3 'นักวิจัย' ดีเด่น 'ลดโลกร้อน' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง

3 'นักวิจัย' ดีเด่น 'ลดโลกร้อน' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มอบรางวัล 'นักวิจัย' ดีเด่นแห่งชาติ ในงาน 'วันนักประดิษฐ์' ประจำปี 2567 (2-6 ก.พ.67) จำนวน 9 ท่าน โดย 3 ใน 9 นักวิจัยดีเด่นปีนี้ นำเสนอผลงาน 'ลดโลกร้อน' และอีก 1 ผลงาน เพื่อตอบโจทย์สังคมไทยและการเมือง

จีโอโพลิเมอร์จากเถ้าทิ้งอุตสาหกรรม

ศ.ดร.อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี 2567 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

งานวิจัยคือ นำเถ้าทิ้ง (ขี้เถ้า) จากการผลิตปูนซีเมนต์ ผลิตเป็นวัสดุใช้ทดแทนปูนซีเมนต์ และสามารถนำไปผลิตเป็นวัสดุเคลือบท่อคอนกรีตที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารละลายกรด ผลิตเป็นวัสดุพรุนสำหรับดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และปรับน้ำเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรด สามารถต่อยอดนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม

เป็นผลงานวิจัยเพื่อลดโลกร้อน ลดฝุ่น ลดการผลิตซีเมนต์สู่การลดคาร์บอน

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง      ศ.ดร.อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์

รศ.ดร.อุบลลักษณ์ เล่าถึงแรงบันดาลใจว่า

“ในฐานะนักวิจัย เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างงานวิจัยและพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง มีผลงานที่เป็นที่น่าเชื่อถือ โดยงานวิจัยนั้นจะต้องตอบโจทย์ ช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมได้จริง”

นักวิจัยอธิบายว่า จีโอโพลิเมอร์ มีมาเกือบ 30 ปีแล้ว หมายถึงวัสดุที่เป็นสายโซ่ยาว ด้านเคมีอนินทรีย์ สารตั้งต้นมาจากดิน หิน จึงใช้คำว่า “จีโอ” ส่วนโพลิเมอร์หมายถึงพลาสติก แต่จีโอหมายถึงมาจากดิน หิน งานวิจัยที่ผลิตจากจีโอโพลิเมอร์จึงตอบโจทย์ปัญหามลภาวะจากเถ้าทิ้งในโรงงานอุตสาหกรรม ที่เมื่อปล่อยออกไปคือฝุ่นควันเล็ก ๆ กระจายอยู่ในอากาศ

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง     จีโอโพลีเมอร์ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง

“เถ้าทิ้งอุตสาหกรรม เช่น เถ้าถ่านหินจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมื่อเผาถ่านหินจะมีขี้เถ้าปนอยู่ รวมถึงเถ้าชีวมวล ได้แก่ ขี้เถ้าแกลบ เถ้าปาล์มน้ำมันก็เกิดจากกระบวนการที่โรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล เรานำเถ้าเหล่านี้มาเป็นส่วนผสม ผ่านกระบวนได้เป็นก้อนคอนกรีต มีหลายรูป สี่เหลี่ยม วงกลม ขึ้นรูปได้เหมือนคอนกรีตเหมือนแท่งปูน

แล้วเอาเถ้ามาผสมกับสารชนิดหนึ่งให้ความร้อนเพื่อเร่งปฏิกิริยา แต่เนื่องจากบ้านเราแดดแรงอยู่แล้ว จึงใช้ความร้อนจากแสงแดด จากนั้นมาขึ้นรูปเป็นแท่งปูนตามรูปทรงที่ต้องการ

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง     การทดสอบคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์

คุณสมบัติดีกว่าปูนซีเมนต์คือ ปูนทั่วไปเวลาเจอกรดจะเกิดการกัดกร่อน แต่ตัว จีโอโพลิเมอร์ ไม่เกิดการกัดกร่อนเพราะมันทนกรด จากตัวมันเองที่เป็นเบสอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อนำไปใช้งาน เช่น เคลือบท่อน้ำทิ้งที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะไม่เกิดการกัดกร่อนที่เรามักเป็นเห็นเป็นโครงเส้นเหล็ก อันนั้นปูนถูกกัดกร่อนจนเหลือแต่โครงเหล็ก แต่ตัวนี้เจอกรดแล้วไม่ถูกทำลาย โครงสร้างต่าง ๆ จะทนกว่าคอนกรีตที่ผลิตจากปูนซีเมนต์”

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง       งานวิจัยนำเถ้าชีวมวลมาผลิตเป็นจีโอโพลีเมอร์

