“ดลชัย บุณยะรัตเวช” แบบฉบับ “นักสร้างแบรนด์” ที่มีความสุข

“ดลชัย บุณยะรัตเวช” ผู้คร่ำหวอดในวงการโฆษณากว่า 40 ปี “นักสร้างแบรนด์” ผู้ใช้ชีวิตทุกอย่างคุ้มค่า และมีความสุขกับชีวิต ได้ทำทุกอย่างตามความฝัน มีแง่คิดการดำเนินชีวิตโดยใช้ธรรมะเป็นพื้นฐานของจิตใจ
ดลชัย บุณยะรัตเวช เป็น นักสร้างแบรนด์ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการโฆษณามานานกว่า 40 ปี เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาค้นพบว่า
ควรใช้ชีวิตให้มีความสุขในแบบของเขา เพราะชีวิตที่ผ่านมาได้ทำทุกอย่างตามความฝัน ไม่ว่าการร้องเพลง งานศิลปะ การออกแบบลายผ้า
นักสร้างแบรนด์คนนี้หยิบจับอะไรก็ดูดีไปหมด
เขาเรียนจบจากสถาปัตย์ จุฬาฯ (เกียรตินิยม) ปริญญาโท ด้าน Advertising Design ,Visual and Performing Art
จาก Syracuse University , New York จากนั้นเป็นทั้งศิลปิน นักโฆษณา และนักบริหารจิตใจ
จุดประกาย มีโอกาสพูดคุยถึงแนวคิด เคล็ดลับความสำเร็จในแบบของเขา
ก่อนอื่นขออัพเดทว่าปัจจุบันคุณรับผิดชอบงานอะไรบ้างคะ
หน้าที่หลักก็คือเป็นที่ปรึกษา การวางกลยุทธ์แบรนด์ การสร้างแบรนด์ การออกแบบอัตลักษณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวกับแบรนด์
ส่วนตัวทำงานอยู่ในวงการโฆษณา 30-40 ปี ดังนั้นช่วง 20 ปีครึ่งหลังของชีวิต ก็ผันตัวเองจากครีเอทีฟ เป็นนักวางกลยุทธแบรนด์
การวางกลยุทธที่ชัดเจน เป็นเข็มทิศที่ทำต่อได้ในทุกองศา และหลายมิติ ซึ่งสำคัญกว่าแค่ทำโฆษณา
เพราะการโฆษณา เป็นการสื่อสารเพียงสื่อหนึ่งเท่านั้นเอง ถ้ารากฐานของแบรนด์แข็งแรง สามารถต่อยอดได้หลายทิศทางตั้งแต่
การจัดระเบียบสินค้าบริการ การสร้างวัฒนธรรม และพฤติกรรมภายในองค์กร การสร้างกลยุทธการสื่อสารในระดับองค์กรและในระดับสินค้า
และการวางระบบอัตลักษณ์ รวมทั้งสุนทรียภาพที่ส่งต่อ ผ่านงานดีไซน์ทุกชิ้นของแบรนด์
ดลชัย บุณยะรัตเวช เป็น นักสร้างแบรนด์ ยังคงพูดคุยกับ จุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจต่อไปอย่างอารมณ์ดี
ผลงานการสร้างกลยุทธ์แบรนด์ไหน ประทับใจที่สุด
ย้อนไปเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว เด็กรุ่นใหม่คงไม่รู้จักฟิล์มสีฟูจิ กับฟิล์มสีโกดัก ตอนนั้นทำงานที่ DYR ยุคแรกๆ เป็นครีเอฟไดเรคเตอร์
ฟูจิเรียกทางเราไปปรึกษาว่า จะวางกลยุทธยังไงให้เฉือนโกดักที่เป็นเจ้าตลาดในยุคนั้น ผมน่าจะเริ่มเป็นนักกลยุทธแบรนด์ตั้งแต่ตรงนั้น
ผมคิดว่าจะสร้างการรับรู้( perception) อย่างไร ให้ฟิล์มสีฟูจิ มีภาพลักษณ์ที่สดใส หนังโฆษณาเรื่องแรกเป็นพี่เบิร์ดกับจาไมก้า
ซึ่งพี่เบิร์ดเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับคนรุ่นใหม่ได้ดีมาก ด้วยแคมเปญที่ใช้พี่เบิร์ดเป็นแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ หลายซีรีส์
