'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ 'แนน วีรดา' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ 'แนน วีรดา' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 จากเศษไม้กระสอบละ 5 บาท สร้างเป็นแบรนด์'carpenter ไปไกลถึงมิลาน ฝรั่งเศส 'แนน วีรดา' คนต้นคิดที่เริ่มจากงานไม้เล็กๆ เมื่อสิบปีที่แล้ว เดินบนเส้นทางนี้อย่างไร

“หากลงมือทำแล้วไม่สำเร็จ อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้ 1 วิธีล้มเหลว ที่เราจะไม่ทำแบบเดิมซ้ำ” แนน วีรดา ศิริพงษ์ สถาปนิก ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ บริษัท คาร์เพนเทอร์ สตูดิโอ จำกัด ผู้สร้างแบรนด์ 'carpenter จากเศษไม้กระสอบละ 5 บาท แชร์ประสบการณ์ เนื่องในวันสตรีสากล ที่ผ่านมา งาน‘SHE-POSSIBLE ให้ทุกบทบาทของผู้หญิงเป็นไปได้’ กิจกรรมของเครือเซ็นทรัล  

เรื่องราวของเธอมีอีกหลายมุมที่เราได้พูดคุย และทุกครั้งที่พูดถึงเศษไม้ แนน ต้องพูดถึงโรงงานไม้ที่ทำวงกบประตู หน้าต่างของครอบครัว ที่เชียงใหม่ 

 

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

  • แรงบันดาลใจจากเศษไม้

หาก 10 ปีที่แล้ว เศษไม้เหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า ก็คงขายเป็นฟืนกระสอบละไม่กี่บาท  ทั้งๆ ที่เศษไม้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านี้มาจากต้นไม้ใหญ่ บางชิ้นมีลายไม้ที่งดงาม

 “ตอนไปช่วยคุณพ่อในโรงงาน เจอเศษไม้ที่เหลือจากกระบวนการทำไม้กองรวมกับขี้เลื่อย เราก็เรียนด้านการออกแบบมา น่าจะสร้างมูลค่ามากกว่าเป็นฟืน เศษไม้ชิ้นเล็กๆ มีอายุหลายสิบปี ดูจากวงปีของต้นไม้ กว่าจะโตขนาดนี้ก็สิบๆ ปี ควรจะใช้ทุกอณูให้คุ้มค่า

พ่อเคยบอกว่า ไม่มีมรดกให้ นอกจากการศึกษาและเศษไม้ในโรงงาน จะเอาไปทำอะไรยกให้ทั้งกอง เราก็มองต้นทุนที่มี ต้นทุนที่สำคัญกว่าเงิน น่าจะเป็นไอเดียสร้างสรรค์ในการต่อยอด”

 

 

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้ แนน วีรดา ศิริพงษ์ สถาปนิก ผู้ก่อตั้งบริษัท คาร์เพนเทอร์ สตูดิโอ จำกัด ผู้สร้างแบรนด์ 'carpenter 

แม้แนนจะไม่ได้จบด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่สถาปนิกที่รู้ทุกองค์ประกอบและชอบงาน D.I.Y (Do it yourself) เป็นทุนเดิม ประกอบกับโอกาสที่ได้รับความไว้วางใจ จึงมีวันนี้ของแบรนด์ 'carpenter ซึ่งไปไกลกว่าที่คิด เคยไปแสดงในงาน MILAN DESIGN WEEK อิตาลี และฝรั่งเศส รวมถึงจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า

    "ตอนนั้นทางสมาคมสถาปนิกสยาม เห็นสิ่งที่เราทำจากงานไม้ ก็อยากนำมาเป็นของที่ระลึกให้วิทยากรและสลักชื่อไว้ด้วย แนนเห็นงานไม้มาตั้งแต่เด็ก ชอบทั้งงานสี งานขัดไม้ เราก็เรียนรู้จากช่าง แล้วพัฒนาไอเดียร่วมกัน 

เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวพัฒนาไม้ชิ้นเล็กๆ เป็นอุปกรณ์เครื่องเขียน ของใช้ในการทำงาน เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านไม่จำกัดรูปแบบ รวมๆ เรียก ไลฟ์สไตล์โปรดักต์"

  •  สลักชื่อบนไม้ในแบบชอบ

สเกลไม้บรรทัดสามเหลี่ยมเขียนแบบที่สถาปนิกใช้ ส่วนใหญ่เป็นพลาสติก แต่งานที่แนนทำ นอกจากทำจากไม้ ยังสลักชื่อคนๆ นั้นได้ด้วย กลายเป็นชิ้นเดียวในโลก 

"เคยมีผู้บริหารแบรนด์ใหญ่ๆ เห็นงานเรา ก็พูดกับเราว่า ถ้าเขาจะทำ มันไม่ยาก มีทั้งไม้และอุปกรณ์ในการทำไม้ แต่มันเป็นซิกเนเจอร์ของแนนไปแล้ว เขาก็เลยไม่ทำ เพราะเราเป็นคนแรกที่ทำแล้วติดตลาด ถ้าเป็นสเกลไม้ของแท้ ต้องเป็น 'carpenter ลูกค้าหลักของเรา มีทั้งดีไซเนอร์ สถาปนิก และคนที่ชอบผลิตภัณฑ์รักษ์โลก "

