกแบบร่วมกัน ทั้งวัตถุดิบหลักกับเครื่องเคียงในจาน”
เมนูปลา (เชฟทอมมี เฉิง โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพ + เชฟ Lam Yuk Ming เพนนินซูลา ฮ่องกง)
เมนู 10 คอร์ส คานาเป้ก่อนเข้างาน 16 อย่าง แล้วเริ่มด้วยจานเรียกน้ำย่อย 8 คอร์ส ต่อด้วยเมนคอร์ส (เนื้อ/ แกะ) ตามด้วยของหวาน และ Petits Fours 2 ชุด
อีกหนึ่งไฮไลท์ ส้มตำพระราชทาน
“เป็นครั้งแรกที่มี เชฟจูเนียร์ เด็ก 16 คน จากโรงเรียนอินเตอร์ทั่วกรุงเทพ มาเป็นผู้ช่วยเชฟ โดยเชฟจะคอยบอกคอยสอน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ
ของหวานซอร์เบท์ (เชฟอาเน่ รีน + เชฟเกตาโน พาลูมโบ)
และปีนี้โลโก้ออกแบบใหม่ โดยนักเรียนจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เป็นรูปหมวกเชฟบนดอกบัว ความหมายคือการเกิดใหม่
ไฮไลท์สำคัญอีกอย่างคือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จะทรงทำส้มตำเป็น ส้มตำพระราชทาน ในงานด้วย และพระองค์ท่านก็ได้ประทานคำแนะนำเมนูคานาเป้ว่าให้เป็นเครื่องว่างอย่างไทย”
เชฟผู้ใหญ่+เชฟจูเนียร์ ในงานเชฟแชริตี้ งานรวมเชฟครั้งใหญ่เพื่อการกุศล
มื้อพิเศษเชฟแชริตี้ Bangkok Chef Charity 2024 วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 น. ราคา 15,000.- บาท / ที่นั่ง ซื้อบัตรที่ คุณญาดาธิป สายแสงทอง (พาย) โทร.086 780 9301 อีเมล: [email protected], คุณอรรถยา ชาวพันธ์ (ต่าย) โทร.086 914 4155 อีเมล: [email protected]
คุณนันทิยา อินทรลิบ แห่ง "ชีวานันท์"
คานาเป้ของว่างอย่างไทย
เป็นปีแรกที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เข้าร่วมงาน เชฟแชริตี้ 2024 โดยส่ง เชฟพงศ์ภัค เชิงชาญกิจ ทำเมนูคานาเป้ของว่างอย่างไทย
รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากชีวานันท์ ผู้จัดงาน มีความร่วมมือกับสถาบันฯ เกี่ยวกับด้านอาหารมาเนิ่นนาน จึงเกิดแนวคิดว่าน่าจะมีเชฟจากสถาบันฯ ร่วมรังสรรค์เมนูด้วย
กระทงทองสไตล์วีแกน คานาเป้อย่างไทย
“พอชีวานันท์บอกมาเราก็คุยกับทีมงาน ให้ครูของเราออกไอเดีย ตอนแรกทำหลายอย่าง แล้วพบว่าเราค้นพบความสามารถพิเศษของครูของเรา หลังจากทดลองทำและชิมหลายเมนู สถาบันฯ ก็ขอรับพระราชทานพระราชดำริ จากองค์สมเด็จพระเทพฯ ด้วย พระองค์ท่านทรงประทานแนวคิดว่าน่าจะทำเป็นของว่างอย่างไทย จากตอนแรกเราทำหลายอย่าง เช่น คานาเป้แบบไทย แบบฝรั่ง แบบสเปนผสมไทยก็มี
ล่าเตียงคำจิ๋ว
ในที่สุดพระองค์ท่าน ทรงบอกว่า คานาเป้อย่างไทย เชฟของเราจึงรังสรรค์เป็น 2 เมนูคือ กระทงทอง กับ ล่าเตียง”
เชฟพงศ์ภัค ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
เชฟพงศ์ภัค เชิงชาญกิจ
“ล่าเตียง ประยุกต์เป็นคำเล็ก ๆ ทำจากกุ้งกับไก่ ห่อพันด้วยไข่ทำเป็นแห อีกเมนูคือ กระทงทอง เป็นคานาเป้สไตล์วีแกน ไม่มีเนื้อสัตว์เลย ตัวกระทงทำจากแป้งกรอบแทนใบชะพลู ส่วนผสมข้างในไม่มีเนื้อสัตว์ แต่มีรสชาติเหมือนกินเมี่ยงคำ คือน้ำยำทำเป็นครัมเบิ้ลแล้วฉีดออยล์จากใบชะพลู ด้านหน้าท็อปด้วยตะลิงปลิง กัดเข้าไปจะรู้สึกว่ามีครบรสเหมือนกินเมี่ยงคำแต่อยู่ในกระทงทองกรอบ”