ตั้งแต่จาไมก้า ญี่ปุ่น และปราสาทพนมรุ้งของไทย ที่ตอกย้ำประเด็นของสีสันแห่งวันนี้ ความนิยมของฟิล์มสีฟูจิจากผู้บริโภค
จึงกระเถิบขึ้นมาใกล้กับเจ้าตลาด ได้อย่างใกล้เคียงในที่สุดครับ
ขอตัวอย่างอีกสักหนึ่งผลงานที่ภาคภูมิใจ
ก็คงเป็น “ธนชาต” ยุคแรกคือ การเป็นเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ดูเคร่งขรึม จับกลุ่มองค์กร และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เขาอยากจะเปิดเป็น
Universal Banking เป็นแบงค์ของคนรุ่นใหม่ ดูทันสมัย พูดจริงทำจริง นั่นก็คือกลยุทธ์ ผมช่วยแนะนำให้ใช้สีส้มเป็นตัวแทนความกล้า
อีกแห่งคือ “ไปรษณีย์ไทย” ถ้าสังเกตตอนนี้ไปรษณีย์กำลังเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ ในอดีตคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจไปรษณีย์ไทย
ก็เลยปรับภาพใหม่ เป็นเพื่อนแท้ร่วมทางคนไทยทุกคน ที่อยู่มาเกือบ 140 ปี เข้าใจทุกท้องถิ่น เข้าใจความซับซ้อนของการส่ง
เข้าใจผู้บริโภค พี่บุรุษไปรษณีย์ไทยรู้จักทุกซอกซอย แม้กระทั่งชื่อสุนัข ทำยังไงให้เราต่อยอดสิ่งเหล่านี้ให้ร่วมสมัย
และมีความหมายกับคนในวงกว้าง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น
“ดลชัย บุณยะรัตเวช” นักสร้างแบรนด์ ที่มีความสุข
เกี่ยวกับอาชีพ นักสร้างแบรนด์ คุณ ดลชัย บุณยะรัตเวช ได้ตอบคำถามไขข้อข้องใจของ จุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ อย่างอารมณ์ดี
อันดับแรก-อย่ามองมุมแคบ แค่ผลงานเป็นชิ้นๆ ต้องมองมุมกว้างว่าเราจะพาธุรกิจไปตรงไหน และการแข่งขันของเขาประกอบไปด้วย
บริบทอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ตลาด เทรนด์
อันดับที่สอง-ต้องมองมุมลึกให้เป็น ต้องเข้าจิตใจมนุษย์ อย่าแค่ความต้องการผิวๆ ของคน เช่น ผู้หญิงอยากหน้าสวย หน้าเด้ง ต้องมองลึกๆว่า
ภาพโดย: กอบภัค พรหมเลขา
เขาต้องการความสำเร็จในชีวิตด้วยหรือเปล่า หรือเขาต้องการเป็นที่ชื่นชม เราต้องเข้าใจ และจุดบอดเขาอยู่ตรงไหน
เราต้องทำหน้าที่นักสืบ อันแรกคือนั่งเฮลิคอปเตอร์ให้เป็น มองสูงเป็น อันที่สอง ดำดิ่งเป็น เป็นนักสืบ
อันที่สาม-ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ คิดนอกกรอบ อันที่สี่- ต้องคิดว่าได้รับอนุญาต ให้คิดในมุมที่ไม่มีใครเคยคิด
กล้าเสนอสิ่งใหม่ให้กับลูกค้า ก้าวสู่มิติใหม่มากขึ้น
อันที่หก- นักกลยุทธที่ดีต้องเข้าใจโจทย์ รู้ว่าโจทย์ที่เขามีปัญหาคืออะไร เราจะต้องย้อนกลับไปที่โจทย์เสมอว่าสิ่งที่เราคิดมานั้น ตอบโจทย์พอไหม
ข้อสุดท้าย ก็คือ ต้องมีทางเลือกเยอะๆ อย่าอีโก้มากนัก เพราะไอเดียแรกของเรา อาจจะไม่ใช่ไอเดียที่ดีที่สุด ทำไปทำมาแล้ว
ปรับปรุงเป็นไอเดียที่ 2 ไอเดียที่ 2.1 หรือ 2.3 โดยที่ทีมงานผู้ขับเคลื่อนแบรนด์แต่ละองค์กรจะต้องเห็นด้วย และซื้อในไอเดีย
เพื่อนำไปต่อยอดงานและนำไปปฏิบัติได้จริง
