‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘กัลปพฤกษ์’ คอลัมนิสต์สาย International Film Festival วิเคราะห์ ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ว่าไปได้ไกลแค่ไหนแล้วในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ พร้อมข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรทำอย่างไรหากต้องการสนับสนุนหนังไทยให้สามารถไปยังเวทีโลกได้อย่างจริงจัง

หลังจากที่ Thailand Creative Culture Agency หรือ THACCA ได้ตั้งคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่าง ๆ รวมถึงภาพยนตร์ ก็เริ่มมีกระแสตื่นตัวถึงการสนับสนุนให้ ซอฟต์พาวเวอร์ ‘หนังไทย’ ไปได้ไกลในเวทีเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทั่วโลก ‘กัลปพฤกษ์’ จึงขอรวบรวมรายชื่อของ ‘หนังไทย’ หลากหลายแนวทางในรอบปีที่ผ่านมา ที่สามารถฝ่าด่านการคัดเลือกระดับโลกอย่างเข้มข้นในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติชั้นนำแห่งต่าง ๆ ซึ่งก็มีทั้งที่ได้ไปฉายโชว์ และที่ร่วมประกวดจนคว้ารางวัลต่าง ๆ ติดไม้ติดมือกลับมา โดยจะเน้นที่หนังที่เปิดตัวหรือพรีเมียร์ในเทศกาลเหล่านี้เป็นที่แรกเป็นหลัก

เริ่มด้วยงานสารคดีอิสระขนาดยาวของผู้กำกับ คมน์ทัช ณ พัทลุง ชื่อ Hours of Our [รอวัน] ที่ได้เข้าร่วมประกวดในสายสารคดีนานาชาติ ของเทศกาลหนังสารคดี Visions du Reel ณ เมืองนิอง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 2023

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก คมน์ทัช ณ พัทลุง

 

สารคดีไทยเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของครอบครัวชาวซูดานที่ลี้ภัยการเมืองมาพำนักเพื่อตั้งหลักอยู่ในประเทศไทยยาวนานถึง 6 ปี ก่อนที่จะขอสถานะ refugee โยกย้ายไปอาศัยที่แคนาดาอันเป็นประเทศปลายทาง ว่าพวกเขาใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร และได้รับการต้อนรับขับสู้แบบไหนจากอาสาสมัคร NGO ในไทยที่ดูแลพวกเขาอย่างดิบดี

โดยหลังจากนั้น หนังก็ได้ร่วมฉายในสาย Horizon ที่ Singapore International Film Festival 2023 ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เข้าฉายแบบจำกัดโรงในประเทศไทยไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

 

สารคดีพันธุ์ไทยยังสำแดงความเกรียงไกรด้วยการไปฉายเปิดตัวในเทศกาลสารคดีแห่งสำคัญในเอเชียถึงสามเรื่องด้วยกันในกันยายน ค.ศ. 2023 นั่นคือเรื่อง Khon Boys [เด็กโขน] ของผู้กำกับ พัศรวินทน์ กุลสมบูรณ์ ที่นำเสนอมุมมองความคิดต่อทั้งนาฏศิลป์ไทยโบราณอย่างการแสดง ‘โขน’ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย ของเหล่าเยาวชนเพศชายนักเรียน ‘นายโขน’ จากวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศาลายา

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก พัศรวินทน์ กุลสมบูรณ์

 

สารคดีเรื่องนี้ได้ฉายเปิดตัวที่เทศกาล Jumping Frames-Hong Kong International Movement-image Festival ที่ ฮ่องกง ต่อด้วยเทศกาล Taiwan International Ethnographic Film Festival 2023 ที่ไต้หวัน ในเดือนตุลาคม ก่อนจะได้เข้าร่วมประกวดรางวัลดุ๊ก ในเทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 27 จัดโดย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และมูลนิธิหนังไทย ในช่วงปลายปี

 

DMZ International Documentary Film Festival

อีกเทศกาลที่มีหนังสารคดีไทยไปเปิดตัวในเดือนกันยายนถึงสองเรื่อง ได้แก่ เทศกาล DMZ International Documentary Film Festival ประเทศเกาหลีใต้ เรื่องแรกคือ Songs of Angry People ของ อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ในสาย Verite งานสารคดีบันทึกความเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยไทยที่มีทั้งเด็กนักเรียนวัยมัธยมศึกษา คนหนุ่มสาว และผู้ใหญ่วัยทำงานที่ไม่พอใจการทำงานของรัฐบาล ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๕

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

อุรุพงศ์ รักษาสัตย์

 

 

ในขณะที่เรื่อง DAMNATIO MEMORIAE [ไม่พึงปรารถนา] ของผู้กำกับ ธัญสก พันสิทธิวรกุล ซึ่งได้เข้าประกวดในสาย Frontier กลับหันไปสนใจประวัติศาสตร์ สงคราม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของดินแดนเอเชียบูรพา ท่ามกลางการแทรกแซงของสหรัฐอเมริกาและลัทธิคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น

โดยมีช่วงหนึ่งที่เราจะได้เห็นว่านักร้องหญิงชาวไต้หวันผู้โด่งดัง ‘เติ้งลี่จวิน’ เคยมีบทบาทต่อกองกำลังประเทศต่าง ๆ อย่างไรบ้าง สลับกับอิทธิพลของเพลงฮิตอย่าง ‘พระจันทร์แทนใจ’ ที่ดังก้องไปทั่วทั้งเอเชียไม่เว้นแต่ในประเทศไทย

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ธัญสก พันสิทธิวรกุล

 

หลังจากเทศกาล DMZ International Documentary Film Festival แล้ว สารคดี DAMNATIO MEMORIAE ยังได้เดินสายไปประกวดยังเทศกาลต่าง ๆ อีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น International Documentary Film Festival Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในสายประกวด Envision ที่ Taiwan International Documentary Festival สายประกวด Asian Vision ที่ Istanbul International Experimental Film Festival ประเทศตุรกี

ล่าสุด ทางนิทรรศการศิลปะระดับโลกอย่าง The 60th International Art Exhibition La Biennale di Venezia เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี เจ้าเดียวกับที่จัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเวนิส ก็ได้เชิญสารคดีเรื่องนี้ไปร่วมฉายในกลุ่มงาน Disobedience Archive ภัณฑรักษ์โดย Marco Scotini ที่งาน La Biennale di Venezia เรียบร้อยแล้ว

 

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน

เทศกาล Busan International Film Festival ณ เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นอีกเทศกาลที่ต้อนรับหนังไทยกันอย่างคึกคักในแทบทุกปี สำหรับเมื่อปี ค.ศ. 2023 ซึ่งจัดงานไประหว่างวันที่ 4-13 ตุลาคม ก็มีหนังไทยเข้าร่วมฉายเป็นการเปิดตัวถึงสามเรื่องด้วยกัน

เรื่องแรกคือผลงานใหม่ล่าสุดของผู้กำกับ พุทธิพงศ์ อรุณเพ็ง ชื่อ Morrison เกี่ยวกับ หนุ่มลูกครึ่งไทย-อเมริกันที่หันหลังให้กับการเป็นนักร้องร็อคสตาร์แล้วหันมาทำงานเป็นวิศวกร เขาได้เดินทางไปยังโรงแรมเก่าซอมซ่อที่พ่อของเขาซึ่งเป็นอดีตทหารจีไอได้เคยพำนักและพบรักกับแม่ของเขา จนได้ค้นพบรากเหง้าที่ถูกลืมของตนเอง

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

พุทธิพงศ์ อรุณเพ็ง

 

หนังได้ร่วมฉายในสาย A Window on Asian Cinema ก่อนที่จะเดินทางไปประกวดในสาย Best Asian Cinema Silver Screen Award ที่เทศกาล Singapore International Film Festival 2023 ในเดือนธันวาคม และเพิ่งจะเข้าโรงฉายในบ้านเรา

 

ส่วนเรื่อง Doi Boy ของ นนทวัฒน์ นำเบญจพล ที่เล่าถึงการดิ้นรนผจญภัยของหนุ่มต่างด้าวไร้สัญชาติทางภาคเหนือของไทยที่ต้องใช้เรือนกายแลกเงินจากการเป็นเด็กนวด ก็ได้เข้าร่วมประกวดในสาย Kim Jiseok Award สำหรับกลุ่มคนทำหนังเอเชียเลือดใหม่ ที่กำลังสร้างผลงาน หนังได้เผยแพร่ในช่องทางสตรีมมิงค่าย Netflix ทำให้ไม่ได้มีโอกาสไปฉายต่อในเทศกาลอื่น ๆ มากนัก

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก นนทวัฒน์ นำเบญจพล

 

สุดท้ายหนังเล่าความสัมพันธ์อันลับเร้นระหว่างหญิงมุสลิมและศิลปินหญิง ณ บรรยากาศโรแมนติกของชายทะเลในจังหวัดสงขลา เรื่อง Solids by the Seashore [ทะเลของฉันมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง] ของ ปฏิภาณ บุณฑริก ก็ได้เข้าร่วมประกวดในสาย New Currents สำหรับผู้กำกับที่มีผลงานหนังยาวไม่เกินสองเรื่องแรก

ซึ่งแม้ว่า Solids by the Seashore จะไม่ได้รับรางวัลในสายนี้ แต่ก็ยังคว้ารางวัล NETPAC Award จากคณะกรรมการของ Network for the Promotion of Asian Cinema มาได้แทน หลังจากปูซาน Solids by the Seashore ก็ยังได้ไปฉายที่ BFI Flare London LGBTQIA+ Film Festival และ Mumbai Film Festival อีกด้วย

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ปฏิภาณ บุณฑริก

 

เทศกาลภาพยนตร์โตเกียว-ฮ่องกง-สิงคโปร์

เสร็จจากเทศกาล Busan International Film Festival ช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม หนังไทยก็เดินทางไปต่อ ณ เทศกาล Tokyo International Film Festival ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยในปี ค.ศ. 2023 หนังไทยเรื่อง RedLife ของผู้กำกับ เอกลักญ กรรณศรณ์ ที่เล่าเรื่องราวชีวิตบัดซบของเด็กติดยาและบรรดาโสเภณีรอบ ๆ ย่านหัวลำโพงในยุคปัจจุบัน ก็ได้ไปเปิดตัวและเข้าร่วมประกวดในสาย Asian Future ก่อนที่จะเข้าโรงฉายในประเทศไทย และได้ร่วมฉายใน Hong Kong International Film Festival 2024 ในสาย Fantastic Beats เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

เอกลักญ กรรณศรณ์

 

ในส่วนของหนังสั้น สมพจน์ ชิตเกษรพงศ์ ก็ส่งผลงานใหม่ความยาว 30 นาที เรื่อง The Physical Realm [ภูมิกายา] เกี่ยวกับชายหนุ่มผู้มีอาการปวดบ่า จนเขาสงสัยว่าน่าจะเป็นผลมาจากวิญญาณของบุตรที่ไม่ได้กำเนิดจากแฟนคนเก่าของเขา เข้าร่วมประกวดในสาย International Short Film Competition ในเทศกาล FilmFestGent 2023 ประเทศเบลเยียม ช่วงกลางเดือนตุลาคม ค.ศ. 2023

ก่อนจะได้ประกวดในส่วนหนังสั้นอีกครั้งในเทศกาล Singapore International Film Festival และสุดท้ายก็กลับมาคว้ารางวัลใหญ่อย่างรางวัล ‘รัตน์ เปสตันยี’ ไปครองได้ในการประกวดของเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 27 โดย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และ มูลนิธิหนังไทย

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

 

ซึ่งใน Singapore International Film Festival 2023 ก็มีหนังสั้นไทยเข้าร่วมประกวดด้วยอีกหนึ่งเรื่อง นั่นคือ Did You See the Hole that Mom Dig? [หอมสุวรรณ] ความยาว 27 นาที ของผู้กำกับ ภพวรัท มาประสพ เล่าเรื่องราวประหลาดหลอนด้วยภาพไหลเหลื่อมของครอบครัวที่กลับมาเยี่ยมคุณยายในช่วงสงกรานต์เพื่อระลึกถึงคุณตาที่ล่วงลับไปแล้วในลีลาเชิงทดลอง

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ภพวรัท มาประสพ

 

Rotterdam International Film Festival

ข้ามมาปี ค.ศ. 2024 ที่เทศกาล Rotterdam International Film Festival หนึ่งในเทศกาลใหญ่ในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับหนังทั้งสั้นและยาวจากประเทศไทยตลอดมา ซึ่งในเทศกาลครั้งนี้ ก็มีหนังไทยเข้าร่วมฉาย รวมจำนวน 5 เรื่องด้วยกัน

 

เริ่มตั้งแต่ Not Friends [เพื่อน(ไม่)สนิท] เกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นที่จับมือกันทำหนังเพื่อระลึกถึงเพื่อนที่ตายจากไปจากค่าย gdh ของผู้กำกับ อัตตา เหมวดี ที่เคยเป็นตัวแทนจากประเทศไทยส่งไปให้คณะกรรมการรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมพิจารณา ก็มาร่วมฉายในสาย Harbour ท่าเรือสำหรับภาพยนตร์นานาชาติร่วมสมัยที่น่าสนใจ

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

อัตตา เหมวดี

 

โดยมีหนังไทยอีกเรื่องที่ได้ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในสายนี้ด้วย นั่นคือ The Cursed Land [แดนสาป] ของสองผู้กำกับ ภาณุ อารี และ ก้อง ฤทธิ์ดี เล่าเรื่องราวสยองขวัญของบ้านผีสิงในชุมชนมุสลิมในกรุงเทพ นำแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ริงแฮม และ เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ มีกำหนดฉายในบ้านเราในเดือนกรกฎาคมนี้

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ภาณุ อารี

 

หนังยาวจากบ้านเราอีกเรื่องในเทศกาล Rotterdam International Film Festival ปีนี้ ก็คือ หนังที่ขยายจากงานธีสิสจบการศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ของผู้กำกับ พสธร วัชรพาณิชย์ เรื่อง Rivulet of Universe [มันดาลา] ซึ่งเป็นการนำตำนานรักสามเส้าประจำถิ่นของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ของ ‘ปาจิต-อรพิม-พรหมทัต’ มาเล่าใหม่โดยใช้กลุ่มตัวละครชาย-หญิงต่างช่วงวัยและต่างเชื้อชาติ จนกลายเป็นหนังทดลองสุดประหลาดความยาว 89 นาที ที่มุ่งเน้นการนำเสนอบรรยากาศมากกว่าการเล่าเนื้อหาในตำนานแบบตรงไปตรงมา

Rivulet of Universe ร่วมฉายในสาย Bright Future สำหรับผู้กำกับที่มีผลงานขนาดยาวเป็นเรื่องแรก

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

พสธร วัชรพาณิชย์

 

ส่วนอีกสองเรื่องที่เหลือก็จะเป็นงานหนังสั้น โดยเรื่องแรกคือ Spirits of the Black Leaves [ดงรกชัฏ] ความยาว 30 นาที ผลงานจุลนิพนธ์ของ ทวีโชค ผสม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเคยประกวดในสายช้างเผือกของ เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 27 มาก่อน

เล่าเรื่องราวภาวะความรู้สึกอันแปลกแยกของสาวชาวไร่ข้าวโพดที่อาศัยอยู่กับมารดาด้วยลีลาเชิงทดลอง ร่วมฉายในสาย Short & Mid-length

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ทวีโชค ผสม

 

ปิดท้ายเทศกาล Rotterdam International Film Festival กันด้วยหนังไทยเรื่องเดียวที่ได้ร่วมเข้าประกวด นั่นคือ หนังสั้นเชิงทดลอง เรื่อง Crazy Lotus [บัวบ้า] ความยาว 15 นาที กำกับโดย นวีน นพคุณ ซึ่งประกวดในสาย Tiger Short Competition และเป็นหนึ่งในสามผู้ชนะรางวัลใหญ่ Tiger Short Awards มาในที่สุด