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ส่วนอื่นๆ ที่สามารถตอบโจทย์คนที่ชอบสไตล์นี้ อาทิ สมุดปกไม้ กระเป๋าจากเศษไม้ นาฬิกาจากขี้เลื่อย ฯลฯ จากเดิมลูกค้าเป็นสถาปนิกไทย ตอนนี้เธอมีลูกค้าสถาปนิกอียิปต์ เลบานอน แคนาดา นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังส่งออกไปที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ และเกือบทุกทวีป 

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

"งานออกแบบเป็นภาษาสากล เราเริ่มจากงานไม้เล็กๆ แล้วทำให้คนทั่วโลกชื่นชม ก็ถือว่ามาไกล จนพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมากว่า 50 รูปแบบ มีลูกค้าทั้งวัยเด็กและวัยเกษียณ"

'carpenter ไปไกลถึงมิลาน 

นอกจากผลิตภัณฑ์แบรนด์ 'carpenter แนน ยังเป็นให้คำปรึกษาเจ้าของโรงงานที่มีเศษไม้ที่อยากสร้างสรรค์งาน

“แม้โรงงานจะปิดไปแล้ว ช่างไม้ที่เคยทำงานกับเราเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ยังทำต่อ เราไม่ได้มองว่าโรงงานอื่นเป็นคู่แข่ง แต่ช่วยสนับสนุนเรื่องไอเดีย เราจึงต้องเดินทางไปทั่วประเทศในเรื่องการให้คำแนะนำ 

ตอนแรกไม่คิดว่จะมาไกลขนาดนี้ คิดแค่เป็นรายได้เสริม แต่ผลตอบรับดี สร้างมูลค่าในแง่อีโค โปรดักต์ และไม่ได้ทำตามกระแสเพราะเริ่มมานานแล้ว"

จากแบรนด์เล็กๆ ก้าวสู่เวทีโลกเผยแพร่ไอเดียนักออกแบบไทยที่ไม่ใช่แค่สวยและฟังก์ชั่น มองไปถึงการช่วยโลกและสังคม เพราะตลาดทั่วโลกสนใจเรื่องนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

"เราไม่ได้หยุดอยู่แค่ธุรกิจ แนนเลือกที่จะเผยแพร่ความรู้เรื่องการออกแบบเศษไม้ รวมถึงแนวคิดความยั่งยืนให้ตั้งแต่นักศึกษาที่สนใจการออกแบบ และผู้ประกอบการเล็กๆ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับเอเชีย แชร์เรื่องราวและแนวคิด BCG โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 

“การคิดใหม่อยู่เรื่อยๆ ต้องใช้พลังงานเยอะ คนที่ก๊อปปี้งานเรา ก็จะเดินตามหลังเรา ทำในสิ่งที่เราทำไปแล้ว ก็อปได้แค่โปรดักต์ แต่งานคราฟร้อยเปอร์เซ็นต์ ก๊อปไม่ได้ทุกอย่าง แม้จีนที่บอกว่าก๊อปเกรดเอ ปัจจุบันก็สั่งซื้อแบรนด์เรา”

ส่งต่อแรงบันดาลใจ

เหมือนเช่นที่กล่าวมา "หากลงมือทำแล้วไม่สำเร็จ อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้" สำหรับแนนแล้ว แบบอย่างที่ดีที่สุดคือ พ่อและแม่ทำให้เห็นด้วยการลงมือทำ จึงอยากส่งแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ต่อไป 

"พ่อกับแม่เป็นแบบอย่าง เราเห็นมาตั้งแต่เด็ก เรามีพี่น้องสามคน แม่ไม่ได้เลี้ยงพวกเราแบบคุณหนู เราต้องดูแลตัวเอง คุยงานกับช่างได้ แนนตั้งเป้าพัฒนาตัวเองทุกปี จะต้องเป็นแนนเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิมเรื่อยๆ 

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้ ยกตัวอย่างตั้งเป้าว่า ต้องพูดให้ได้มากกว่าสองภาษา ก็ลงเรียนภาษาจีน ตอนนี้อยู่ในระดับสื่อสารได้ ปีที่แล้วไปเรียนเรื่องนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และมีเป้าหมายอยากท่องเที่ยวทั่วโลก เธอจึงพยายามหาเวทีส่งออก เพื่อจะได้เที่ยวไปด้วย 

ไม่ต่างจากการวิ่ง แนน ยกตัวอย่าง "ถ้าวิ่งได้ 5 กิโลเมตรแล้ว จะไปต่อ 10 กิโลเมตรได้ไหม ตอนนี้จบฟูลมาราธอน(42 กิโลเมตร)แล้ว โดยเริ่มจากกิโลเมตรแรก จากเดิมไม่คิดว่าจะวิ่งได้ไกล แต่คนเราพัฒนาได้ไม่มีที่สิ้นสุด อยากรู้เหมือนกันว่า ขีดจำกัดอยู่ตรงไหน"

...................     

  • รายละเอียดดูได้ที่เฟซบุ๊ค 'carpenter
  • ภาพจากเฟซบุ๊ค 'carpenter

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้

 \'carpenter แบรนด์จากเศษไม้ \'แนน วีรดา\' ไม่ได้คิดว่าจะไปไกลขนาดนี้