คือนิสัยส่วนตัว ชอบสร้างสรรค์ ชอบออกแบบ มีความซนตลอดเวลา ตั้งแต่ทำ ณดล สตรีมไซด์ ไทย วิลล่า ที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
เอามรดกบ้านไทยมาทำให้เข้ากับไลฟสไตล์คนยุคปัจจุบันที่ต้องการความรื่นรมย์ ทำรีสอร์ท 33 ห้องติดน้ำตก ทำบ้านไทยให้เซ็กซี่
ไม่เคยบริหารโรงแรมมาก่อน ก็ท้าทายดี ได้รางวัลไทยแลนด์บูทีค อวอร์ด ปี 2011 รางวัลสิ่งแวดล้อมดีเด่น
ในด้านการออกแบบที่สอดคล้องกันระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติ
สดใสแบบสากล 2 แบรนด์ ก็คือ “Zantiis” แบรนด์ทันสมัยหน่อย เป็นเครื่องหอมสดชื่น ปราศจากเคมี กับแบรนด์ “Sukonta”
ขายที่ไอคอนสยาม สยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ เซ็นทรัลเวิลด์ และเดอะมอลล์
มีดีไซน์ ช้าง ต้นไม้ไทย เป็นลายผ้าสีสันสดใส ออกแบบเอง ล่าสุดมีกระเป๋า iPad รุ่นใหม่ ที่ยังใช้ลูกเล่นดีไซน์แบบเอเชีย
เป็นอีกงานโดยเอาเรือนหอของคุณปู่คุณย่า และคุณพ่อ ก็เกิดที่บ้านนี้ เป็นโรงงานยาหอมสุคนธโอสถ (ตราม้า) มา 5 แผ่นดิน
พอโรงงานยาหอมของคุณปู่ปิด ก็เลยปิดบ้านนี้ร้างมา 20 ปี ตอนหลังคุณพ่อก็ยกให้ผม ก็คิดว่าจะเอามาทำเป็นบ้านรื่นรมย์
เพื่อคนรักสุขภาพ มีทุกอย่างที่เป็นความสุข และความหอม
ที่มีซิกเนเจอร์ผสมความหอมของเครื่องเทศเพื่อรสสัมผัสใหม่ๆ และชายาหอม มีให้เลือกหลากหลายรส ทั้งตะไคร้ ใบเตย กระเจี๊ยบ มะตูมที่หาดื่มได้ที่นี่ที่เดียว
อันดับสุดท้ายมีห้องประชุมสัมมนาด้วย อันนี้ก็เป็นความซนหนึ่งของเรา เป็นคนคิดเร็วทำเร็ว บ้านยาหอม คิดแล้วทำเลย ใช้เวลาปรับปรุง 6 เดือน เปิดมาได้ 3 ปีแล้ว
แล้วหันมาสนใจธรรมะตอนไหนคะ
ตอนเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้อยู่กับคุณทวดกับคุณย่า คุณพ่อ(นายเชิต บุณยะรัตเวช)เป็นผู้ว่าการรถไฟ คุณแม่ (คุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช)
เป็นครูสอนโรงเรียนนานาชาติ ตอนเด็กๆ สองท่านไม่อยู่บ้าน ให้เราอยู่กับคุณทวดและคุณย่า คุณทวดเทศ ที่มาจากคลองบางหลวง ต้นตำรับบ้านยาหอมนี่แหละ
ท่านเป็นคนธรรมะธัมโมสอนให้สวดมนต์ตั้งแต่เด็กๆ ท่านเป็นนักกวีด้วย เข้าใจธรรมะ ท่านสอนธรรมะให้เราตั้งแต่เด็ก
ซึ่งเมื่อก่อนนี้ก็ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง แต่เมื่อโตขึ้น ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น ซึ่งท่านเป็นนักกวีที่แต่งกลอนเกี่ยวกับธรรมะด้วยภาษาง่ายๆ เราซึมซับมาตั้งแต่เด็ก
เมื่อก่อนทำงานวงการโฆษณา หลากหลายมนุษย์ อีโก้สูง ศักดิ์ศรีสูง เราเจอสิ่งเหล่านี้มา ก็มานั่งวิเคราะห์ว่าทำไมคนนี้เป็นแบบนี้
ลูกน้องร้องไห้ในที่ประชุมกดดันว่า ทำไมลูกค้าพูดกับผมแบบนี้ เขารับมือไม่ได้ เราก็มาคิดว่า ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดทุกข์
รอดบ้าง ไม่รอดบ้าง แต่โชคดีสติมาทัน โมหะ ความหลงฟุ้งได้ สติไวกว่าเดิม เหมือนเป็นผู้ดูไม่ใช่ผู้เล่น ดูว่าตอนนี้เรากำลังมีใจที่เป็นกิเลส