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

 

นวีน นพคุณ เป็นอดีตสมาชิกวงดนตรี Sweet Mullet และเป็นอาจารย์ด้านดนตรีสมัยนิยม ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งความโดดเด่นของหนังสั้นเรื่องนี้คงอยู่ที่ความเป็น ‘ฅนดนตรี’ ของผู้กำกับ องค์ประกอบด้านเสียงของหนังจึงมีความทรงพลังเป็นพิเศษ ในขณะที่งานด้านภาพจะทำหน้าที่คล้ายงาน music video แนว cyber-punk ประกอบเพลง ‘กระแซะเข้ามาซิ’ โดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ คั่นด้วยรายการโทรทัศน์ขนบนิยม ‘วินาดีเหตุทันใจ’

 

 

ในขณะที่ ‘บัวบ้า’ ก็น่าจะเกี่ยวข้องกับประเพณีลอยกระทงรูปดอกบัว ณ ศาลาไทยริมน้ำที่เต็มไปด้วยผักตบชวา และตัวละครปริศนาที่หาที่มาที่ไปไม่ได้ เนื่องจากเสียงบรรยายทั้งหมดจะถูกปรับแปลงให้ไม่สามารถฟังอะไรได้ออก! นับเป็นหนังทดลองนอกขนบที่แปลกต่างจนคว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลนี้ไปได้ในที่สุด

Berlin International Film Festival

น่าเสียดายที่ความสำเร็จด้านรางวัลของหนังสั้นและยาวพันธุ์ไทยในรอบปี จะมีเฉพาะ Crazy Lotus เรื่องนี้ เพราะในเทศกาลนานาชาติที่จัดต่อ ๆ กันมา ก็ไม่ปรากฏหนังไทยชิ้นใหม่เรื่องใดเข้าร่วมประกวดในสายใดอีกเลย

 

อย่างเทศกาล Berlin International Film Festival 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-25 กุมภาพันธ์ แม้จะมีผลงานภาพยนตร์สั้นของผู้กำกับชาวไทยร่วมฉายด้วยกันถึงสามเรื่อง แต่ทั้งหมดก็อยู่ในสาย Forum Expanded สำหรับงาน ‘ภาพเคลื่อนไหว’ ที่ท้าทายขนบศิลปะภาพยนตร์แบบดั้งเดิมไปสู่วิสัยทัศน์ใหม่ ๆ โดยไม่มีการประกวด

 

ภาพยนตร์สั้นทั้งสามเรื่อง ได้แก่ Myanmar Anatomy ความยาว 22 นาที ของผู้กำกับ ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ ที่มุ่งสำรวจประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ด้วยการนำพาผู้ชมไปชมทั้งภาพนิ่งและ footage ภาพเคลื่อนไหวในสามสถานที่ ณ กรุงย่างกุ้ง นั่นคือ สวนสัตววิทยา ทางรถไฟสาย Yangon Circle และ พิพิธภัณฑ์ปราบปรามยาเสพติด

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์

 

ส่วนภาพยนตร์สั้นความยาว 20 นาทีเรื่อง Here We Are ของ ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์ ก็เล่าประวัติศาสตร์ความเกี่ยวข้องของประเทศไทยกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEATO ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ เชื่อมโยงกับขบวนการเคลื่อนไหวของนักศึกษา จากสายตาของสตรีที่ไม่ได้สนใจและไม่ได้มีความรู้ข้องแวะกับเรื่องเหล่านี้เลย

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ชนสรณ์ ชัยกิตติภรณ์

 

ปิดท้ายด้วย หนังสั้น Queer ความยาว 20 นาที เรื่อง I Don’t Want to Be Just a Memory โดย ษาณฑ์ อุตมโชติ นักทำหนัง non-binary ที่พำนักและทำงานอยู่ ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

เรื่องนี้ก็เป็นภาพยนตร์ความเรียงบันทึกเหตุการณ์จริงของกลุ่มเพื่อนชาว LGBTQ+ หลากหลายรสนิยมเพศในเบอร์ลินที่มารวมตัวกันเพื่อระลึกถึงผองเพื่อนที่เสียชีวิตไปด้วยการเสพสารและโรคต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเมื่อหนังไทยทั้งสามนี้ฉายในสาย Forum Expanded ขนานไปกับหนังประกวดสายอื่น ๆ ในเทศกาล ทำให้อาจไม่ได้รับความสนใจจากผู้ชมอย่างคึกคักเท่าไรนัก แตกต่างจากหนังที่ได้เข้าร่วมประกวดชิงรางวัลในสายหนังสั้นของเทศกาล

 

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก ‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

ษาณฑ์ อุตมโชติ

คนวงการหนังไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

นอกเหนือจากซอฟต์พาวเวอร์ด้านงานภาพยนตร์ที่ได้ตระเวนไปฉายในเทศกาลนานาชาติหลายสายหลายแห่งในรอบปีที่ผ่านมาแล้ว วงการภาพยนตร์ไทยยังมีบุคลากรอีกหลายรายที่ได้รับเกียรติให้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลต่าง ๆ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เช่น

 

ดรสะรณ โกวิทวณิชชา ผู้อำนวยการเทศกาล World Film Festival of Bangkok คนปัจจุบัน ก็ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินของการประกวด Short Film Competition ของเทศกาล New York Asian Film Festival 2023 กรรมการในส่วน NETPAC Award สำหรับหนังเอเชียยอดเยี่ยมประจำเทศกาล Rotterdam International Film Festival 2024 และกรรมการส่วนหนังสั้น Housen Short Film Award ที่เทศกาล Osaka Asian Film Festival 2024

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

 

ผู้กำกับหญิง พิมพกา โตวิระ ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการนานาชาติสำหรับรางวัล Tiantan Award ที่เทศกาล Beijing International Film Festival 2023

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

 

ก้อง ฤทธิ์ดี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และนักทำหนัง ก็ได้ร่วมเป็นกรรมการในสาย Asian Feature Film Competition ที่เทศกาล Singapore International Film Festival 2023 และ ‘กัลปพฤกษ์’ เองก็มีโอกาสได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยม สำหรับ San Diego Asian Film Festival 2023 สหรัฐอเมริกา อีกด้วย

‘ซอฟต์พาวเวอร์ หนังไทย’ ไปไกลแค่ไหนในเวทีเทศกาลระดับโลก

 

เมื่อมองจากปริมาณโดยรวมแล้ว หนังไทยในรอบปีก็มีชีพจรที่ออกจะคึกคักในการเดินทางไปยังเทศกาลนานาชาติแห่งต่าง ๆ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและเอเชีย แต่ถ้าพิจารณาในเชิงคุณภาพ การได้ร่วมฉายในเทศกาลส่วนใหญ่จะยังเป็นส่วนของการฉายโชว์ มีที่เข้าร่วมประกวดในสายต่าง ๆ กันอย่างจริงจังเพียงไม่กี่เรื่อง การสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ด้านภาพยนตร์ไทย ให้ไปได้ไกลในเวทีโลกจริง ๆ จึงควรมุ่งเป้าหมายไปที่การได้เข้าประกวดชิงรางวัลในเทศกาลใหญ่ ๆ

 

ในขณะที่ถ้ามองไปยังเทศกาลระดับแถวหน้าของโลกจริง ๆ ซึ่งเรียกกันเล่น ๆ ว่า The Big Three อย่าง Cannes Film Festival, Venice Film Festival และ Berlin Film Festival ซึ่งมีทั้งส่วนของการประกวดหนังยาวทั้งสายหลักและสายรอง รวมถึงการประกวดในส่วนของหนังสั้น ก็ยังไม่มีภาพยนตร์ไทยเรื่องไหนในรอบปีที่จะฝ่าด่านเข้าไปชิงชัยกับหนังจากประเทศอื่น ๆ ได้แม้แต่ในแถบภูมิภาคเอเชียด้วยกัน

 

