'ธนาคารปูม้า' คืนปูให้ท้องทะเล ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

'ธนาคารปูม้า' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

กว่าจะมาเป็น ธนาคารปูม้า เพราะทำประมงเกินกว่าที่มี ทรัพยากรจึงไม่มีเหลือ ต้องร่วมมือเพาะเลี้ยงให้เติบโต แต่จะทันไหม ในเมื่อจับทุกวัน แต่ไม่ได้ปล่อยปูทุกวัน

KEY

POINTS

  • ธนาคารปูม้า เป็นต้นแบบการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งที่เกิดจากแนวคิดของชุมชน โดยชาวประมงพร้อมใจให้ความร่วมมือ สร้างข้อตกลงร่วมกันในชุมชนตนเอง
  • เมื่อทรัพยากรในทะเลลดน้อยลงจนน่าเป็นห่วง การทำประมง ควรมีกฎของการอยู่ร่วมกัน และคิดถึงทรัพยากรส่วนรวมเป็นหลัก
  • ทรัพยากรทางทะเลทุกชนิด ล้วนเชื่อมโยงถึงกัน ไม่มีสิ่งใดสำคัญกว่าสิ่งใด ทุกสิ่งเป็นห่วงโซ่อาหาร ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน 

ปูม้า เป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ประมงชายฝั่ง และเป็นวัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก

ในปี พ.ศ. 2535 - 41 วิรชัช เจะเหล็ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านเกาะเพชร ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ได้เล่าถึงสถานการณ์ในทะเลที่น่าเป็นห่วงให้ฟังว่า

"อ่าวหัวไทร เคยมีปูจำนวนมาก ไม่กี่ปีมานี้ทะเลนี้ร้างไปเลย เพราะชาวประมงใช้เครื่องมือจับปูไปครั้งละมาก ๆ ส่งผลกระทบกับทรัพยากรทางทะเล เพราะธรรมชาติสร้างไม่ทัน

ชาวบ้านขาดรายได้ ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไปจับปูที่อื่นที่ไม่ใช่เขตหน้าบ้านตนเอง เกิดความคิดว่าต้องเริ่มฟื้นฟู เพราะทะเลโดนทำร้าย เราต้องตอบแทนทะเล แหล่งอาหาร

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

เกาะเสร็จ  Cr. Kanok Shokjaratkul

ปี พ.ศ. 2545 เราตั้งกลุ่มศึกษาสภาพแวดล้อม ใช้วิธีการจากชุมชนอื่น แต่เอามาใช้ที่หัวไทรไม่ได้เพราะภูมิประเทศไม่เหมือนกัน

ปี พ.ศ. 2552 ทำ ธนาคารปู ตั้งกฎว่า เมื่อจับปูไข่ได้ต้องนำมาฟัก จนลูกปูแข็งแรงก็นำไปปล่อยเริ่มเห็นผลเมื่อดำเนินงานไปแล้ว 3-5 ปี ปูม้าในอ่าวหัวไทรเริ่มกลับมา ชาวบ้านเริ่มกำหนดเครื่องมือที่เหมาะสม ที่ ต.เกาะเพชร ไม่มีเครื่องมือผิดกฎหมาย 100 % ห้ามจับสัตว์น้ำในระยะ 4 กิโลเมตรจากฝั่ง เป็นเขตอนุรักษ์พ่อแม่พันธุ์"

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

อ่าวพุมเรียง  Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ปูม้า ลดลงทั่วประเทศ

ข้อมูลจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2554 ระบุว่า ผลผลิตปูม้าของประเทศไทยมี 28,800 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 3,243 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20-30 จากปี พ.ศ. 2540 ที่มี 40,000 ตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อการบริโภคและอุตสาหกรรมแปรรูปส่งออก

มีการพัฒนาวิธีการจับปูม้าและเครื่องมือทำประมงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีลอบปูม้าแบบพับได้ มีอวนลอยปูม้าแบบจมถึงก้นทะเล ทำให้ปูม้าถูกจับมากเกินกำลังการขยายพันธุ์ อาจเป็นเหตุให้ใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

ลูกปูม้า พร้อมปล่อยสู่ทะเล   Cr. Kanok Shokjaratkul

  • คืนปูม้า สู่ทะเลไทย

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบโครงการการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ คืนปูม้าสู่ทะเลไทย ไปสู่ชุมชน บริเวณชายฝั่ง โดยให้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานบูรณาการหลัก มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่และอีกหลายหน่วยงานร่วมดำเนินการ