เพราะถูกโทสะ หรือความไม่พอใจหรือกำลังโลภะ ความอยากมี อยากได้ครอบงำ ผมว่าต้นเหตุความทุกข์ มันอยู่ตรงนี้ครับ
จริงจังเรื่องธรรมะตอนไหน
จริงจังมาตั้งนานแล้ว ผมสนใจเรื่องกระบวนการของจิต จากรูปธรรมกลายเป็นนามธรรม กลายเป็นยึดว่าคือตัวฉันของฉันโดยไม่จำเป็น
ผมเขียนพ็อกเก็ตบุ๊ครวมทั้งหมด 10 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่จะถ่ายทอดมุมมองที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ และความคิดสร้างสรรค์
แต่มีเล่มหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องความเข้าใจธรรมะ ผมพยายามใช้ภาษาอังกฤษผสมเข้าไป เพื่อจะได้เข้าใจใน Concept มากขึ้น
และมีรูปการ์ตูนมาประกอบเพื่อให้คนยุคใหม่เข้าใจในแบบหลวงพ่อปราโมทย์ท่านสอน ในแบบที่เข้าใจง่ายและขี้เล่นมากขึ้นครับ
ที่ผ่านมาได้ทำงานที่รักมีความสุขกับชีวิตนักแสดง นักร้อง คิดว่าใช้ชีวิตคุ้มหรือยัง
ใช่ นักแสดง นักร้อง ก็ทำมาแล้ว เพราะคุณแม่เป็นนักเปียโน เป็นผู้ควบคุมวงประสานเสียงของไทย เด็กๆ เราก็ซึมซับมาไม่รู้ตัว
ชอบเล่นดนตรี แต่งเพลง ชอบร้องเพลง มีเพลงใหม่ๆ ยากๆ เราก็จะร้องได้
สมัยก่อนได้แสดงต่อหน้าพระที่นั่งหลายครั้ง ถือว่าเป็นบุญของชีวิตมาก คิดว่าเราทำได้ดีเช่น เพลงมิวสิคัล เพลงพระราชนิพนธ์
เพลงแจ๊ส ร้องกับคุณกมลา สุโกศล ถือว่าโชคดีมากๆ บางคนมีของ แต่ไม่รู้จะไปปล่อยที่ไหน
เรามีโอกาสไปร้อเพลงในงานใหญ่ๆ เคยไปร้องที่ญี่ปุ่นให้กับจักรพรรดิฟัง สมัยก่อนกว่า 100 งานแล้ว แต่ด้วยวัยและหน้าที่การงาน
ก็ลดลงไปตามสถานการณ์ครับ แต่งเพลงให้โรงเรียนจิตรลดา แต่งเพลงเทิดพระเกียรติ ฯลฯ ตอนทำก็ไม่หวังอะไรเลย
แค่ดีใจที่ได้ทำ ไม่เคยปิดกั้นโอกาสตัวเอง ไม่เรื่องมาก ก็พอแล้วสำหรับชีวิตนี้
วางแผนเกษียณไหมคะ
อยากเกษียณตั้งนานแล้ว วัยเราเลข 6 ควรจะเกษียณแล้ว แต่โอกาสการทำงานเข้ามาไม่ให้เราเกษียณ มีคนยังเห็นคุณค่าของเรา
ในเมื่อเรายังมีประโยชน์ คิดว่าชีวิตจะต้องสงบ เย็น และเป็นประโยชน์ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุสอนไว้ ตราบใดที่ร่างกายยังไหว
ก็ทำต่อไป จนกว่าไม่ไหว แล้วร่างกายเราจะบอกเอง
เพราะเราไฮเปอร์ ถ้าอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ทำอะไรก็คงเฉา คนอื่นเขาคงไม่เป็น เห็นบางคนมีความสุขอยู่บ้านเลี้ยงปลา ปลูกต้นไม้
เราก็ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องเป็นแบบนี้เหมือนกันนะ เพื่อนเราหลายคนก็เกษียณอยู่บ้านเฉยๆ และไปท่องเที่ยวในที่ที่ไม่เคยไป
เค้าก็มีความสุขดีในแบบของเขาครับ
เปิด บ้านยาหอม อีกสาขาในโลเคชั่นที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงง่ายกว่าราชดำเนิน โมเดลนี้นิ่งแล้ว ทำแฟรนไชส์บ้านยาหอมโมเดล
ให้เปรี้ยวและโมเดิร์นกว่าเดิม ขอตกผลึกอีกปีก็แล้วกัน