ดร.อุบลลักษณ์ เสริมว่า เริ่มทำงานวิจัยชิ้นนี้ตั้งแต่ปี 2548 เริ่มในห้องทดลองก่อนโดยนำขี้เถ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

“พอทำเสร็จได้ตีพิมพ์ในเอกสารงานวิจัย ชาวต่างประเทศก็นำผลงานเราไปอ้างอิง ต่อมาเขาเริ่มทำตาม ตอนนี้จดเป็นอนุสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยบูรพา

งานวิจัยนี้ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมคือ ใช้เถ้าทิ้งอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์ ไม่ต้องไปหาที่ทิ้ง ลดมลภาวะในอากาศ และใช้แทนปูนซีเมนต์ในงานก่อสร้างได้ หมายความว่าใช้ปูนลดลง การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ก็ลดลงไปด้วย

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง     ศ.ดร.อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์

และสามารถประยุกต์การใช้งานมากขึ้น พอเรามีงานนี้ออกมา นักวิจัยรุ่นน้อง ๆ ก็จะวิจัยมากขึ้น แม้ตอนนี้เราเน้นใช้งานผลิตเป็นจีโอโพลิเมอร์สำหรับคอนกรีตพรุน มีความสามารถระบายน้ำขัง และไม่ต้องรับแรงมาก

ยกตัวอย่าง กรณีฝนตกเยอะ ๆ แล้วน้ำระบายไม่ทันเพราะเป็นพื้นปูนซีเมนต์ซึ่งไม่มีรูพรุน ถ้าเอาจีโอโพลิเมอร์ไปเทก็จะระบายน้ำได้ หรือในการจับโลหะหนักในน้ำเสีย เน้นการประยุกต์ใช้งานมากขึ้น นอกจากเป็นวัสดุก่อสร้างแล้วยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีก”

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง     ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์

ไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ทดแทนไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช

ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ คณะอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา

ผลงานวิจัยของ ดร.เบญจมาส คือนำวัสดุเศษเหลือและน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์ม ผลิตเป็นไบโอดีเซล เรียกว่า ไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์

“โรงงานผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ ที่มีเส้นใยของผลปาล์ม กากใยที่ไม่ใช้ จนถึงน้ำทิ้ง นำมาปรับสภาพ เพาะเลี้ยงด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถสะสมไขมันภายในเซลล์ได้ จากนั้นนำไปสกัดน้ำมันจากจุลินทรีย์ผลิตเป็นไบโอดีเซล”

ไบโอดีเซลที่ใช้ในเครื่องยนต์ โดยทั่วไปผลิตจากน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืช นักวิจัยคิดค้นนำวัสดุเหลือทิ้งโดยไม่ต้องใช้น้ำมันปาล์ม ลดปัญหาขยะได้ด้วย

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง     ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์ ในห้องทดลอง

“น้ำมันปาล์มที่ใช้บริโภค พอเอามาผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้ทำให้เกิดการแข่งขัน พอคนสวนปลูกปาล์มเขาก็อยากขายไปทำเชื้อเพลิง ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้น ในฐานะนักวิจัยคิดว่าเราน่าจะทำแหล่งน้ำมันชนิดใหม่ที่มีศักยภาพในการผลิตไบโอดีเซลได้ เรียกว่าน้ำมันจากจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์ที่เอามาเลี้ยงก็ได้จากวัสดุเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะช่วยบำบัดของเหลือทิ้งได้ด้วย”

การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ ดร.เบญจมาส บอกว่าขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์

“ใช้จุลินทรีย์ 3 ชนิด เช่น ยีสต์ เพาะเลี้ยง 2-3 วัน, เชื้อรา 3-5 วัน, สาหร่าย 5-7 วัน จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความสามารถในการใช้ของเหลือทิ้งแตกต่างกัน พอเรามีวัสดุเหลือทิ้งพวกนี้ก็ต้องดูว่าใช้จุลินทรีย์ประเภทไหนที่เหมาะสมเข้าไปบำบัดแล้วเปลี่ยนให้เป็นน้ำมัน”

ซึ่งไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์มีคุณสมบัติเหมือนไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม สามารถใช้ในเครื่องยนต์ได้เหมือนกัน

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง     ศ.ดร.เบญจมาส วิจัยไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์

“ใช้เวลาวิจัย เริ่มตั้งแต่ปี 2009 เริ่มจากยีสต์ก่อนในน้ำทิ้ง แล้วเราก็พัฒนาการเลี้ยงเชื้อราที่ใช้กับชีวมวลกับกากปาล์มได้ และพัฒนาต่อมาเลี้ยงสาหร่าย เพราะยีสต์กับเชื้อราอย่างเดียว บำบัดไม่หมด แต่สาหร่ายมันจะบำบัดพวกแก๊ซเผาไหม้จากโรงงานอุตสาหกรรมได้ด้วย ก็เลยทำวิจัยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2009 ตอนนี้ก็ประมาณ 17 ปี”