ธนาคารปูม้า เป็นต้นแบบการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งที่เกิดจากแนวคิดของชุมชน  โดยชาวประมงพร้อมใจให้ความร่วมมือ สร้างข้อตกลงร่วมกันภายในชุมชนของตนเอง

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

ปล่อยลูกปูม้า ลงทะเล  Cr. Kanok Shokjaratkul

ชุมชนประมงชายฝั่งในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ได้ก่อตั้ง ธนาคารปูม้า ขึ้นเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าให้กับท้องทะเลไทย

วิธีการ คือ ผู้ที่จับได้ปูม้ามีไข่ ต้องนำมาไว้ที่ธนาคาร ให้แม่ปูได้วางไข่ เพาะเลี้ยงลูกปูจนโต แล้วนำไปปล่อยสู่ทะเล เพื่อเพิ่มปริมาณปูม้าทดแทนที่ได้จับไป

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

อ่าวพุมเรียง  Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ปิดอ่าว ห้ามทำประมง

เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม ของทุกปี เป็นฤดูวางไข่ กรมประมง ออกกฎว่า ห้ามทำประมงในทะเล ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับ ตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท หรือปรับ 5 เท่า ของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง 

  • ชุมชนธนาคารปูม้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิกิจ ผินรับ หัวหน้าโครงการวิจัย จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าวในงาน การฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังและกระบี่ ภายใต้โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ คืนปูม้า สู่ทะเลไทย วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ว่า

"โครงการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดตรังและกระบี่ ดำเนินโครงการธนาคารปูม้าชุมชนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

ลูกปูม้าพร้อมปล่อยสู่ทะเล  Cr. Kanok Shokjaratkul

มีธนาคารปูม้าชุมชนจำนวน 64 แห่ง และศูนย์เรียนรู้จำนวน 13 ศูนย์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 77 แห่ง (9 อำเภอ 54 ชุมชน) จังหวัดตรังจำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ สิเกา, กันตัง, ปะเหลียน, หาดสำราญ จังหวัดกระบี่จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ คลองท่อม, เหนือคลอง, เกาะลันตา, อ่าวลึก และ อ.เมือง

ในปีงบประมาณ 2565 ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานที่จัดตั้งเพื่อพัฒนาธนาคารปูม้าชุมชนเป็นศูนย์เรียนรู้ พร้อมทั้งติดตั้งชุดสื่อการเรียนรู้และนิทรรศการในพื้นที่จังหวัดตรังและกระบี่ เพิ่มจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารปูม้าบ้านคลองยวน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และธนาคารปูม้าบ้านหาดยาว อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

ปล่อยลูกปูม้าสู่ทะเล  Cr. Kanok Shokjaratkul

ได้รับการสนับสนุนและบำรุงรักษาวัสดุและอุปกรณ์ในการทำธนาคารปูม้าแบบโรงเพาะฟักชุมชนให้กับธนาคารปูม้าและศูนย์เรียนรู้ของจังหวัดตรังและกระบี่จำนวน 77 แห่ง อาทิ ระบบน้ำ, ระบบไฟ, ระบบให้อากาศ, ถังเพาะฟัก เป็นต้น

จัดกิจกรรมวันกินปูม้าตรัง ครั้งที่ 3 เป็นเวลา 2 วัน ให้ชุมชนให้มีรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ ผลักดันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้าให้ได้มาตรฐานการผลิต GMP และได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวและเครื่องหมายฮาลาล เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค"

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

ปล่อยลูกปูม้าสู่ทะเล  Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ธนาคารปูม้า : ควรปล่อยให้สมดุลกับการจับ ?

จรินทร์ เฉยเชยชม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้สัมภาษณ์กับกรุงเทพธุรกิจ ในวันที่ไปปล่อยลูกปูม้า จำนวน 200,000 ตัว กับ โครงการ ปูม้ายั่งยืน คู่ทะเลไทย ปีที่ 13 โดย บริษัท ซีพีแรม จำกัด ร่วมกับ กรมประมง, บริษัท วิยะเครป โปรดักส์ วันที่ 21 มีนาคม 2568 ณ เกาะเสร็จ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ว่า

"จุดเริ่มต้นของ ธนาคารปูม้า ที่นี่ เป็นอุบายหนึ่งสร้างการมีส่วนร่วมของคนที่นี่ให้มีการฟื้นฟูทรัพยากร

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

จรินทร์ เฉยเชยชม  Cr. Kanok Shokjaratkul

ตอนนั้นเรามีปัญหาประมงพาณิชย์ กับประมงพื้นบ้าน เวลาออกทะเล สัตว์น้ำสูญหาย เพราะถูกเครื่องมือกวาดไปหมด เป็นปัญหาของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 

ชาวบ้านก็คิดกันว่า จะทำยังไง ให้มีทรัพยากรยั่งยืน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการ มีการอบรม มีสัมมนา ทำโครงการการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง มีหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วม

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

ลูกปูม้า พร้อมปล่อยสู่ทะเล  Cr. Kanok Shokjaratkul 

ธนาคารปูม้า คือ การให้ชาวประมงเอาปูม้าที่มีไข่มาฝากไว้ ฟักไข่ให้ออกลูก เริ่มต้นในปี 2549 เราทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูทรัพยากร รวมตัวกัน ปลูกป่าชายเลน จัดการขยะ

ที่สำคัญที่สุด สัตว์ทะเลหายาก พยูน เต่า หรือ ปูม้า ทั้งหมดนี้เป็นวัฏจักรของท้องทะเล เชื่อมโยงกัน พยูน ในอ่าวพุมเรียง ตอนนี้มีไม่เกิน 10 ตัว เราเป็นพื้นที่เขาข้ามผ่าน คนที่มาพุมเรียง ไม่ค่อยรู้ว่าเรามี พยูน มี เต่า เขามองแต่สัตว์เศรษฐกิจ คือ ปูม้า

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

พยูน ที่เคยอาศัยอยู่ในอ่าวพุมเรียง  Cr. Kanok Shokjaratkul

แต่จริง ๆ พวกนี้สำคัญ มันเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมื่อไร ที่ พยูน โดนทำลาย สัตว์น้ำอื่นก็อยู่ไม่ได้ นี่คือ ต้นทุนทางธรรมชาติ

เต่าตนุ เต่ากระ มีที่เกาะเสร็จ ในอ่าวพุมเรียงไม่มีที่ให้วางไข่ พื้นที่มันไม่เหมาะสม มันไปวางไข่ที่อื่น แต่เรามีพื้นที่ให้หากินเยอะมาก

เราจะพานักท่องเที่ยวไปปลูกป่า ไปเก็บขยะ ไปหาหอย ไปปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ให้เขามีส่วนร่วม สร้างความยั่งยืน

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

อ่าวพุมเรียง  Cr. Kanok Shokjaratkul 

ที่พุมเรียง ปูม้า คือสัตว์เศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ส่วน อ่าวบ้านดอน เป็นพื้นที่แรมซาร์ (Ramsar) เป็นที่หลบภัยสัตว์น้ำวัยอ่อน เรามี เกาะเสร็จ มีสันทราย มีอาหาร ถ้าเราปล่อยปู มันจะฝังตัวได้เลย เป็นแหล่งอนุบาลอันดับหนึ่ง

เราต้องสร้างความร่วมมือในเรื่องเรือ เรื่องการใช้เครื่องมือประมง ต้องทำตามกฏกติกา และทำตามกฎหมาย

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

เนินทราย อ่าวพุมเรียง  Cr. Kanok Shokjaratkul 

ธนาคารปูม้า มีทั้งของเทศบาล และของชุมชน เป็นศูนย์เรียนรู้ ให้พวกนักเรียนมาดูงาน กิจกรรมหลักของเราคือการฟื้นฟู และกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน

ลูกปูม้าที่เราปล่อยวันนี้ มีอายุประมาณ 1 เดือน กว่ามันจะโต 6 เดือน ก็สามารถจับได้

\'ธนาคารปูม้า\' คืนปูให้ท้องทะเล  ทำอย่างไรให้ การจับ สมดุล กับ การปล่อย?

อ่าวพุมเรียง  Cr. Kanok Shokjaratkul 

ทรัพยากร เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชุมชนชายฝั่ง เราจับทุกวัน แต่นาน ๆ ปล่อยที นี่คือปัญหา จะทำยังไงให้เวลาจับ กับเวลาปล่อยให้มันบาลานซ์กัน นั่นล่ะคือความยั่งยืน

อย่างกิจกรรมปล่อยปู อยากให้มีบ่อยครั้ง เพราะเราจับทุกวัน จับทุกคืน แต่เราปล่อยปีหนึ่งปล่อยหนึ่งครั้ง มันไม่บาลานซ์กัน สามเดือนครั้งก็ยังดี หรือให้งบประมาณมาให้ชุมชนจัดการ ปล่อยให้มากกว่านี้ เรามาวางแผนร่วมกัน"