แต่ถ้าจะหันมามองในแง่ดี หนังไทยที่ได้ร่วมฉายในเทศกาลนานาชาติต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวถึงมา ก็จะเห็นว่ามีความหลากหลายทั้งทางด้านรูปแบบและแนวทาง ที่สำคัญคือ มิได้มีเฉพาะภาพยนตร์ในสายศิลปะเท่านั้น แม้แต่ภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นความบันเทิง ภาพยนตร์ขนบตระกูลต่าง ๆ อย่างเรื่อง ‘เพื่อน(ไม่)สนิท’ ซึ่งก็เป็นหนังวัยรุ่นเอาใจตลาด และเรื่อง ‘แดนสาป’ ซึ่งถือเป็นหนังสยองขวัญเต็มกระบวน ก็สามารถได้ร่วมฉายในเทศกาลใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับหนังอิสระอย่าง Rotterdam International Film Festival ได้

 

สะท้อนให้เห็นว่ารสนิยมการคัดเลือกหนังของเทศกาลต่าง ๆ ล้วนมีทิศทางที่เปิดกว้างและหลากหลาย ตามกลุ่มสายของหนังที่ได้แบ่งจำแนกเอาไว้แล้ว แม้แต่หนังแนวตลาดเองก็ยังมีโอกาสประสบความสำเร็จในเวทีโลกได้ ไม่เว้นแม้แต่ในสายประกวดต่าง ๆ ไม่แพ้หนังศิลปะโดยทั่วไป เพียงแต่ในเชิงคุณภาพก็ต้องได้มาตรฐานโดดเด่นเพียงพอที่จะเข้าร่วมประกวดชิงรางวัลได้ อย่างที่หนังไทยก็เคยทำได้สำเร็จมาแล้วในรอบปีก่อน ๆ

 

จากการสัมภาษณ์คนทำหนังที่มีผลงานเข้าร่วมฉายในเทศกาลนานาชาติที่ต่าง ๆ ในรอบปี ส่วนใหญ่จะยอมรับว่าไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของการส่งหนังไปยังเทศกาลต่าง ๆ มากนัก และต้องหาที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำในการส่งหนังไปยังเทศกาลต่าง ๆ ที่พอจะมีโอกาสได้รับคัดเลือก เนื่องจากหลาย ๆ กรณี คนทำหนังก็ต้องแบกรับค่าธรรมเนียมในการส่งหนังไปพิจารณาในเทศกาลต่าง ๆ เอง โดยเฉพาะหนังยาว ซึ่งเป็นงบประมาณที่สูงพอสมควร จึงต้องมีผู้แนะนำคัดเลือกเทศกาลที่ควรส่งหนังไปให้พิจารณาเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ทั้งยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำคำบรรยาย การเขียนเรื่องย่อและข้อมูลหนังในด้านต่าง ๆ ให้ดึงดูดในฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ

 

การสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ภาพยนตร์ไทย ให้สามารถไปยังเวทีโลกได้อย่างจริงจัง จึงควรพิจารณาให้การสนับสนุนในส่วนนี้ อาจมีการตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในด้านเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ต่าง ๆ คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำ จัดทำขั้นตอนในการส่งหนังไทยที่มีศักยภาพเรื่องต่าง ๆ ไปยังเทศกาลนานาชาติที่พร้อมจะต้อนรับหนังไทยให้ได้กว้างขวางที่สุด หรือเชิญโปรแกรมเมอร์เทศกาลต่าง ๆ ที่มักจะแบ่งโซนการทำงานเอาไว้แล้วมาคัดเลือกหนังในประเทศไทยโดยมีส่วนกลางคอยดูแล

 

เพราะเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติไม่ว่าจะที่ไหน ๆ ยังคงสนใจมุมมองความเป็นไทยที่ไม่มีคนทำหนังชาติอื่นไหนจะเล่าแทนได้อยู่เสมอ เพียงแต่ต้องมีวิธีการนำเสนอด้วยศิลปะภาพยนตร์ที่โดดเด่น ให้ชาวโลกได้เห็นว่าคนไทยนิยมทำหนังออกมาแบบใด จากเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ที่ยังอยู่ในความสนใจของผู้ชมทั่วโลกอยู่เสมอ