ได้ไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์ที่กำจัดของเหลือทิ้ง เพื่อลดการแข่งขันกับน้ำมันปาล์มที่เป็นแหล่งอาหาร อีกทั้งกระบวนการผลิตก็ไม่ใช้เคมีที่จะทำให้เกิดมลพิษในการกำจัดสารเคมีอีก โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้เกิดความยั่งยืน

“ตอนนี้ที่ผลิตได้องค์ประกอบคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว เป็นการศึกษาให้ได้กระบวนการให้ได้น้ำมันจากของเสีย ซึ่งต้องมีโรงงานรับการถ่ายทอดเพื่อเอาไปขยายจริงในอุตสาหกรรม

เทคโนโลยีที่พัฒนาในระดับนี้คือต่อยอดขยายการผลิตให้ได้ปริมาณน้ำมันจากจุลินทรีย์ เป็นไบโอดีเซลปริมาณมากพอเอาไปประยุกต์ใช้ในเครื่องยนต์ และสามารถขยายขนาดกำลังการผลิตและไปสู่ระดับอุตสาหกรรมได้

ความตั้งใจคืออยากเพิ่มมูลค่าโดยการใช้ประโยชน์องค์ประกอบทุกส่วนของวัตถุดิบทางการเกษตร ลดการเกิดของเสีย ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งงานวิจัยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาในการผลิตสินค้า ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนการใช้พลังงาน และลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ที่สำคัญทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้เกิดความยั่งยืน อยากให้ภาคเอกชนให้ความสำคัญกับการทำงานวิจัย เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งช่วยลดมลพิษและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง”

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง    ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร งานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคมและการเมือง

งานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคมและการเมือง

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดการเมือง ทฤษฎีการเมืองการปกครอง ประชาธิปไตย ระบอบพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ การเมืองการปกครองไทย

“ผมทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์สังคมไทย ตอบโจทย์การเมืองไทย ข้อถกเถียงที่หาข้อยุติไม่ได้ เราเป็นนักวิชาการเราก็ศึกษาทฤษฎี แนวคิด รูปแบบการปกครองก็ดี เราต้องตอบคำถามเรานี้ให้ได้ซึ่งจากการวิจัยที่ผ่านมาพบข้อสรุปเชิงวิชาการและคำอธิบายวิกฤตการเมืองไทย รวมทั้งแนวทาง แก้ปัญหาบางประการ

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง

โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. การพัฒนาความคิดและปรัชญาการเมือง และรูปแบบการเมืองการปกครอง และ 2. การสร้างชุดคำอธิบายต่อการเมืองการปกครองไทย โดยเป็นการศึกษาภายใต้กรอบแนวคิดรูปแบบการปกครองแบบผสมและและทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุมีผลในการวิเคราะห์ และตีความเพื่อทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นปัญหาของการเมืองการปกครองไทย”

ศ.ดร.ไชยันต์ ยังได้ได้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจอีกด้วยว่า

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง

“สถาบันการศึกษาควรมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญกับระเบียบวิธีการวิจัยและการอ้างอิงข้อมูลอย่างจริงจังมากขึ้น ไม่นิ่งเฉยต่อความผิดพลาดทางวิชาการจากการอ้างอิงข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อสถาบันสูงสุดของชาติ และประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ควรมีการติดตามตรวจสอบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมได้ประจักษ์รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครองไทย รวมทั้งยังต้องส่งเสริมให้นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักถึงความรับผิดชอบและเสรีภาพทางวิชาการ รวมทั้งผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคมโดยรวมมากขึ้นด้วย”    

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ชวนชมงาน วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567

 

- จัดแสดงนิทรรศการที่น่าสนใจมากกว่า 1,000 ผลงาน อาทิ นิทรรศการตัวอย่างผลงานที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ นิทรรศการการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ และการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในโครงการ Thailand New Gen Inventors Award 

3 \'นักวิจัย\' ดีเด่น \'ลดโลกร้อน\' – ตอบโจทย์ปัญหาสังคมไทยและการเมือง  3 นักวิจัยดีเด่น 2567 ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, ศ.ดร.อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์, ศ.ดร.เบญจมาส เชียรศิลป์

- มอบรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 รางวัลผลงานวิจัย, งานวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น 

- เสวนาหัวข้อ People for the Future…เส้นทางสู่การเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ โดยนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 17.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร